PageView Facebook
คู่มือการใช้งานโปรแกรม

ให้คุณได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบ

ข้อมูลกะการทำงาน


กะการทำงาน คือ การเข้างานเป็นรอบเวลาเพื่อสลับกันดูแลรับผิดชอบงานอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงหรือเรียกได้ว่าตลอดเวลานั่นเอง ซึ่งในทางกฎหมายแรงงานได้กำหนดเอาไว้ว่าลูกจ้างจะมีเวลาทำงานต่อวันไม่เกิน 8 ชั่วโมงโดยไม่รวมเวลาพัก ทำให้การทำงานเป็นกะโดยส่วนมากมักมีกำหนดเวลาต่อรอบต่อคนไม่เกิน 8-9 ชั่วโมง หมุนเวียนกันไป




การเพิ่มกะการทำงาน ไปที่หน้าเมนู

ข้อมูลองค์กร” เลือก “ข้อมูลกะการทำงาน” และกดปุ่ม “เพิ่มกะการทำงาน” จะปรากฎหน้าจอ “กะการทำงาน” ดำเนินการกรอกข้อมูลดังนี้

 

รหัสกะการทำงาน คือ รหัสตัวเลขข้อมูลที่สามารถบ่งบอกเวลาและเงื่อนไขการเวลาการทำงานของรหัสกะงานนั้นๆ

ประเภทกะการทำงาน คือ ช่วงเวลาการทำงานของพนักงานในแต่ละวันและมีผลต่อการลงเวลาการทำงาน, การคำนวณเงินเดือน และการขอเอกสารอีกด้วย

ทั้งนี้ในกะการทำงานยังสามารถกำหนดมูลค่าเพิ่มหรือบวกมูลค่าเพิ่มให้กับพนักงานที่มีการทำงานในการกะการทำงานนั้นอีกด้วย

 

ยกตัวอย่างประเภทกะการทำงาน

 



 1.กำหนดเวลาเข้า – ออกในวันเดียวกัน คือเข้าออกงานตามเวลาที่กำหนดในวันเดียวกัน เช่น กะการทำงาน 08:30 - 12:00 - 13:00 – 17:30 น.


 



 2.กำหนดเวลาเข้า - ออกข้ามเที่ยงคืนของพรุ่งนี้ คือ เข้าออกงานตามเวลาที่กำหนดข้ามเที่ยงคืนของพรุ่งนี้ เช่น กะการทำงานในวันที่ 04/04/2024พนักงานจะต้องลงเวลาเข้างานในวันที่ 04/04/2024 และลงเวลาเลิกงานในวันที่ 05/04/2024 โดยต้องการให้เวลาทั้งหมดเข้ามาอยู่ในวันที่ 04/04/2024 โดยรูปแบบเวลาของกะการทำงาน ดังนี้ 22:00 - 02:00 - 03:00 - 07:00 น.



3.กำหนดเวลาเข้า - ออก ข้ามเที่ยงคืนของเมื่อวาน คือ เข้าออกงานตามเวลาที่กำหนดข้ามเที่ยงคืนของเมื่อวาน เช่น กะการทำงานในวันที่ 04/04/2024

พนักงานจะต้องลงเวลาเข้างานในวันที่ 03/04/2024 และลงเวลาออกงานในวันที่ 04/04/2024 โดยต้องการให้เวลาทั้งหมดเข้ามาอยู่ในวันที่ 03/04/2024

รูปแบบกะการทำงานของพนักงาน ดังนี้ 22:00 - 01:00 - 02:00 - 06:00 น.

 



4.กำหนดชั่วโมงการทำงานรวม คือเข้าออกงานเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ชั่วโมงต่อวันต้องได้ตามที่กำหนดเช่น กำหนดชั่วโมงการทำงานรวมไว้ที่ 8 ชั่วโมง โดยมีการหยุดพัก

เมื่อพนักงานลงเวลาเข้างานตอน IN 09:00 น. ระบบจะจำลองเวลาเลิกงาน OUT 18:00 น. ของพนักงานให้อัตโนมัติหลังจากที่มีการลงเวลาเข้างาน

 

 

  

5.กำหนดกะการทำงานโดยไม่ต้องลงเวลาคือ เข้าออกงานตามเวลาที่กำหนด ซึ่งจะไม่จำเป็นต้องลงเวลาการทำงาน เช่น กะการทำงาน 08:00 - 12:00 - 13:00 - 17:00 น. โดยกะการทำงานประเภทนี้จะไม่ลงเวลาเข้างานหรือออกงาน และในกรณีลงเวลาการทำงานไม่ครบชั่วโมงของกะการทำงาน

ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากการกลับก่อน หรือขาดงาน

 


6.กำหนดควบกะการทำงานคือ ใน 1 วันทำงาน มีรอบหรือเวลาการทำงาน 2 รอบการทำงาน เช่น รอบแรกพนักงานต้องทำงาน 08:00 - 12:00 - 13:00 - 17:00 น. และไปพักหลังจากนั้นจึงมาทำงานในรอบที่ 2 เวลา 17:00 - 20:00 - 21:00 -23:00 น.

 

ประเภทมูลค่ากะการทำงาน คือ หากต้องการกำหมดมูลค่าหรือบวกมูลค่าเพิ่มในกะการทำงาน ประกอบไปด้วยประเภทมูลค่ากะการทำงาน มีทั้งหมด 4 ประเภท

ซึ่งบางประเภทจะสามารถใช้งานกับพนักงานรายวันเท่านั้น


1.คำนวณตามเงินเดือน  สามารถใช้ได้กับพนักงานทุกประเภท คือ การที่พนักงานที่ใช้กะการทำงานนี้ระบบจะคำนวณค่าแรงตามฐานข้อมูลพนักงาน

ตามประเภทของพนักงาน

2.กำหนดมูลค่าของกะการทำงานนี้ใช้ได้กับพนักงานรายวันเท่านั้น คือ กำหนดมูลค่าของกะการทำงานนนี้ โดยไม่อ้างอิงจากฐานข้อมูลพนักงาน เช่น พนักงานรายวัน ในฐานอัตราค่าจ้างได้รับค่าจ้างอยู่ที่ 500 บาท/วัน แต่ในมูลค่ากะการทำงานระบุไว้ที่ 300 บาท/วัน หากนพักงานท่านนี้มาทำงานในกะนี้ จะได้รับค่าจ้างในวันนั้นเพียงแค่ 300 บาท

3.บวกมูลค่าเพิ่มสำหรับกะการทำงานนี้สามารถเลือกใช้งานได้กับพนักงานรายเดือนและพนักงานรายวันคือพนักงานจะได้รับค่าแรงเพิ่มจากเดิมเมื่อเข้ากะการทำงานนี้ เช่น พนักงานมีค่าแรงรายวัน 500 บาท/วัน เมื่อเข้ากะการทำงานนี้ จะได้รับเงินเพิ่มอีก 400 บาท พนักงานจะได้รับค่าแรงในวันนั้น 900 บาท

4.บวกจำนวนเท่าของค่าแรงเพิ่มสำหรับกะการทำงานนี้ใช้ได้กับพนักงานรายวันเท่านั้น คือ เป็นการกำหนดมูลค่าของกะการทำงานนี้ว่าจะได้รับค่าแรงเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของค่าแรงต่อวัน เช่น พนักงานได้รับค่าแรง 500 บาท/วัน และกำหนดมูลค่าเพิ่มเป็น 2 เท่าของค่าแรง เมื่อพนักงานเข้ากะการทำงานนี้ จะได้ค่าแรง 1,000 บาท/วัน

 

สรุปได้ว่า

การสร้างกะการทำงาน,การกำหนดประเภทกะการทำงาน หรือประเภทมูลค่าของกะการทำงาน ใช้สำหรับสร้างกะการทำงานให้สอดคล้องกันเงื่อนไขการปกิบัติงานของพนักงานแต่ละท่าน

สารบัญเนื้อหาที่คุณสนใจ