กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) คือกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
- ส่งเสริมการออมระยะยาว เพื่อเป็นประโยชน์ในยามชราภาพของลูกจ้าง
- เป็นหลักประกันของครอบครัวกรณีลูกจ้างออกจากงาน เกษียณอายุ ออกจากกองทุนหรือ เสียชีวิต
- เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เพิ่มแรงจูงใจให้ลูกจ้างอยู่กับนายจ้างนานขึ้น
การนำเข้าเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของระบบ สามารถกำหนด เลขที่กองทุน วันที่สัญญากองทุน วิธีการหักเงิน เรทกองทุน วิธีการสมทบ บริษัทสมทบ และผู้ได้รับผลประโยชน์ จากการนำเข้าข้อมูลได้จาก 3 ช่องทางดังนี้
1. นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากเมนูย่อย “กองทุน”
2. นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากเมนูย่อย “เงินสะสมย้อนหลัง”
3. นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากหน้า “ปิดงวดบัญชี”
1.นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากเมนูย่อย “กองทุน”
นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากเมนูย่อย “กองทุน” สามารถนำข้อมูลเข้าได้ 2 วิธี
- นำเข้าข้อมูลผ่านเทมเพลท
- นำเข้าข้อมูลบุคคล สามารถกรอกข้อมูลได้ทีละ 1 คน
การดาวน์โหลดไฟลนำเข้ากองทุนจากเมนูย่อย “กองทุน” ไปที่เมนู “ข้อมูลพนักงาน” และเลือก “กองทุน” กด “ดาวน์โหลด” เพื่อดาวน์โหลดเทมเพลทที่ใช้นำเข้าข้อมูล จะได้รับเป็นไฟล์ .xlsx (Excel)
กรอกข้อมูลกองทุนในไฟล์ Excel
1. เลขที่กองทุน คือเลขที่สัญญากองทุนของพนักงาน
2. วันที่เริ่มสัญญากองทุน (ค.ศ.) มีการเริ่มทำสัญญากองทุนตัวนี้ตั้งแต่ช่วงปี-เดือนใด แนะนำให้เป็นการกรอกปี ค.ศ. เช่น 2023-09-21
3. วิธีการหักเงิน เลือกวิธีการหักกองทุนของฝั่งพนักงาน ว่าจะหักเป็น %, หักเป็นบาท หรือตามสูตร
4. เรทกองทุน เลือกเรทกองทุนที่ต้องการหักพนักงาน หากเป็น % ให้ระบุจำนวน %, หากเป็นบาทให้ระบุจำนวนบาท
5. วิธีการสมทบ เลือกวิธีที่บริษัทจะสมทบให้พนักงาน ว่าสมทบเป็น % , สมทบเป็นบาท หรือตามสูตร
6. บริษัทสมทบ เลือกเรทกองทุนที่บริษัทต้องการสมทบให้กับพนักงาน หากเป็น % ให้ระบุจำนวน % หากเป็นบาทให้ระบุจำนวนบาท
7. ยอดสะสม เป็นยอดเงินสะสมของฝั่งพนักงานที่ต้องการนำเข้า
8. ยอดสะสมบริษัทสมทบ เป็นยอดเงินสะสมของฝั่งบริษัทที่ต้องการนำเข้า
9. ผู้ได้รับผลประโยชน์ รายชื่อบุคคลผู้รับผลประโยชน์เป็นเอกสารที่ให้สมาชิกระบุชื่อบุคคลที่ต้องการยกเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เมื่อตนเสียชีวิตไปแล้ว
10. เลือกไฟล์นำเข้าข้อมูล กดบันทึก
2.นำเข้าข้อมูลบุคคล สามารถกรอกข้อมูลได้ทีละ 1 คน
- ไปที่รายการข้อมูลองค์กร
- เลือกหัวข้อ “ข้อมูลพนักงาน ”
- เลือกพนักงานที่ต้องการ
- เลือก “กองทุน ”
- กรอกข้อมูล ดังต่อไปนี้ให้ครบถ้วน
เลขที่กองทุน คือเลขที่สัญญากองทุนของพนักงาน
วันที่เริ่มสัญญากองทุน (ค.ศ.) มีการเริ่มทำสัญญากองทุนตัวนี้ตั้งแต่ช่วงปี-เดือนใด แนะนำให้เป็นการกรอกปี ค.ศ. เช่น 2023-09-21
วิธีการหักเงิน เลือกวิธีการหักกองทุนของฝั่งพนักงาน ว่าจะหักเป็น %, หักเป็นบาท หรือตามสูตร
เรทกองทุน เลือกเรทกองทุนที่ต้องการหักพนักงาน หากเป็น % ให้ระบุจำนวน %, หากเป็นบาทให้ระบุจำนวนบาท
วิธีการสมทบ เลือกวิธีที่บริษัทจะสมทบให้พนักงาน ว่าสมทบเป็น % , สมทบเป็นบาท หรือตามสูตร
บริษัทสมทบ เลือกเรทกองทุนที่บริษัทต้องการสมทบให้กับพนักงาน หากเป็น % ให้ระบุจำนวน % หากเป็นบาทให้ระบุจำนวนบาท
ยอดสะสม เป็นยอดเงินสะสมของฝั่งพนักงานที่ต้องการนำเข้า
ยอดสะสมบริษัทสมทบ เป็นยอดเงินสะสมของฝั่งบริษัทที่ต้องการนำเข้า
ผู้ได้รับผลประโยชน์ รายชื่อบุคคลผู้รับผลประโยชน์เป็นเอกสารที่ให้สมาชิกระบุชื่อบุคคลที่ต้องการยกเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เมื่อตนเสียชีวิตไปแล้ว
6. กรอกข้อมูลครบถ้วน กดบันทึก
2. นำเข้ายอดสะสมกองทุนจากเมนูย่อย “เงินสะสมย้อนหลัง”
การนำเข้ายอดสะสมกองทุนจากเมนูย่อย “กองทุน”
- เข้ามาที่ข้อ
- เมนู “ข้อมูลพนักงาน”
- เลือก “เงินสะสมย้อนหลัง”
- กด “เลือกไฟล์” ดาวน์โหลดเทมเพลท
กรอกข้อมูลกองทุนสะสมย้อนหลังในไฟล์ Excel.
- ปีที่สะสม (ค.ศ.) เป็นการกรอกปี ค.ศ. ที่ต้องการนำเข้ายอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะสะสม
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(บาท) ข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝั่งพนักงานที่ต้องการสะสม
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทสมทบ(บาท) ข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝั่งบริษัทที่ต้องการสะสม
5. หลังจากนั้นกด “อัพโหลดไฟล์”
กรอกข้อมูลกองทุนสะสมย้อนหลังในไฟล์ Excel.
- ปีที่สะสม (ค.ศ.) เป็นการกรอกปี ค.ศ. ที่ต้องการนำเข้ายอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะสะสม
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(บาท) ข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝั่งพนักงานที่ต้องการสะสม
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทสมทบ(บาท) ข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฝั่งบริษัทที่ต้องการสะสม
5. หลังจากนั้นกด “อัพโหลดไฟล์”