PageView Facebook
คู่มือการใช้งานโปรแกรม

ให้คุณได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบ

ฟังก์ชัน "การคำนวณเงินเดือน" บนเมนูตั้งค่าทั่วไป


"การคำนวณเงินเดือน" บนหน้าตั้งค่าทั่วไปเป็นการกำหนดหลักการและวิธีการสำหรับการคำนวณค่าตอบแทนของพนักงานในองค์กรอย่างถูกต้องและเป็นระบบ โดยหลักการคำนวณเงินเดือนบนเมนูตั้งค่าทั่วไปประกอบไปด้วยข้อมูลดังนี้

  • การกำหนดรอบการจ่ายเงินเดือน
  • การแบ่งงวดจ่าย
  • จำนวนวันที่ทำงาน
  • จำนวนชั่วโมงการทำงาน
  • จำนวนวันทำงาน กรณีพนักงาน เข้าใหม่/ลาออก ระหว่างเดือน
  • จำนวนวันทำงาน กรณีพนักงานปรับเงินเดือน
  • ป้องกันพนักงานเลือกโอทีผิดประเภท
  • ปัดเศษทศนิยม
  • พนักงานรายวันได้รับค่าแรงในวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • พนักงานพาร์ททามปัดเศษชั่วโมง


การกำหนด "รอบการจ่ายเงินเดือน"

รอบการจ่ายเงินเดือน เป็นการกำหนดช่วงเวลาที่บริษัทจะตัดรอบการจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงาน


ตัวอย่าง

เลือกรอบการจ่ายเงินเดือน: ตั้งแต่วันที่ 2 จนถึงวันที่ 1

การแสดงผลจะเป็นดังนี้: วันที่ 2 มกราคม ถึง วันที่ 1 กุมภาพันธ์

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ 1 มีนาคม


แบ่งงวดจ่าย

การตั้งค่าแบ่งงวดจ่าย คือการกำหนดรอบการจ่ายเงินเดือนให้พนักงานในองค์กร ในกรณีที่ต้องการจ่ายเงินเดือนมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน เช่น การจ่ายเงินเดือน 2 ครั้งใน 1 เดือน ทุกวันที่ 15 และสิ้นเดือน โดยการแบ่งงวดจ่ายของโปรแกรม HumanSoft สามารถกำหนดรอบการจ่ายได้สูงสุดถึง 4 งวด



วิธีการคำนวณแบ่งงวดจ่าย

  • งวดสุดท้าย = งวดเต็ม - ผลรวมของงวดแยกก่อนหน้า
  • งวดเต็ม = ผลรวมของงวดแยก


กำหนดวันปิดงวด

การกำหนดวันปิดงวดในโปรแกรม HumanSoft ช่วยให้คุณสามารถเลือกวันสิ้นรอบการคำนวณเงินเดือนของงวดนั้น ๆ ได้ โดยคุณสามารถตั้งค่าให้ระบบเลือกวันที่ปิดงวดให้ "อัตโนมัติ" หรือ "กำหนดวันเอง" ตามความต้องการ


จำนวนวันที่ทำงาน

การกำหนดจำนวนวันที่ทำงาน คือการใช้สำหรับการคำนวณค่าแรงต่อวัน โดยหารเงินเดือนด้วยจำนวนวันทำงานที่กำหนด สามารถกำหนดจำนวนวันที่ทำงานที่จะนำไปหาร ได้แก่ 26 วัน, 30 วัน, หรือตามจริง (จำนวนวันจริงที่ทำงาน)


ตัวอย่าง

ค่าแรงต่อวัน = เงินเดือน / จำนวนวันทำงาน


จำนวนชั่วโมงการทำงาน

การกำหนดจำนวนชั่วโมงการทำงาน คือการใช้สำหรับการคำนวณค่าแรงต่อวัน โดยหารค่าแรงต่อวันด้วยจำนวนชั่วโมงการทำงาน สามารถกำหนดจำนวนวันที่ทำงานที่จะนำไปหาร ได้แก่ 8 ชั่วโมง, 8 ชั่วโมง 30 นาที, 9 ชั่วโมง หรือตามจริง (จำนวนชั่วโมงจริงที่ทำงาน)


ตัวอย่าง

ค่าแรงต่อชั่วโมง = ค่าแรงต่อวัน / จำนวนชั่วโมงการทำงาน


จำนวนวันทำงาน กรณีพนักงาน เข้าใหม่/ลาออก ระหว่างเดือน

ค่าแรงจะคำนวณตามจำนวนวันที่ทำงานจริง โดยหารเงินเดือนด้วยจำนวนวันทำงานแล้วคูณกับจำนวนวันที่ทำงานจริง ทั้งนี้สามารถกำหนดจำนวนวันทำงาน กรณีพนักงาน เข้าใหม่/ลาออก ระหว่างเดือน ได้แก่ 26 วัน, 30 วัน, 30วัน ลบวันที่ 31 ออก และตามจริง


ตัวอย่าง

ค่าแรงต่อวัน = เงินเดือน / จำนวนวันทำงาน



จำนวนวันทำงาน กรณีพนักงานปรับเงินเดือน

คำนวณค่าแรงต่อวัน แล้วนำไปคูณกับจำนวนวันทำงานทั้งก่อนและหลังปรับเงินเดือนทั้งนี้สามารถกำหนดจำนวนวันทำงาน กรณีพนักงาน เข้าใหม่/ลาออก ระหว่างเดือน ได้แก่ 26 วัน, 30 วัน, 30วัน ลบวันที่ 31 ออก และตามจริง


ตัวอย่าง

ค่าแรงต่อวัน = เงินเดือน / จำนวนวันทำงาน


ป้องกันการเลือกโอทีผิดประเภท

ตั้งค่าป้องกันการเลือกโอทีผิดประเภท เพื่อให้เลือกโอทีที่เหมาะสมสำหรับวันทำงานหรือวันหยุดเท่านั้น โดยสามารถเลือกได้ 2 ประเภทคือ

  • ป้องกัน: ตั้งค่าป้องกันไม่ให้พนักงานเลือกโอทีผิดประเภท
  • ไม่ป้องกัน: ตั้งค่าให้พนักงานสามารถเลือกโอทีผิดประเภทได้


การปัดเศษทศนิยม

ปัดเศษทศนิยมของจำนวนเงินที่เกิดจากการคำนวณของโปรแกรมสามารถเลือกได้ว่าจะปัดเศษเงินที่เกิดจากการคำนวณหรือไม่

  • กรณีเลือกปัดเศษ: โปรแกรมจะทำการปัดเศษทศนิยมเงินเดือนของพนักงาน
  • กรณีเลือกไม่ปัดเศษ: โปรแกรมจะไม่ปิดเศษทศนิยมเงินเดือนของพนักงาน


ตัวอย่าง

พนักงานเงินเดือน 13,000 / 30 = 433.33 บาท ถ้าเลือกปัดเศษจะเท่ากับ 433 บาท


พนักงานรายวันได้รับค่าแรงในวันหยุดนักขัตฤกษ์

ค่าแรงในวันหยุดนักขัตฤกษ์สำหรับพนักงานรายวัน เลือกว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับค่าแรงในวันหยุดนักขัตฤกษ์ แม้ไม่ได้มาทำงาน

  • กรณีเลือกได้รับค่าแรง: แม้ว่าพนักงานไม่ได้มาทำงานในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระบบก็จะคิดค่าแรงในวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้
  • กรณีเลือกไม่ได้รับค่าแรง: หากพนักงานไม่มาทำงานในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระบบก็จะไม่คิดค่าแรงในวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้


พนักงานพาร์ททามปัดเศษชั่วโมง

การปัดเศษชั่วโมงสำหรับพนักงานพาร์ททาม เป็นการตั้งค่าการปัดเศษชั่วโมงหากเวลาทำงานไม่เต็มชั่วโมง โดยสามารถเลือกได้ดังนี้

  • ปัดเศษลงเต็มชั่วโมง
  • ปัดเศษขึ้นเต็มชั่วโมง
  • ปัดเศษขึ้น-ลงเต็มชั่วโมง
  • ปัดเศษลงเต็มครึ่งชั่วโมง
  • ปัดเศษขึ้นเต็มครึ่งชั่วโมง
  • ปัดเศษขึ้น-ลงเต็มครึ่งชั่วโมง


ตัวอย่าง

พนักงานทำงาน 07:40:00 ชั่วโมง

ปัดเศษลงเต็มชั่วโมง ระบบจะคำนวณให้ 07:00:00 ชั่วโมง

ปัดเศษขึ้นเต็มชั่วโมง ระบบจะคำนวณให้ 08:00:00 ชั่วโมง

ปัดเศษขึ้น-ลงเต็มชั่วโมง ระบบจะคำนวณให้ 08:00:00 ชั่วโมง

ปัดเศษลงเต็มครึ่งชั่วโมง ระบบจะคำนวณให้ 07:30:00 ชั่วโมง

ปัดเศษขึ้นเต็มครึ่งชั่วโมง ระบบจะคำนวณให้ 08:00:00 ชั่วโมง

ปัดเศษขึ้น-ลงเต็มครึ่งชั่วโมง ระบบจะคำนวณให้ 08:00:00 ชั่วโมง


อัตราประกันสังคมของพนักงานและนายจ้าง

เป็นการกำหนดอัตราประกันสังคมของพนักงานและนายจ้าง โดยจะเป็นการกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่จะใช้ในการคำนวณประกันสังคมของพนักงานและนายจ้าง


สารบัญเนื้อหาที่คุณสนใจ
  • ฟังก์ชัน "การคำนวณเงินเดือน" บนเมนูตั้งค่าทั่วไป
  • การกำหนด "รอบการจ่ายเงินเดือน"
  • แบ่งงวดจ่าย
  • จำนวนวันที่ทำงาน
  • จำนวนชั่วโมงการทำงาน
  • จำนวนวันทำงาน กรณีพนักงาน เข้าใหม่/ลาออก ระหว่างเดือน
  • จำนวนวันทำงาน กรณีพนักงานปรับเงินเดือน
  • ป้องกันการเลือกโอทีผิดประเภท
  • การปัดเศษทศนิยม
  • พนักงานรายวันได้รับค่าแรงในวันหยุดนักขัตฤกษ์
  • พนักงานพาร์ททามปัดเศษชั่วโมง
  • อัตราประกันสังคมของพนักงานและนายจ้าง