PageView Facebook
คู่มือการใช้งานโปรแกรม

ให้คุณได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบ

KPI Profile

  KPI Profile คือ ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของพนักงานในด้านต่าง ๆ สำหรับการประเมิน KPI Profile จะประกอบไปด้วยตัวชี้วัดภายใน และตั้วชี้วัดภายนอกมาเป็นตัวช่วยในการประมวลผลการประเมินให้กับพนักงาน


การเพิ่ม KPI Profile

ไปที่เมนู การประเมินพนักงาน เลือก “KPI Profile” หลังจากนั้นกด “เพิ่ม KPI Profile”


กรอกข้อมูล “ชื่อโปรไฟล์ TH และEN” เลือกช่วงของข้อมูลที่ต้องการประมวลผล “ตั้งแต่วันที่ – จนถึงวันที่”

หมายเหตุ : ช่องตั้งแต่วันที่-จนถึงวันที่ คือ ช่วงของข้อมูลที่ต้องการดึงมาประมวลผลในการประเมิน เช่น ต้องการประเมิน “สาย” ตั้งแต่เดือน มกราคม 2023 จนถึง มิถุนายน 2023 เป็นต้น


หลังจากนั้นกรอกข้อมูลเกณฑ์ชี้วัด Green, Yellow, Red และBlackว่าในแต่ละเกณฑ์จะต้องได้รับกี่คะแนน ต่อมาเลือกเงื่อนไข หรือตัวชี้วัดที่จะนำมาคำนวณเป็น KPI Profile เช่น “สาย, ลา หรือยอดขาย” หลังจากนั้นเลือกพนักงานที่ต้องการประเมิน


ในส่วนของเงื่อนไข หรือตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบได้แก่ ตัวชี้วัดภายใน และตัวชี้วัดภายนอก

1. ตัวชี้วัดภายใน

ใช้สำหรับดึงเกณฑ์การคำนวณต่าง ๆ ในระบบดังนี้

1.1 เกณฑ์การคำนวณจากเวลาการทำงาน เช่น มาเช้า, สาย, พักเกิน, พักไว หรือโอที เป็นต้น

1.2 เกณฑ์การคำนวณจากรายรับรายจ่าย เช่น เงินได้อื่น, ค่าคอมมิชชั่น, โบนัส หรือเงินหักอื่น ๆ เป็นต้น

1.3 เกฑณ์การคำนวณจากการลางาน, แบบประเมิน, การฝึกอบรม หรือจดหมายเตือน

2. ตัวชี้วัดภายนอก

ใช้สําหรับสร้างตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่ไม่สามารถใช้วิธีการสร้างแบบประเมินจากในระบบได้ หรือมีชุดข้อมูลที่ไม่อยู่ในการคำนวณจากในระบบ เช่น ยอดขาย สามารถดูคู่มือการสร้างตัวชี้วัดภายนอกได้ที่นี้


หลังจากนั้นเลือก “หน่วย” ที่ใช้ในการประเมิน จากนั้นกรอก “คะแนน” ของรายการที่จะประเมิน (กรณีมีหลายรายการจะต้องทำการเฉลี่ยคะแนนให้ทุกรายการ เมื่อรวมคะแนนแล้วอยู่ที่ 100 คะแนน) หลังจากนั้นกดไอคอน “ดินสอ” เพื่อกำหนดเงื่อนไข


ตัวอย่างของเงื่อนไขที่เป็นผลลบ เช่น มาสาย, เงินหักอื่น ๆ

ตัวอย่าง หากต้องการตั้งค่าให้พนักงานมาสายน้อยกว่า 2 วัน ได้รับ 80 คะแนน มีเงื่อนไขตั้งค่าดังนี้

มาสาย = 0 วัน จะได้รับ 100 คะแนน, หากพนักงานมาสายเท่ากับ 0 วันจะได้รับ 100 คะแนน

มาสาย < 3 วัน จะได้รับ 80 คะแนน, หากพนักงานมาสาย 1-2 วันจะได้รับ 80 คะแนน

มาสาย < 6 วัน จะได้รับ 60 คะแนน, หากพนักงานมาสาย 3-5 วันจะได้รับ 60 คะแนน

มาสาย < 9 วัน จะได้รับ 40 คะแนน, หากพนักงานมาสาย 6-8 วันจะได้รับ 40 คะแนน

มาสาย < 12 วัน จะได้รับ 20 คะแนน, หากพนักงานมาสาย 9-11 วันจะได้รับ 20 คะแนน

มาสาย >= 12 วัน จะได้รับ 0 คะแนน, หากพนักงานมาสาย 12 วันจะเป็นต้นไปได้รับ 0 คะแนน


คำอธิบาย จากการตั้งค่าดังกล่าวที่พนักงานได้รับ 80 คะแนน ระบบจะคำนวณให้ดังนี้ ระบบจะนำจำนวนวันที่เรามาสาย 2 วันไปตรวจสอบในเงื่อนไขทีละขั้นดังนี้

ขั้นที่ 1 คือ มาสายเท่ากับ 0 วัน จริงหรือไม่ เมื่อไม่จริง ก็จะข้ามไปตรวจสอบขั้นถัดไป

ขั้นที่ 2 คือ มาสายน้อยกว่า 3 วัน จริงหรือไม่ เมื่อจริง หลังจากนั้นก็จะมอบคะแนน ที่ได้ระบุจากขั้นนี้ให้กับพนักงาน


ตัวอย่างของการตั้งค่า “สาย” คะแนนเต็ม 100 คะแนน

จากการตั้งค่าหากพนักงานมาสาย 2 วัน พนักงานจะได้รับ 80 คะแนน เพราะ 2 วัน น้อยกว่า 3 วัน


ตัวอย่างของเงื่อนไขที่เป็นผลบวก เช่น มาเช้า, ยอดขาย

ตัวอย่าง หากต้องการตั้งค่าให้พนักงานมาเช้ามากกว่า 12 วัน ได้รับ 60 คะแนน มีเงื่อนไขตั้งค่าดังนี้

มาเช้า < 3 วัน จะได้รับ 0 คะแนน, หากพนักงานมาเช้า 0-2 วันจะได้รับ 0 คะแนน

มาเช้า <= 6 วัน จะได้รับ 20 คะแนน, หากพนักงานมาเช้า 3-6 วันจะได้รับ 20 คะแนน

มาเช้า <= 9 วัน จะได้รับ 40 คะแนน, หากพนักงานมาเช้า 7-9 วันจะได้รับ 40 คะแนน

มาเช้า <= 15 วัน จะได้รับ 60 คะแนน, หากพนักงานมาเช้า 10-15 วันจะได้รับ 60 คะแนน

มาเช้า >= 16 วัน จะได้รับ 100 คะแนน, หากพนักงานมาเช้า 16 วันจะเป็นต้นไปได้รับ 100 คะแนน


คำอธิบาย จากการตั้งค่าดังกล่าวที่พนักงานได้รับ 60 คะแนน ระบบจะคำนวณให้ดังนี้ ระบบจะนำจำนวนวันที่เรามาเช้า 12 วันไปตรวจสอบในเงื่อนไขทีละขั้นดังนี้

ขั้นที่ 1 คือ มาเช้าน้อยกว่า 3 วัน จริงหรือไม่ เมื่อไม่จริง ก็จะข้ามไปตรวจสอบขั้นถัดไป

ขั้นที่ 2 คือ มาเช้าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 9 วัน จริงหรือไม่ เมื่อไม่จริง ก็จะข้ามไปตรวจสอบขั้นถัดไป

ขั้นที่ 3 คือ มาเช้าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 วัน จริงหรือไม่ เมื่อจริง หลังจากนั้นก็จะมอบคะแนนที่ได้ระบุ จากขั้นนี้ให้กับพนักงาน


ตัวอย่างของการตั้งค่า “มาเช้า” คะแนนเต็ม 100 คะแนน

จากการตั้งค่า หากพนักงานมาเช้า 12 วัน พนักงานจะได้รับ 60 คะแนน เพราะ 12 วัน น้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 วัน


ตัวอย่างของเงื่อนไขการตั้งค่าไม่มีขั้นไหนที่อยู่ในเงื่อนไข

ตัวอย่าง หากต้องการตั้งค่าให้พนักงานมาสายน้อยกว่า 4 วัน ได้รับ 100 คะแนน มีเงื่อนไขตั้งค่า ดังนี้

มาสาย > 10 วัน จะได้รับ 0 คะแนน, หากพนักงานมาสายมากกว่า 10 วันจะได้รับ 0 คะแนน

มาสาย > 5 วัน จะได้รับ 50 คะแนน, หากพนักงานมาสาย 6-9 วันจะได้รับ 50 คะแนน

มาสาย < 1 วัน จะได้รับ 100 คะแนน, หากพนักงานมาสาย 0 วันจะได้รับ 100 คะแนน


คำอธิบาย จากการตั้งค่าดังกล่าวพนักงานจะไม่ได้รับคะแนนเลย คะแนนที่ได้รับจะเป็น 0 คะแนน เนื่องจาก 4 วัน ไม่อยู่ในเงื่อนไขใด ๆ เลย ระบบจะไม่สามารถระบุคะแนนได้ คะแนนจึงเป็น 0 สาเหตุดังนี้

ขั้นที่ 1 คือ มาสายมากกว่า 10 วัน จริงหรือไม่ เมื่อไม่จริง ก็จะข้ามไปตรวจสอบขั้นถัดไป

ขั้นที่ 2 คือ มาสายมากกว่า 5 วัน จริงหรือไม่ เมื่อไม่จริง ก็จะข้ามไปตรวจสอบขั้นถัดไป

ขั้นที่ 3 คือ มาสายน้อยกว่า 1 วัน จริงหรือไม่ เมื่อไม่จริง ก็จะข้ามไปตรวจสอบขั้นถัดไป

เนื่องจากไม่มีเงื่อนไขขั้นบันไดให้ตรวจสอบแล้วระบบจึงไม่สามารถตรวจสอบเงื่อนไขที่จะให้คะแนนได้ คะแนนที่พนักงานจะได้รับจึงเป็น 0 คะแนน


ตัวอย่างของการตั้งค่า “สาย” คะแนนเต็ม 100 คะแนน และไม่มีตรงเงื่อนไข

เนื่องจากมาสาย 4 วัน ไม่อยู่ในเงื่อนไขใดเลย ระบบจึงไม่สามารถตรวจสอบเงื่อนไขและคะแนนได้ คะแนนที่พนักงานได้รับจึงเป็น 0 คะแนน


หลังจากกรอกข้อมูล และกำหนดเงื่อนไข หรือตัวชี้วัด รวมถึงพนักงานที่ต้องการ เสร็จเรียบร้อยให้ทำการกดปุ่ม “บันทึก”


เมื่อกดบันทึกเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการกด “ประมวล” เพื่อคำนวณข้อมูลจากเงื่อนไข หรือตัวชี้วัดที่ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าพนักงานจะได้กี่คะแนน


หลังจากประมวลผลเสร็จเรียบร้อย ระบบจะแสดงคะแนนที่พนักงานจะได้รับ และแถบสีของตัวชี้วัด


กรณีต้องการประมวลผลจากตัวชี้วัดภายนอก

ให้ดาวน์โหลด “Template” เพื่อกรอกข้อมูลจากตัวชี้วัดภายนอก หลังจากดาวน์โหลดแล้วจะได้รับไฟล์ Excel (.xlsx)

กรอกข้อมูลจากตัวชี้วัดภายนอกที่ได้ ตัวอย่าง “ยอดขาย” ให้กรอกยอดขายที่พนักงานทำได้


เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้กดที่ “เพิ่ม” เพื่อเลือกไฟล์ Excel ที่ได้กรอกข้อมูลจากตัวชี้วัดภายนอกไว้


และกด “Upload” เพื่อนำไฟล์ Excel ตัวชี้วัดภายนอกมาประมวลผล


หลังจากนำเข้าเสร็จเรียบร้อย ระบบจะทำการประมวลผล และแสดงคะแนนจากเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้



ขั้นตอนการตรวจสอบคะแนน KPI Profile ผ่านแอปพลิเคชั่น

ให้เข้า Application HumanSoft หลังจากนั้นกดไปที่ไอคอน “ขีด3ขีด” เลือก “การประเมิน” และเลือกที่ “KPI Profile”


เลือก KPI Profile ที่ต้องการตรวจสอบคะแนนที่ได้รับ


สรุปได้ว่า KPI Profile ใช้สําหรับสร้างตัวชี้วัด โดยให้ระบบมาเป็นตัวช่วยในการประมวลผลการประเมิน โดยไม่อ้างอิงจากแบบประเมิน แต่เป็นการเลือกว่าจะใช้ตัวชี้วัดภายใน หรือภายนอก โดยแบ่งข้อมูลเป็นดังนี้

1. ตัวชี้วัดภายใน ใช้สำหรับดึงเกณฑ์การคำนวณต่างๆในระบบดังนี้

1.1 เกณฑ์การคำนวณจากเวลาการทำงาน เช่น มาเช้า, สาย, พักเกิน, พักไว หรือโอที เป็นต้น

1.2 เกณฑ์การคำนวณจากรายรับรายจ่าย เช่น เงินได้อื่น, ค่าคอมมิชชั่น, โบนัส หรือเงินหักอื่น ๆ เป็นต้น

1.3 เกฑณ์การคำนวณจากการลางาน, แบบประเมิน, ฝึกอบรม หรือจดหมายเตือน

2. ตัวชี้วัดภายนอก ใช้สําหรับสร้างตัวชี้วัดอื่น ๆ ที่ไม่สามารถใช้วิธีการสร้างแบบประเมินจากในระบบได้ หรือมีชุดข้อมูลที่ไม่อยู่ในการคำนวณจากในระบบ เช่น ยอดขาย

สารบัญเนื้อหาที่คุณสนใจ