การตั้งค่าประเภทรายรับ-รายจ่าย
การตั้งค่าประเภทรายรับ รายจ่าย เป็นการตั้งค่ารายการรายรับและรายจ่าย เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณเงินเดือนให้แก่พนักงานตามเงื่อนไขที่มีการตั้งค่าไว้ นอกจากนี้การตั้งค่าประเภทรายรับรายจ่ายนั้นสามารถเลือกตั้งค่าการใช้งานแต่ละประเภทตามนโยบายของบริษัทได้ โดยการตั้งค่าประเภทรายรับรายจ่าย ของระบบ HumanSoft ประกอบไปด้วย 7 ประเภทดังนี้
1.รายรับ-รายจ่ายประเภท Income
2.รายรับ-รายจ่ายประเภท Expense
3.รายรับ-รายจ่ายประเภท Constant
4.รายรับ-รายจ่ายประเภท Loan
5.รายรับ-รายจ่ายประเภท Fund
6.รายรับ-รายจ่ายประเภท Welfare
7.รายรับ-รายจ่ายประเภท Auto
1.รายรับ-รายจ่ายประเภท Income
รายรับรายจ่ายประเภท Income จะเป็นการตั้งค่ารายรับประจำเดือนของพนักงานที่ได้รับในแต่ละเดือนไม่เท่ากัน หรือไม่ได้เป็นรายได้ประจำบางเดือนได้รับ บางเดือนไม่ได้รับ เช่น ค่าคอมมิชชั่น, ค่าเดินทาง จะใช้งานได้ในหน้าคำนวณเงินเดือน
โดยสามารถกรอกข้อมูลเพื่อตั้งค่ารายรับรายจ่ายประเภท Income ได้ดังนี้
- ชื่อประเภทรายรับรายจ่าย
- ตั้งค่าให้นำไปคำนวณกับภาษี/ประกันสังคม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และอื่นๆ
- ตั้งค่าการแสดงผลของประเภทรายรับรายจ่าย 40(x)
- ตั้งค่าการปัดเศษทศนิยม
2.รายรับ-รายจ่ายประเภท Expense
รายรับรายจ่ายประเภท Expense จะเป็นการตั้งค่ารายจ่ายของพนักงานที่ไม่ได้เป็นรายจ่ายประจำบางเดือนถูกหัก บางเดือนไม่ถูกหัก เช่น ค่าเครื่องแบบพนักงาน, ค่าบัตรพนักงาน
จะใช้งานได้ในหน้าคำนวณเงินเดือน
โดยสามารถกรอกข้อมูลเพื่อตั้งค่ารายรับรายจ่ายประเภท Expense ได้ดังนี้
- ชื่อประเภทรายรับรายจ่าย
- ตั้งค่าให้นำไปคำนวณกับภาษี/ประกันสังคม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและอื่นๆ
- ตั้งค่าการแสดงผลของประเภทรายรับรายจ่าย 40(x)
- ตั้งค่าการปัดเศษทศนิยม
3.รายรับ-รายจ่ายประเภท Constant
รายรับรายจ่ายประเภท Constant หรือค่าคงที่ จะเป็นการตั้งค่ารายรับหรือรายจ่ายของพนักงานที่ได้รับหรือถูกหักเป็นประจำเท่าๆ กันทุกเดือน เช่น ค่าตำแหน่ง, ค่าครองชีพ สามารถกรอกยอดเงินได้ที่รายรับ/รายจ่ายคงที่ ที่ข้อมูลพื้นฐานของพนักงาน
โดยสามารถกรอกข้อมูลเพื่อตั้งค่ารายรับรายจ่ายประเภท Constant ได้ดังนี้
- ชื่อประเภทรายรับรายจ่าย
- ตั้งค่าให้นำไปคำนวณกับภาษี/ประกันสังคม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และอื่นๆ
- ตั้งค่าการแสดงผลของประเภทรายรับรายจ่าย 40(x)
- ตั้งค่าการปัดเศษทศนิยม
4.รายรับ-รายจ่ายประเภท Loan
รายรับรายจ่ายประเภท Loan จะเป็นการตั้งค่ารายหักของพนักงานที่มีการแบ่งการหักออกเป็นงวดๆ โดยมีระยะเริ่มต้นและสิ้นสุดแน่นอน ซึ่งอาจจะมีดอกเบี้ยหรือไม่มีดอกเบี้ยก็ได้ เช่น เงินประกันการทำงาน, เงินกู้บริษัท จะสามารถใช้งานได้ในฟังก์ชันจัดการหนี้สินพนักงาน
โดยสามารถกรอกข้อมูลเพื่อตั้งค่ารายรับรายจ่ายประเภท Loan ได้ดังนี้
- ชื่อประเภทรายรับรายจ่าย
- ตั้งค่าให้นำไปคำนวณกับภาษี/ประกันสังคม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และอื่นๆ
- ตั้งค่าการแสดงผลของประเภทรายรับรายจ่าย 40(x)
- ตั้งค่าการปัดเศษทศนิยม
5.รายรับ-รายจ่ายประเภท Fund
รายรับรายจ่ายประเภท Fund จะเป็นการตั้งค่ารายหักของพนักงานที่ถูกหัก และนำไปเก็บสะสมไว้ในกองทุนต่าง ๆ อาจจะเป็นส่วนที่บริษัทหักพนักงานอย่างเดียว หรืออาจจะมีส่วนที่บริษัทสมทบให้พนักงานด้วย เช่น กองทุนบริษัท, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ กองทุน ที่ข้อมูลพื้นฐานของพนักงาน
โดยสามารถกรอกข้อมูลเพื่อตั้งค่ารายรับรายจ่ายประเภท Fund ได้ดังนี้
- ชื่อประเภทรายรับรายจ่าย
- ตั้งค่าให้นำไปคำนวณกับภาษี/ประกันสังคม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และอื่นๆ
- ตั้งค่าการแสดงผลของประเภทรายรับรายจ่าย 40(x)
- ตั้งค่าการปัดเศษทศนิยม
6.รายรับ-รายจ่ายประเภท Welfare
รายรับรายจ่ายประเภท Welfare จะเป็นการตั้งค่ารายรับสวัสดิการประจำปีของพนักงานที่ไม่ได้เป็นรายได้ประจำ บางเดือนได้รับบางเดือนไม่ได้รับ เช่น ค่านวด, ค่าตัดแว่น สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่สวัสดิการ ที่ข้อมูลพื้นฐานของพนักงาน
โดยสามารถกรอกข้อมูลเพื่อตั้งค่ารายรับรายจ่ายประเภท Welfare ได้ดังนี้
- ชื่อประเภทรายรับรายจ่าย
- ตั้งค่าให้นำไปคำนวณกับภาษี/ประกันสังคม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และอื่นๆ
- ตั้งค่าการแสดงผลของประเภทรายรับรายจ่าย 40(x)
- ตั้งค่าการปัดเศษทศนิยม
7.รายรับ-รายจ่ายประเภท Auto
รายรับรายจ่ายประเภท Auto จะเป็นการตั้งค่ารายรับหรือรายหักที่มีหลักเกณฑ์ในการคำนวณเฉพาะ สำหรับรูปแบบรายรับรายจ่ายแบบ Auto ระบบจะเพิ่มรายการและตั้งค่าเงื่อนไขในการคำนวณอย่างต่อเนื่องกัน โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ตามความต้องการของบริษัทได้
เช่น เบี้ยขยันแบบไม่ขาดงาน, ไม่ลางาน และไม่สายโดย
ในเดือนที่ 1 ได้รับ 300 บาท
ในเดือนที่ 2 ได้รับ 400 บาท
ในเดือนที่ 3 ได้รับ 500 บาท
หรือเบี้ยเลี้ยงที่หากพนักงานไม่ขาดงาน, ไม่ลางาน และ ไม่สาย จะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในวันนั้นๆเพิ่มวันละ 50 บาท เป็นต้น
โดยสามารถกรอกข้อมูลเพื่อตั้งค่ารายรับรายจ่ายประเภท Welfare ได้ดังนี้
- ชื่อประเภทรายรับรายจ่าย
- ตั้งค่าให้นำไปคำนวณกับภาษี/ประกันสังคม/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และอื่นๆ
- ตั้งค่าการแสดงผลของประเภทรายรับรายจ่าย 40(x)
- ตั้งค่าการปัดเศษทศนิยม
และยังสามารถกำหนดเลือกตั้งค่าเงื่อนไขเบี้ยขยัน, เบี้ยเลี้ยง, เวลาสะสม, ค่าปรับจากค่าคงที่, ค่าปรับเมื่อผิดเงื่อนไข, มูลค่ากะ ได้ตามนโยบายของบริษัท
วิธีการเพิ่มรายการรายรับ - รายจ่าย
หากต้องการดำเนินการเพิ่มรายรับ-รายจ่ายไม่ว่าจะเป็นรายรับรายจ่ายประเภท Income, Expense, Constant, Loan, Fund และWelfare เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณเงินเดือนให้แก่พนักงาน สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.เข้าสู่เมนู “ตั้งค่า”
2.เลือกที่ “ตั้งค่าการคำนวณ” แล้วเลือก “ตั้งค่าประเภทรายรับรายจ่าย”
3.เมื่อเข้าสู่หน้าตั้งค่าประเภทรายรับรายจ่ายแล้ว ให้เลือก “เพิ่มรายรับรายจ่าย”
4.เลือกรูปแบบประเภทรายรับหรือรายจ่ายที่ต้องการตั้งค่าหรือกำหนดเงื่อนไข
หมายเหตุ :
- กรณีที่มีการตั้งชื่อประเภทรายรับรายจ่ายเรียบร้อยแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนชื่อได้ จะสามารถปิดใช้งานได้เท่านั้น
- กรณีตั้งค่าปัดเศษระบบจะทำการปัดเศษทศนิยมให้ก็ต้องเป็นยอดที่คำนวณจากระบบ
ทั้งนี้เงื่อนไขเหล่านี้สามารถตั้งค่าและปรับเปลี่ยนได้ตามนโยบายของบริษัท เพื่อให้สอดคล้องกับการจ่ายผลตอบแทนพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- การตั้งค่าประเภทรายรับ-รายจ่าย
- 1.รายรับ-รายจ่ายประเภท Income
- 2.รายรับ-รายจ่ายประเภท Expense
- 3.รายรับ-รายจ่ายประเภท Constant
- 4.รายรับ-รายจ่ายประเภท Loan
- 5.รายรับ-รายจ่ายประเภท Fund
- 6.รายรับ-รายจ่ายประเภท Welfare
- 7.รายรับ-รายจ่ายประเภท Auto
- วิธีการเพิ่มรายการรายรับ - รายจ่าย