การตั้งค่ากะการทำงาน
การตั้งค่าข้อมูลกะการทำงาน หรือการสร้างกะการทำงานของพนักงาน สามารถตั้งค่าได้ทั้งหมด 6 รูปแบบ และยังสามารถสร้างกะการทำงานได้ไม่จำกัดจำนวน เพื่อรองรับกับเงื่อนไขการทำงานของพนักงานในแต่ละบริษัท
โดยกะการทำงาน คือ ช่วงเวลาการทำงานของพนักงานในแต่ละวัน และยังมีผลต่อการลงเวลาการทำงาน, การคำนวณเงินเดือน และการขอเอกสารอีกด้วย ทั้งนี้ในกะการทำงานยังสามารถกำหนดมูลค่าเพิ่ม หรือบวกมูลค่าเพิ่มให้กับพนักงานที่มีการทำงานในการกะการทำงานนั้นอีกด้วย
การเพิ่มกะการทำงาน
การเพิ่มกะการทำงาน สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.เข้าสู่เมนู “ข้อมูลองค์กร”
2.เลือกที่ “ข้อมูลกะการทำงาน”
3.จากนั้นเลือกที่เมนู “เพิ่มกะการทำงาน” เพื่อทำการเพิ่มกะการทำงานให้สอดคล้องต่อบริษัท
เมื่อกดเพิ่มกะการทำงาน ระบบจะแสดงรายละเอียดในการตั้งค่าประเภทกะการทำงานในแต่ละประเภท
โดยประเภทของกะการทำงานมีทั้งหมด 6 ประเภท ดังนี้
1.กำหนดเวลาเข้าออก ในวันเดียวกัน คือ เข้าออกงานตามเวลาที่กำหนด ในวันเดียวกัน
2.กำหนดเวลาเข้าออก ข้ามเที่ยงคืนของพรุ่งนี้ คือ เข้าออกงานตามเวลาที่กำหนด ข้ามเที่ยงคืนของพรุ่งนี้
3.กำหนดเวลาเข้าออก ข้ามเที่ยงคืนของเมื่อวาน คือ เข้าออกงานตามเวลาที่กำหนด ข้ามเที่ยงคืนของเมื่อวาน
4.กำหนดชั่วโมงการทำงานรวม คือ เข้าออกงานเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ชั่วโมงต่อวันต้องได้ตามที่กำหนด
5.กำหนดกะการทำงานโดยไม่ต้องลงเวลา คือ เข้าออกงานตามเวลาที่กำหนด ซึ่งจะไม่จำเป็นต้องลงเวลาการทำงาน
6.กำหนดเวลาควบกะการทำงาน คือ ใน 1 วันทำงาน สามารถมีได้มากกว่า 1 กะการทำงาน
ตัวอย่างการตั้งค่าประเภทกะการทำงาน
1.กำหนดเวลาเข้าออก ในวันเดียวกัน
คือ เข้าออกงานตามเวลาที่กำหนดในวันเดียวกัน เช่น กะการทำงาน 08.30 – 17.30 น. เวลาพัก 12.00 – 13.00 น.
2.กำหนดเวลาเข้าออก ข้ามเที่ยงคืนของพรุ่งนี้
คือ เข้าออกงานตามเวลาที่กำหนด ข้ามเที่ยงคืนของพรุ่งนี้ เช่น กะการทำงานในวันที่ 27/8/2023 พนักงานจะต้องลงเวลาเข้างานในวันที่ 27/8/2023 และลงเวลาเลิกงานในวันที่ 28/8/2023 โดยต้องการให้เวลาทั้งหมดเข้ามาอยู่ในวันที่ 27/8/2023 โดยรูปแบบเวลาของกะการทำงาน ดังนี้ 22:00 - 02:00 - 03:00 - 07:00 น.
3.กำหนดเวลาเข้าออก ข้ามเที่ยงคืนของเมื่อวาน
คือ เข้าออกงานตามเวลาที่กำหนดข้ามเที่ยงคืนของเมื่อวาน เช่น กะการทำงานในวันที่ 28/8/2023 พนักงานจะต้องลงเวลาเข้างานในวันที่ 27/8/2023 และลงเวลาออกงานในวันที่
28/8/2023 โดยต้องการให้เวลาทั้งหมดเข้ามาอยู่ในวันที่ 28/8/2023 รูปแบบกะการทำงานของพนักงาน ดังนี้ 22:00 - 01:00 - 02:00 - 06:00 น.
4.กำหนดชั่วโมงการทำงานรวม
คือ เข้าออกงานเมื่อไหร่ก็ได้แต่ชั่วโมงต่อวันต้องได้ตามที่กำหนด โดยที่เวลาเลิกงานจะแสดงตามจำนวนชั่วโมงที่กำหนดไว้ โดยเริ่มนับจากเวลาเข้างานของพนักงาน ตัวอย่างเช่น กำหนดชั่วโมงการทำงานรวมไว้ที่ 8 ชั่วโมง โดยมีการหยุดพัก เมื่อพนักงานลงเวลาเข้างานตอน IN 09:00 น. ระบบจะจำลองเวลาเลิกงาน OUT 18:00 น. ของพนักงานให้อัตโนมัติหลังจากที่มีการลงเวลาเข้างาน
5.กำหนดกะการทำงานโดยไม่ต้องลงเวลา
คือ เข้า - ออกงานตามเวลาที่กำหนด ซึ่งจะไม่จำเป็นต้องลงเวลาการทำงาน เช่น กะการทำงาน 08:00 - 12:00 - 13:00 - 17:00 น. โดยกะการทำงานประเภทนี้จะไม่ลงเวลาเข้างาน หรือออกงานและในกรณีลงเวลาการทำงานไม่ครบชั่วโมงของกะการทำงานก็ไม่ได้รับผลกระทบจากการกลับก่อน หรือขาดงาน
6.กำหนดควบกะการทำงาน
คือ ใน 1 วันทำงานมีรอบหรือเวลาการทำงาน 2 กะการทำงาน เช่น รอบแรกพนักงานต้องทำงาน 08:00 - 12:00 - 13:00 - 17:00 น. และไปพัก หลังจากนั้นจึงมาทำงานในรอบที่ 2 เวลา 17:00 - 20:00 - 21:00 -23:00 น.
การกำหนดมูลค่าของกะการทำงาน
หากต้องการกำหมดมูลค่า หรือบวกมูลค่าเพิ่มในกะการทำงาน โดยประเภทมูลค่ากะการทำงาน มีทั้งหมด 4 ประเภท ซึ่งบางประเภทจะสามารถใช้งานกับพนักงานรายวันเท่านั้น
โดยประเภทมูลค่ากะการทำงานมีทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้
1.คำนวณตามเงินเดือน
2.กำหนดมูลค่าของกะการทำงานนี้
3.บวกมูลค่าเพิ่มสำหรับกะการทำงานนี้
4.บวกจำนวนเท่าของค่าแรงเพิ่มสำหรับกะการทำงานนี้
1.คำนวณตามเงินเดือน (ใช้ได้กับพนักงานทุกประเภท)
คือ การที่พนักงานใช้กะการทำงานนี้ระบบจะคำนวณค่าแรงตามฐานข้อมูลพนักงาน ตามประเภทของพนักงาน
2.กำหนดมูลค่าของกะการทำงานนี้ (ใช้ได้กับพนักงานรายวันเท่านั้น)
คือ การกำหนดมูลค่ากะนี้จะไม่อ้างอิงจากฐานข้อมูลพนักงาน เช่น พนักงานรายวัน ในฐานอัตราค่าจ้างได้รับค่าจ้างอยู่ที่ 500 บาท/วัน แต่ในมูลค่ากะการทำงานระบุไว้ที่ 50 บาท/วัน หากพนักงานท่านนี้มาทำงานในกะนี้ จะได้รับค่าจ้างในวันนั้นเพียงแค่ 50 บาท
3.บวกมูลค่าเพิ่มสำหรับกะการทำงานนี้ (ใช้ได้กับพนักงานรายเดือน และพนักงานรายวัน)
คือ พนักงานจะได้รับค่าแรงเพิ่มจากเดิม เมื่อเข้ากะการทำงานนี้ เช่น พนักงานมีค่าแรงรายวัน 500 บาท/วัน เมื่อเข้ากะการทำงานนี้ จะได้รับเงินเพิ่มอีก 50 บาท พนักงานจะได้รับค่าแรงในวันนั้น 550 บาท
โดยการบวกมูลค่าเพิ่มสำหรับกะการทำงานนี้ จะสามารถกำหนดได้ว่าใช้กับพนักงานกลุ่มประเภทใด โดยสามารถเลือกใช้กับบริษัท สาขา แผนก, ตำแหน่ง, ประเภทพนักงาน, ผ่านงาน/ทดลองงาน, ประเภทพนักงาน
4.บวกจำนวนเท่าของค่าแรงเพิ่มสำหรับกะการทำงานนี้ (ใช้ได้กับพนักงานรายวันเท่านั้น)
คือ การกำหนดมูลค่าของกะการทำงานนี้ว่าจะได้รับค่าแรงเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของค่าแรงต่อวัน
เช่น พนักงานได้รับค่าแรง 500 บาท/วัน และกำหนดมูลค่าเพิ่มเป็น 2 เท่าของค่าแรง เมื่อพนักงานเข้ากะการทำงานนี้ จะได้ค่าแรง 1,000 บาท/วัน
สรุปได้ว่า การสร้างกะการทำงาน, การกำหนดประเภทกะการทำงาน หรือประเภทมูลค่าของกะการทำงานใช้สำหรับสร้างกะการทำงานให้สอดคล้องกันเงื่อนไขการปกิบัติงานของพนักงานแต่ละท่าน
- การตั้งค่ากะการทำงาน
- การเพิ่มกะการทำงาน
- โดยประเภทของกะการทำงานมีทั้งหมด 6 ประเภท ดังนี้
- ตัวอย่างการตั้งค่าประเภทกะการทำงาน
- การกำหนดมูลค่าของกะการทำงาน
- โดยประเภทมูลค่ากะการทำงานมีทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้