PageView Facebook
คู่มือการใช้งานโปรแกรม

ให้คุณได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบ

การตั้งค่าโอที


  การตั้งค่าโอที ใช้สำหรับกำหนดเงื่อนไข หรือเรทค่าแรงที่ต้องการคำนวณในโอทีแต่ละประเภท ซึ่งระบบสามารถตั้งค่าให้โอทีใช้เฉพาะวันทำงานหรือวันหยุดได้ รวมถึงกำหนดว่าพนักงานคนไหนจะขอโอทีประเภทใดได้บ้าง และยังสามารถตั่งค่าให้ปัดเศษขึ้นหรือลง ของการคิดชั่วโมงการทำโอทีได้ ทั้งนี้การตั้งค่าโอทีจะอิงกับภาษี/ประกันสังคมกรณีเลือกให้นำมาคำนวณด้วย ซึ่งสามารถดูคู่มือการตั้งค่าให้คิดภาษี และประกันสังคม ได้ที่นี่


การตั้งค่าโอที

โดยการตั้งค่าโอที สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.เข้าสู่เมนูตั้งค่า

2.เลือกที่เมนู “ตั้งค่าการคำนวณ” แล้วเลือก “ตั้งค่าเวลาการทำงาน”

3.หลังจากนั้นเลือก “ประเภทโอที”

4.เลือกสัญลักษณ์ “รูปดินสอ” เพื่อดำเนินการตั้งค่าโอที

4.1ในแต่ละประเภทโอที สามารถกำหนดประเภทพนักงานที่มีสิทธิ์ขออนุมัติโอทีได้ โดยระบบ HumanSoft รองรับการใช้งานสำหรับพนักงานประเภทต่างๆ ได้แก่ พนักงานรายเดือน, พนักงานรายวัน, พนักงานเหมาจ่าย และพนักงานพาร์ทไทม์



5.หลังจากเลือกกดสัญลักษณ์ “รูปดินสอ” แล้วให้เลือกที่ “นำไปใช้กับ...” เพื่อกำหนดว่าโอทีประเภทนี้จะสามารถขอใช้กับวันไหนได้บ้าง เช่น โอที x1.5 ให้นำไปใช้กับวันทำงานได้เพียงเท่านั้น

6.เลือก “เปิด”ประเภทพนักงานที่ต้องการตั้งค่าโอที เช่น เปิดตั้งค่าโอทีให้กับพนักงานประจำ, พนักงานรายวัน, พนักงานเหมาจ่าย


7.เริ่มนับ “โอทีล่วงเวลา (x1.5)” หลังเวลาเลิกงานกี่นาที

เป็นการกำหนดการหยวนโอทีโดยจะเริ่มนับจากเวลาที่ขอเอกสาร เช่น กำหนดหยวน 15 นาที พนักงานมีกะการทำงาน 08:00 – 17:00 น. และขอเอกสารโอที 17:00 – 18:00 น. ระบบจะคำนวณเอกสารโอทีได้ 45นาที

8.สมมุติเวลาเลิกงานคือ 17:00 น. ถ้าพนักงานเลิกงาน 18:00 น. จะคำนวณ “โอทีล่วงเวลา (x1.5)” กี่นาที (โดยอ้างอิงจากข้อที่ 2)

เป็นการกำหนดว่าหากผ่านช่วงหยวนเวลาแล้ว จะนับย้อนหรือนับชั่วโมงต่อจากที่หยวนโอทีไว้

เช่น กำหนดหยวนโอทีไว้ 15 นาที จะมีตัวเลือกให้เลือกดังนี้

  • เลือก 45 คือ หากเลือกทำโอทีเวลา 17.00 – 19.00 น. ระบบจะคำนวณโอทีได้ 1 ชั่วโมง 45 นาที
  • เลือก 60 คือ หากเลือกทำโอทีเวลา 17.00 – 19.00 น. ระบบจะคำนวณโอทีได้ 2 ชั่วโมง



9.ได้รับเงินแบบไหน

เป็นการกำหนดเงินในส่วนของโอที ว่าจะได้รับเงินเป็นแบบไหน โดยมีทั้งหมด 4 รูปแบบและมีความหมายดังนี้

9.1 ตามเรทค่าแรง เป็นการกำหนดจำนวนเท่าของค่าแรงที่จะนำมาคำนวณโอทีโดยจะอิงจากค่าจ้างของพนักงานแต่ละบุคคล

9.2 เป็นนาที เป็นการกำหนดเรทการจ่ายโอทีเป็นนาที โดยไม่ได้อิงกับค่าจ้างพนักงานแต่ละบุคคล

9.3 ตามสูตรการคำนวณพิเศษ เป็นการกำหนดเงื่อนไข หรือกำหนดแต่ละช่วงว่าทำโอทีตั้งแต่นาทีที่เท่าไหร่ ถึง นาทีที่เท่าไหร่ จะได้รับเรทการคิดเท่าไหร่

9.4แปลงเป็นวันหยุดพิเศษ เป็นช่องที่ให้ใส่จำนวนเท่า คือการกำหนดว่าเมื่อมีการสะสมโอทีเปลี่ยนไปเป็นวันหยุดหรือการลา จะให้สะสมกี่เท่าขอ



10.จำนวนที่ทำจริง

การปัดเศษจำนวนเงิน เป็นการเลือกว่าจะให้ระบบทำการปัดเศษหรือไม่ในกรณีการจ่ายเงินโอที

ไม่ปัดเศษ : ระบบจะจ่ายเงินโอทีตามตัวเลขจริงที่คำนวณได้ โดยไม่ทำการปรับเปลี่ยน

ปัดเศษ : ระบบจะปรับยอดเงินโอทีให้เป็นไปตามวิธีปัดเศษที่กำหนดไว้

11.กำหนดชั่วโมงโอทีสูงสุด

เป็นการกำหนดว่าเอกสาร 1 ฉบับจะให้ระบบคำนวณสูงสุดกี่ชั่วโมง เช่น กำหนดชั่วโมงโอทีสูงสุด 8 ชั่วโมง แต่ขอเอกสารโอทีมาช่วง 17:00 – 04:00 น. ของวันถัดไป ระบบจะคำนวณโอทีได้เพียง 8 ชั่วโมงเท่านั้น

12.การปัดเศษชั่วโมง

มีรูปแบบการปัด 3 รูปแบบดังนี้

  • ไม่ปัดเศษ คือ คำนวณเอกสารโอทีตามจริง 
  • ปัดลง 10 นาที คือ ปัดเศษลงช่วงละ 10 นาที เช่น ทำโอที 02.45 ชั่วโมง หากตั้งค่าปัดเศษจะคำนวณได้ 02.35 ชั่วโมง
  • ปัดลง 15 นาที คือ ปัดเศษลงช่วงละ 15 นาที เช่น ทำโอที 02.45 ชั่วโมง หากตั้งค่าปัดเศษจะคำนวณได้ 02.30 ชั่วโมง
  • ปัดลง 20 นาที คือ ปัดเศษลงช่วงละ 20 นาที เช่น ทำโอที 02.45 ชั่วโมง หากตั้งค่าปัดเศษจะคำนวณได้ 02.25 ชั่วโมง
  • ปัดลงครึ่งชั่วโมง คือ ปัดเศษลงช่วงละครึ่งชั่วโมง เช่น ทำโอที 02.45 ชั่วโมง หากตั้งค่าปัดเศษจะคำนวณได้ 02.30 ชั่วโมง 
  • ปัดลงเต็มชั่วโมง คือ ปัดเศษลงช่วงละชั่วโมง เช่น ทำโอที 02.45 ชั่วโมง หากตั้งค่าปัดเศษจะคำนวณได้ 02.00 ชั่วโมง

13.นำไปคำนวณกับ

เป็นการเลือกว่าจะนำรายการโอทีประเภทนี้มาคำนวณกับภาษีและประกันสังคมหรือไป ซึ่งสามารถดูคู่มือการตั้งค่าให้คิดภาษีและประกันสังคม ได้ที่นี่



หลักการคำนวณโอทีของการได้รับเงินแต่ละประเภท

ติดตามเรทค่าแรง (ตัวอย่าง 1.5 เท่า)

  • เงินเดือน 15,000 / วันทำงาน 30 วัน จะได้ค่าแรงเฉลี่ย 500 ต่อวัน และนำไปหารชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่งโมง เท่ากับทำงาน 1 ชั่วโมงจะได้โอที 62.5 บาท ถ้าหากทำโอที 5 ชั่วโมง X 1.5 = 468.75 บาท


เป็นนาที (ตัวอย่างนาทีละ 5 บาท)

  • พนักงานทำโอที 1 ชั่วโมง จะได้ 60 นาที x 5 บาท = 300 บาท


ตามสูตรการคำนวณพิเศษ (ตัวอย่าง ทำโอทีช่วง 0 – 30 นาที คิด 1 เท่า และ ทำโอทีช่วง 31 – 60 นาที คิด 2 เท่า)

  • เงินเดือน 15,000 / วันทำงาน 30 วัน จะได้ค่าแรงเฉลี่ย 500 ต่อวัน และนำไปหารชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่งโมง เท่ากับทำงาน 1 ชั่วโมงจะได้โอที 62.5 บาท

ถ้าหากทำโอที 1 ชั่วโมง 30 นาทีแรกคิดได้ 31.25 บาท และ 30 นาทีหลัง 62.5 บาท ดังนั้นพนักงานทำโอที 1 ชั่วโมงระบบจะคำนวณได้ 93.75 บาท


แปลงเป็นวันหยุดพิเศษ

  • พนักงานมีกะการทำงาน 08.00 – 17.00 น. และขอเอกสารโอที 17.00 – 19.00 น.  มีการตั้งค่าจำนวน 2 เท่าของชั่วโมง

เท่ากับพนักงานทำโอวันนี้ 2 ชั่วโมง แต่คิดเป็น 2 เท่า ดังนั้นวันนี้จะเก็บชั่วโมงโอทีที่จะเปลี่ยนเป็นลา หรือวันหยุดได้ 4 ชั่วโมง


  สรุปได้ว่า การตั้งค่าโอที เป็นการกำหนดเงื่อนไขการขอเอกสารโอทีว่ามีเงื่อนไขอย่างไร เช่น โอทีฉบับนี้ขอได้แค่วันหยุดหรือวันทำงานเท่านั้น รวมถึงรูปแบบการคำนวณว่าจะคิดแบบใด ซึ่งสามารถกำหนดให้เอกสารปัดเศษชั่วโมงได้ด้วย ทั้งนี้สามารถกำหนดให้เลือกได้ว่าจะนำผลขอการคำนวณโอทีไปคิดกับภาษีหรือประกันสังคมหรือไม่

สารบัญเนื้อหาที่คุณสนใจ
  • การตั้งค่าโอที
  • หลักการคำนวณโอทีของการได้รับเงินแต่ละประเภท