การคำนวณ และการทำจ่ายภาษี
การยื่นภาษี เป็นข้อกำหนดในกฎหมายสรรพากร ว่าด้วยประชาชนคนไทยจำเป็นมีการยื่นภาษีแสดงรายได้ของบุคคลนั้น ๆ ถ้าใครอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษีแล้วนั้น ภาษีเหล่านี้จะถูกนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป
โดยเป็นการแสดงรายได้ของตนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา และจะยื่นภาษีประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ช่วง 1 มกราคม – 31 มีนาคมของทุกปี (หากยื่นออนไลน์ของกรมสรรพากร จะขยายเวลายื่นได้ถึง 8 เมษายนของทุกปี)
สามารถตั้งค่าประเภทการคิดภาษีของพนักงานได้ที่หน้า ข้อมูลพนักงาน และ ระบบมีรายงานที่รองรับการยื่นภาษี 3 รูป คือ
- ภาษีประจำเดือน (ภงด.1)
- ภาษีประจำปี (ภงด.1ก)
- ภาษี ณ ที่จ่าย (ภงด.3)
อีกทั้งระบบยังสามารถดาวน์โหลดไฟล์ Text เพื่อทำการแปลงไฟล์ในโปรแกรม RD Prep เพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับการอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ของสรรพากร
ความหมายของภาษีแต่ละประเภท
• ไม่คิดภาษี คือ ตั้งค่าพนักงานไม่มีการคิดภาษี
• คิดภาษีใหม่ทุกเดือน คือ การคิดเงินภาษีแบบอัตราก้าวหน้า
• คิดภาษีคงที่ทุกเดือน คือ การกำหนดยอดภาษีที่ต้องเสีย โดยจะไม่เปลี่ยนตามการขึ้น-ลง ของฐานรายได้ที่เกิดขึ้น
• คิดภาษีเป็น % ของรายได้ คือ การกำหนด % ภาษีที่ต้องเสีย โดยคิดจากผลรวมของรายได้
• คิดภาษี ภงด.1 ใหม่ทุกเดือน เป็นรายได้ 40(2) คือ การคิดภาษีโดยการประมาณการยอดอนาคตให้คิดในรอบปัจจุบัน
• คิดภาษี ภงด.3 รวมเงินเดือน คือ การคิดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่มีการนำเงินเดือนและรายรับรายจ่ายมาคำนวณภาษี
• คิดภาษี ภงด.3 ไม่รวมเงินเดือน คือ การคิดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่เป็นการนำเฉพาะรายรับรายจ่ายมาคำนวณภาษี
ความหมายของรายงานภาษีแต่ละประเภท
รายงานภาษีประจำเดือน (ภงด.1)
คือ แบบภาษีสำหรับแจ้งข้อมูลการจ่ายเงินได้ของ พนักงานประจำ หรือการจ้างงาน เช่น เงินเดือน, โบนัส, ค่าคอมมิชชั่น, ค่าตำแหน่ง หรือค่าจ้างงาน เป็นต้น สำหรับช่วงเวลาทั้งเดือน โดยผู้จ่ายเงิน (นายจ้าง) ต้องเป็นคนยื่น
โดยสามารถยื่นได้ ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป แต่หากยื่นออนไลน์สามารถยื่นได้ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
รายงานภาษีประจำปี (ภงด.1ก)
คือ ใบสรุปการยื่นภาษีเงินได้สำหรับการจ้างงานสำหรับช่วงเวลาทั้งปี ที่จะแสดงเงินได้ของลูกจ้าง เช่น เงินเดือน, โบนัส, ค่าคอมมิชชั่นต่าง ๆ หรือค่าจ้างงาน เป็นต้น และในแบบนี้จะแสดงจำนวนภาษีเงินได้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเอาไว้ตลอดทั้งปีด้วย
โดยสามารถยื่นทางสรรพากรได้ ปีละหนึ่งครั้ง ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
รายงาน ณ ที่จ่าย (ภงด.3)
คือ แบบยื่นเพื่อแจ้ง การหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคล ที่ทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา ที่เจ้าของธุรกิจ (นิติบุคคล) จะต้องหักออกจากค่าจ้างที่จ้างบุคคลภายนอกให้มาทำงานให้บริษัท
โดยสามารถยื่นได้ ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป แต่หากยื่นออนไลน์สามารถยื่นได้ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
การตั้งค่าข้อมูลพนักงานคิดภาษี
การตั้งค่าข้อมูลพนักงานคิดภาษี สามารถกำหนดได้ 2 วิธี
1. กำหนดที่ข้อมูลพนักงาน
เป็นการตั้งค่ารายบุคคล โดยสามารถเข้าไปที่ เมนูข้อมูลองค์กร จากนั้นเลือกที่ เมนูข้อมูลพนักงาน
เมื่อเลือกพนักงานเรียบร้อยแล้วจากนั้นเลือก ประเภทภาษีที่ต้องการให้กับพนักงาน และ กดบันทึก
หมายเหตุ : กรณีที่ไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการคำนวณภาษีให้กับพนักงานได้ สามารถดูได้ที่นี่
2. กำหนดที่เมนูย่อย
จะสามารถกำหนดให้พนักงานได้หลายคน โดยสามารถเข้าไปที่ เมนูข้อมูลองค์กร จากนั้นเลือกที่ เมนูข้อมูลพนักงาน และ เมนูย่อย "ข้อมูลเงินเดือน" หลังจากนั้นเลือกประเภทการคิดภาษีที่ต้องการให้กับพนักงาน และกดบันทึก
หมายเหตุ : กรณีที่ไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการคำนวณภาษีให้กับพนักงานได้ สามารถดูได้ที่นี่
เพิ่มเติมในกรณีที่ลูกค้ามีการใช้งานโปรแกรมระหว่างปี และมีความต้องการให้ระบบคำนวณภาษี รวมทั้งรายได้ก่อนหน้า ต่อจากระบบเดิม สามารถนำเข้าข้อมูลได้ 2 วิธี คือ
1.นำเข้าข้อมูลเงินเดือนสุทธิย้อนหลังในแต่ละรอบการคำนวณ
2.นำเข้ารายได้สะสมก่อนหน้า
โดยจะเป็นการนำเข้าข้อมูลรายได้สะสมรวมกัน ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนก่อนที่จะเริ่มคำนวณเงินเดือนผ่านระบบ
โดยการนำเข้าเงินเดือนย้อนหลัง สามารถนำเข้าได้ 2 วิธี
1.การนำเข้าที่เมนูคำนวณเงินเดือน
ในหน้าปิดงวดบัญชี จะเป็นการนำเข้าเงินเดือนย้อนหลังทีละเดือน เพื่อให้แสดงยอดเงินสะสมในสลิปเงินเดือน สามารถดูคู่มือการนำเข้าเพิ่มเติมได้ที่นี่
2. การนำเข้ายอดสะสมย้อนหลังที่เมนูย่อย
โดยสามารถกรอกยอดยกมา ที่พนักงานเคยได้รับรายได้เท่าไหร่ หรือเสียประกันสังคม, ภาษี และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปเท่าไหร่ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงสามารถกรอกยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทสมทบได้เช่นกัน
หมายเหตุ : การกรอกยอดสะสมย้อนหลังที่หน้าเมนูย่อย จะไม่แสดงรายละเอียดที่สลิปเงินเดือน และรายงาน ภงด.1 รายเดือน
ตัวอย่างสลิปเงินเดือนที่แสดงยอดสะสม
หลักการคำนวณภาษีใหม่ทุกเดือนของระบบ
หลักการคำนวณภาษีของทาง HumanSoft จะเป็นการนำเงินของในอดีต, ปัจจุบัน เเละอนาคตมาประมาณการรายได้ เเละคำนวณภาษี
ขั้นตอนการคำนวณรายได้พึงประเมิน : ตัวอย่างดังนี้
เริ่มใช้งานระบบเดือนกรกฎาคม เเละมีการนำเข้าข้อมูลเงินเดือนสุทธิ หรือรายได้สะสมย้อนหลัง เรียบร้อยแล้วโดยมีข้อมูลดังนี้
จากนั้น นำรายได้พึงประเมิน มาหักลดหย่อนต่าง ๆ และเริ่มคำนวณภาษี
รายได้พึงประเมิน - หักค่าใช้จ่าย - ลดหย่อนส่วนตัว - ประกันสังคม - กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
• รายได้พึงประเมิน 384,750 บาท
• หักค่าใช้จ่าย- 100,000
หมายเหตุ : หลักการคิดลดหย่อนค่าใช้จ่าย คือนำรายได้พึงประเมิน x 50% = ยอดหักค่าใช้จ่าย ซึ่งมีการหักตามจริง ไม่เกิน 100,000 บาท
จะได้ 384,750 x 50% = 192,375 บาท ลดหย่อนค่าใช้จ่ายสูงสุด 100,000 บาท
• ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
• ลดหย่อนประกันสังคม (ประมาณการ) 9,000 บาท
• กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 3,500 บาท
รายได้พึงประเมินที่มีการหักค่าลดหย่อนต่างๆ : 384,750 - 100,000 - 60,000 - 9,000 - 3,500 = 212,250 บาท
ขั้นตอนการคำนวณภาษี
1. รายได้พึ่งประเมิน - ภาษีขั้นที่ยกเว้น : 212,250 – 150,000 = 62,250
2. 62,250 x 5% (ในขั้นที่ 2 ) = ยอดภาษีที่เสียทั้งปี 3,112.5 บาท
3. นำยอดที่เสียภาษีทั้งปี หารด้วยเดือนที่ต้องเสียภาษี (นับรวมเดือนปัจจุบัน) จะได้ 3,122.5 / 6 เดือน = ภาษีที่ต้องเสียต่อเดือน 518.75 บาท
หมายเหตุ : หากเคยมีการจ่ายภาษีไปแล้ว ในช่วงที่นำเข้าข้อมูลเงินเดือนสุทธิ ให้นำยอดที่ต้องเสียภาษีทั้งปี – ภาษีที่เคยจ่ายไปก่อนหน้า จากนั้นนำยอดมาหารเดือนที่ต้องเสียภาษี
ตัวอย่าง ภาษีที่เสียทั้งปี 3112.5 – ภาษีที่เคยจ่าย 1560 = 1552.5 บาท
นำ 1552.5 / 6 เดือน = ภาษีที่ต้องเสียต่อเดือน 258.75 บาท ปัดเศษ 259 บาท
หลักการคำนวณภาษี ภงด.3 รวมเงินเดือน และ ไม่รวมเงินเดือน
หลักการคำนวณภาษี ภงด.3 รวมเงินเดือน
• เงินเดือนพนักงาน 25,000 บาท
• ค่าตำแหน่ง 1,500 บาท
• ค่าครองชีพ 1,500 บาท
• หักค่าชุดพนักงาน 1,000 บาท
ระบบจะนำ เงินเดือน + รายรับ – รายจ่าย = รายได้ก่อนคิดภาษี
ดังนี้ เงินเดือน + ค่าตำแหน่ง + ค่าครองชีพ – ค่าชุดพนักงาน จะได้ 25,000 + 1,500 + 1,500 – 1,000 = 27,000
จากนั้นนำ รายได้ก่อนคิดภาษี x 3% = ยอดเงินที่เสียภาษี
คือ 27,000 x 3% = 810 บาท
หลักการคำนวณภาษี ภงด.ไม่รวมเงินเดือน
โดยระบบจะไม่นำเงินเดือนมาคำนวณภาษีให้
• ค่าตำแหน่ง 1,500 บาท
• ค่าครองชีพ 1,500 บาท
• หักค่าชุดพนักงาน 1,000 บาท
ระบบจะนำ รายรับ – รายจ่าย = รายได้ก่อนคิดภาษี
ดังนี้ ค่าตำแหน่ง + ค่าครองชีพ – ค่าชุดพนักงาน จะได้ 1,500 + 1,500 – 1,000 = 2,000
จากนั้นนำ รายได้ก่อนคิดภาษี x 3% = ยอดเงินที่เสียภาษี
คือ 2,000 x 3% = 60 บาท
หมายเหตุ : กรณีพนักงานคำนวณภาษี ภงด.3 การหักภาษี จะแสดงที่ช่อง หัก ณ ที่จ่าย
ขั้นตอนการนำจ่ายภาษี
สามารถดาวน์โหลดไฟล์ Text ที่เมนูรายงานภาษี โดยเข้าไปที่เมนูรายงาน จากนั้นเลือกที่ กลุ่มภาษี
เพื่อทำการจัดเตรียมข้อมูลยื่นในโปรแกรม RD Prep สามารถทำดาวน์โหลดโปรแกรม RD Prep
ได้ที่ : https://efiling.rd.go.th/rd-cms/
หรือสามารถดาวน์โหลดไฟล์ Text ที่หน้า ปิดงวดบัญชี โดยสามารถเข้าที่เมนูการประมวลผลเงินเดือน จากนั้นเลือกที่ การคำนวณเงินเดือน และเลือกคำนวณเงินเดือน จากนั้นไปที่หัวข้อ ปิดงวดบัญชี เพื่อดึงไฟล์ Text ในการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อยื่นในโปรแกรม RD Prep
เมื่อทำการแปลงไฟล์จัดเตรียมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเข้าที่เว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/login เพื่อนำไฟล์ที่มีการแปลงข้อมูลมายื่นภาษีออนไลน์
สรุปได้ว่าการจ่ายภาษีเป็นข้อกำหนดกฎหมายสรรพากร ว่าด้วยคนไทยต้องมีการยื่นภาษีเพื่อแสดงรายได้ของตนเอง เพื่อให้ภาษีเหล่านั้นถูกนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
โดยในระบบมีรายงานที่รองรับในการดาวน์โหลดรายงาน เพื่อยื่นแปลงไฟล์ภาษีและนำส่งเข้าเว็บไซต์สรรพากร ทั้ง รายงานภาษีประจำเดือน (ภงด.1), รายงานภาษีประจำปี (ภงด.1ก) และ รายงานภาษี ณ ที่จ่าย (ภงด.3)
ข้อควรระวังในการตั้งค่าภาษี
การตั้งค่าการคิดภาษี ไม่ควรเปลี่ยนไปมา ระหว่างการคิดภาษีแบบคงที่, คิดภาษีภงด.1 ใหม่ทุกเดือน หรือคิดเป็น % รายได้ ซึ่งจะส่งผลให้การคำนวณภาษีและรายงานผิดพลาด เนื่องจากระบบจะเป็นการคำนวณภาษีแบบประมาณการ หากใช้วิธีคิดแบบใด ควรใช้ประเภทนั้นตลอด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับการคำนวณภาษี และ รายงานภาษี