ตั้งค่าพื้นที่การทำงาน
ตั้งค่าพื้นที่การทำงาน คือ เมนูที่ใช้สำหรับการกำหนดพื้นที่การทำงาน เป็นเมนูที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดพื้นที่การลงเวลาการทำงานให้แก่พนักงาน ซึ่งสามารถตั้งค่ากำหนดได้ทั้ง Latitude, Longitude, รัศมี (เมตร) ของการลงเวลา, วันที่ต้องการ, พนักงานที่สามารถลงเวลาในพื้นที่นี้ได้
ขั้นตอนการตั้งค่าพื้นที่การทำงาน
สำหรับการตั้งค่าพื้นที่การทำงาน สามารถเข้ามาตั้งค่าได้ที่เมนูตั้งค่า > ตั้งค่าอื่น ๆ > ตั้งค่าพื้นที่การทำงาน เมื่อกดเข้าบนหน้าจอจะปรากฏพื้นที่การทำงาน Everywhere ที่เป็นค่าตั้งต้นของระบบ (Everywhere คือ การลงเวลาในสถานที่ใดก็ได้ ไม่มีการกำหนด Latitude, Longitude สามารถกำหนดได้เพียง 1 พื้นที่เท่านั้น) หากต้องการเพิ่มพื้นที่การทำงานเพิ่มเติม สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. เข้ามาที่หน้า “ตั้งค่าพื้นที่การทำงาน”
2. เลือก “เพิ่มพื้นที่การทำงาน”
3. เมื่อกดเข้ามาจะมีแจ้งเตือนการเข้าถึงตำแหน่งให้ทำการกดอนุญาต “อนุญาต”
4. จากนั้นระบบจะแสดงภาพแผนที่ตัวอย่าง และหมุดของสถานที่ (Location) ตามเครื่องคอมพิวเตอร์ หากหมุดไม่ตรงตามสถานที่ที่ต้องการสามารถย้ายหมุดไปยังสถานที่ที่ต้องการได้เลย
5. ในส่วนต่อมาให้ทำการกรอกข้อมูลของพื้นที่การทำงาน
5.1 ชื่อสถานที่ ที่ต้องการให้พนักงานลงเวลา เช่น บริษัท ฮิวแมนซอฟท์ จำกัด (สาขาใหญ่) เป็นต้น
5.2 เลือกวัน ที่ต้องการให้พนักงานลงเวลาการทำงานได้
5.3 กำหนดพนักงาน ว่าใครบ้างที่สามารถลงเวลาในพื้นที่นี้ได้ ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างองค์กร, ตำแหน่ง และพนักงาน แนะนำว่าให้เลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อไม่ให้ข้อมูลซ้อนกัน
5.4 กำหนด Latitude และ Longitude หากเลือกหมุดตามข้อที่ 4 ระบบจะแสดง Latitude และ Longitude ตามข้อที่ 4 หรือสามารถเลือกใช้ “ตำแหน่งปัจจุบัน” ได้ และกรณีที่ต้องการระบุสถานที่อื่น สามารถค้นหา Latitude และ Longitude ได้เพิ่มเติมจาก Google map
5.5 กำหนดรัศมี คือ การกำหนดรัศมีของพื้นที่การลงเวลาให้แก่พนักงาน เช่น กำหนดรัศมี 100 เมตร ดังนั้น พนักงานจะสามารถลงเวลาการทำงานได้ในระยะ 100 เมตร นับจากหมุดที่ปัก
5.6 บันทึก เมื่อดำเนินการตั้งค่าเรียบร้อยแล้วให้ทำการกดบันทึก
วิธีการค้นหา Latitude และ Longitude จาก Google Map
กรณีที่ต้องการค้นหา Latitude และ Longitude จาก Google Maps สามารถดำเนินการได้ตามวิธีการ ดังนี้
วิธีที่ 1 การคัดลอก Latitude และ Longitude จาก URL
การคัดลอก Latitude และ Longitude จาก URL ของ Google Map ได้โดยแถบ URL ของเว็บไซต์ โดยให้ทำการสังเกตที่หลังเครื่องหมาย @ จะมีในส่วนของเลข Latitude และ Longitude อยู่ ดังภาพตัวอย่างหมายเลขที่ 1 ด้านล่าง
วิธีที่ 2 ตรวจสอบ Latitude และ Longitude จาก Street View
การตรวจสอบ Latitude และ Longitude จาก Street View ให้ทำการคลิกที่สถานที่ที่ต้องการ จะมีข้อมูล Street View ขึ้นมา โดยจะแสดงเลข Latitude และ Longitude ขึ้นมา
ข้อควรระวังสำหรับการตั้งค่าพื้นที่การทำงาน
ในส่วนของการตั้งค่าพื้นที่การทำงาน มีข้อควรระวังดังต่อไปนี้
1. พื้นที่การทำงาน Everywhere หรือการลงเวลานอกสถานที่ สามารถกำหนดได้เพียง 1 พื้นที่การทำงานเท่านั้น
2. เมื่อมีการแก้ไขการตั้งค่าพื้นที่การทำงาน จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงตามการแก้ไข ซึ่งอาจส่งผลกระทบในเรื่องของ QR Code บน PDF เปลี่ยนแปลงไปด้วย กรณีที่บริษัทมีการนำ QR Code ไปติดยังสถานที่ต่าง ๆ แนะนำว่าให้ดาวน์โหลด PDF ใหม่ทุกครั้ง