PageView Facebook
คู่มือการใช้งานโปรแกรม

ให้คุณได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบ

การประกาศรับสมัครงาน และการกรอกใบสมัครงาน


การประกาศรับสมัครงาน


การรับสมัครงานของระบบ HumanSoft เป็นการ สร้างประกาศการรับสมัครงาน เพื่อให้ผู้ที่สนใจสมัครงานสามารถกรอกข้อมูลสมัครงานเข้ามาแบบออนไลน์ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์เอกสารหรือเขียนใบสมัคร และสามารถแนบเอกสารแบบ E-Document ได้ด้วย 

เพียงสามารถนำลิงก์ที่ระบบสร้างให้ ส่งให้ผู้ที่สนใจสมัครหรือแนบลิงก์ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ใช้ Recruiting ให้ผู้ที่สนใจสมัครกรอกข้อมูลได้

โดยการประกาศรับสมัครงาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  • การเพิ่มประกาศรับสมัครงาน
  • การสร้างแบบทดสอบรับสมัครงาน


การเพิ่มประกาศรับสมัครงาน


การประกาศรับสมัครงาน สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน ดังนี้

1.เมื่อเข้าสู่ระบบของ HumanSoft เรียบร้อยแล้วเข้ามาที่เมนู ระบบติดตามผู้สมัคร เลือก “ประกาศรับสมัครงาน”

2.เลือก “เพิ่มประกาศ”

เมื่อกดเข้ามาที่หน้าเพิ่มประกาศ โดยรายละเอียดของการเพิ่มประกาศจะประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้

3.Banner คือ ใส่รูปภาพหน้าปกประกอบตัวประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งนั้นๆ

4.Logo คือ ใส่รูปภาพ Logo ของบริษัทนั้นๆ

5.ชื่อตำแหน่งงาน คือ ชื่อตำแหน่งงานที่บริษัทเปิดรับสมัคร

6.รายละเอียดเพิ่มเติม คือ สามารถระบุรายละเอียดเพิ่มเติมได้ เช่น สถานที่ปฏิบัติงาน

7.ชื่อเว็ปไซต์ คือ สามารถนำเว็ปไซต์ของบริษัทมาใส่ได้ (ถ้ามี)

8.เงินเดือน คือ สามารถระบุเงินเดือนของตำแหน่งที่เปิดรับสมัครงาน

9.จำนวนที่รับสมัคร คือ สามารถระบุจำนวนคนที่เปิดรับในตำแหน่งนั้นๆ ได้ เช่น จำนวน 2 อัตรา

10.เวลาทำการ คือ สามารถระบุเวลาทำงานของตำแหน่งที่เปิดรับสมัครได้ เช่น เวลาทำการ 08.30 – 17.30 น.

11.อายุ คือ สามารถระบุอายุที่ต้องการรับของตำแหน่งที่เปิดรับสมัครได้ เช่น อายุตั้งแต่ 18-30 ปี

12.ระดับการศึกษา คือ สามารถระบุระดับการศึกษาที่ต้องการของตำแหน่งที่เปิดรับสมัครได้ เช่น ระดับการศึกษา ปริญญาตรีขึ้นไป

13.เพศ คือ สามารถเลือกเพศที่ต้องการเปิดรับสมัครได้ หรือ เลือกที่จะไม่ระบุก็ได้

14.รายละเอียดงาน คือ สามารถระบุรายละเอียดของงานในตำแหน่งที่เปิดรับสมัครได้ เช่น

ประสานงานกับหน่วยงานอื่นภายในบริษัทในการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของลูกค้า เป็นต้น

15.คุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงาน คือ สามารถระบุคุณสมบัติเฉพาะของผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่เปิดรับสมัครงานได้ เช่น มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป,มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ระดับดี เป็นต้น

16.สวัสดิการ คือ สามารถระบุสวัสดิการของบริษัทได้ เช่น วันหยุดประจำปี,โบนัส เป็นต้น

17.ช่องทางการติดต่อ คือ สามารถระบุช่องทางการติดต่อได้


18. สถานที่ทำงาน คือ สามารถระบุสถานที่ทำงานได้เพื่อให้ผู้ที่สนใจสมัครงสามารถเข้าไปดูสถานที่ปฏิบัติงานได้โดยให้ระบุ ละติจุด ลองจิจูด รัศมี หรือสามารถเลือกใช้ตำแหน่งปัจจุบันได้เลย

19. แนบไฟล์ คือ สามารถแนบไฟล์ได้ เช่น แนบไฟล์รายละเอียดการรับสมัครงานที่ทำเป็นใบประกาศต่างๆ

20.กด บันทึก

21.กด ยืนยัน


หมายเหตุ : กรอกข้อมูลที่จำเป็นตามเครื่องหมาย *ให้ครบถ้วนทุกหัวข้อจึงจะสามารถกดบันทึกข้อมูลได้


การสร้างแบบทดสอบรับสมัครงาน


การสร้างแบบทดสอบ เพื่อให้ผู้สมัครงานทำแบบทดสอบในการสมัครงานโดยการสร้างแบบทดสอบจะสามารถสร้างหรือไม่สร้างก็ได้ตามที่บริษัทกำหนด โดยมีรายละเอียดการกรอกข้อมูลดังนี้

1.ชื่อแบบทดสอบ

2. คำอธิบายของแบบทดสอบ

3. คะแนนเต็มทั้งหมด 100 คะแนน (โดยคะแนนเต็ม 100 คะแนนจะเป็นคะแนนรวมที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ และคะแนนเต็มจะสามารถนำไปเฉลี่ยในหัวข้อคำถามแต่ละข้อได้ตามความต้องการ)

4. คำถาม สามารถตั้งเป็นคำถามได้ เช่น ทักษะใดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับพนักงานบริการลูกค้า

5. คะแนน สามารถระบุคะแนนเฉลี่ยรายหัวข้อได้

6. ประเภทคำตอบ สามารถเลือกประเภทการตอบคำถามของผู้สมัครงานได้ เช่น ตอบแบบหนึ่งคำตอบ, ตอบแบบหลายคำตอบ, ตอบแบบคำตอบสั้นๆ, ตอบแบบย่อหน้า


หมายเหตุ : โดยในประเภทคำตอบแบบหนึ่งคำตอบ จะสามารถระบุคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในคำตอบที่ถูกต้องที่สุดได้ และในการเพิ่มหัวข้อคำถามจะสามารถเพิ่มหัวข้อคำถามได้ตามความต้องการแต่การเฉลี่ยคะแนนแต่ละหัวข้อคำถามรวมกันจะต้องได้ 100 คะแนน

7. กด บันทึก

8. กด ยืนยัน

9.เมื่อทำการกรอกรายละเอียดประกาศรับสมัครงานเสร็จแล้ว ระบบจะมีลิงก์ให้เพื่อสามารถนำลิงก์ไปประกาศรับสมัครงานในแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ เช่น นำลิงก์ไปแปะในโพสต์ประกาศรับสมัครงานใน Facebook

10.เครื่องหมายตัว i (Information) เป็นเครื่องหมายที่แสดงในประกาศรับสมัครงาน ตามตำแหน่งนั้นๆ โดยเครื่องหมายนี้ถ้าหากกดเข้าไปจะสามารถ แก้ไข/เพิ่ม รายละเอียดต่างๆของประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งนั้นๆได้


การกรอกใบสมัครงาน


การกรอกใบสมัครงาน เป็นขั้นตอนของการที่ผู้สนใจสมัครงานกับตำแหน่งงานนั้นๆที่บริษัทเปิดรับโดยสามารถกรอกข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ได้ ซึ่งขั้นตอนของการกรอกใบสมัครงานจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้

  • กรอกข้อมูลส่วนตัวสมัครงาน
  • ทำแบบทดสอบสมัครงาน


การกรอกข้อมูลส่วนตัวสมัครงาน

ขั้นตอนการกรอกใบสมัครงานของผู้ที่สมัครงาน สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน ดังนี้

1.กด “สมัครงาน” ตามประกาศเปิดรับสมัครงานในตำแหน่งที่เปิดรับ

2.เมื่อทราบถึงรายละเอียดการเปิดรับสมัครงานในตำแหน่งนั้นๆแล้วให้ กด “สมัครงาน”

3.เมื่อกดสมัครงานเข้ามาแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นแจ้งเตือนให้ผู้สมัครกด “ตกลง” ยอมรับ เรื่องนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ

เมื่อเข้าสู่หน้ากรอกข้อมูลรายละเอียดสมัครงาน ซึ่งจะประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้

4.เพิ่มรูป คือ การเพิ่มรูปภาพโปรไฟล์ของผู้สมัครงาน

5. ข้อมูลส่วนตัว คือ การกรอกข้อมูลรายละเอียดส่วนตัวของผู้สมัครงานโดยข้อมูลจะประกอบไปด้วย

-คำนำหน้าชื่อ

-ชื่อ

-นามสกุล

-ชื่อเล่น

-ชื่อ(ภาษาอังกฤษ)

-นามสกุล(ภาษาอังกฤษ)

-ชื่อเล่น(ภาษาอังกฤษ)

-เพศ

-สัญชาติ

-เลขประจำตัวประชาชน

-สถานะ

-วันเกิด

-อายุ

-น้ำหนัก

-ส่วนสูง

-ระดับการศึกษา

-เบอร์โทรศัพท์

-อีเมล

-เงินเดือนที่ต้องการ

-ระยะเวลาที่พร้อมเริ่มงาน

-วันที่พร้อมเริ่มงาน

6.กรณีฉุกเฉินติดต่อ คือ ผู้สมัครสามารถระบุข้อมูลผู้ติดต่อฉุกเฉินได้ โดยกดที่ “+”

7.ที่อยู่ตามบัตรประชาชน คือ การระบุที่อยู่ตามบัตรประชาชนของผู้ที่สมัครงาน โดยข้อมูลจะประกอบไปด้วย

-บ้านเลขที่

-ระบุรหัสไปรณีย์ หรือตำบล/แขวง และข้อมูลจะขึ้นอัตโนมัติ

8.ที่อยู่ปัจจุบัน คือ การระบุที่อยู่ปัจจุบันของผู้ที่สมัครงาน โดยข้อมูลจะประกอบไปด้วย

-บ้านเลขที่

-ระบุรหัสไปรณีย์ หรือตำบล/แขวง หรือสามารถเลือกที่อยู่ตามบัตรประชาชน

9.ประวัติการทำงาน คือ สามารถระบุข้อมูลประวัติการทำงานที่ผ่านมาได้ โดยข้อมูลจะประกอบไปด้วย

-ตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำงาน

-ถึงวันที่สิ้นสุด

-ตำแหน่งงานล่าสุด

-ชื่อบริษัท และรายละเอียดการทำงานในบริษัทนั้นๆ (โดยสามารถระบุประวัติการทำงานได้มากกว่า 1 บริษัท)

10.ประวัติการศึกษา คือ ผู้สมัครสามารถระบุประวัติการศึกษาของตนเองได้มากกว่า 1 สถาบัน โดยข้อมูลจะประกอบไปด้วย

-ปีการศึกษา

-ระดับการศึกษา

-สถานศึกษา

-สาขาวิชา และ กด “บันทึก”

11.ความสามารถพิเศษ โดยทางระบบจะสามารถให้เลือกความสามารถต่างๆ แบ่งออกเป็น

-ความสามารถทางภาษา กดที่ “+” ระบุความสามารถของผู้สมัคร และกด “บันทึก”

-ความสามารถทางพิมพ์ดีด กดที่ “+” ระบุความสามารถของผู้สมัคร และกด “บันทึก”

-ความสามารถอื่นๆ กดที่ “+” ระบุความสามารถของผู้สมัคร และกด “บันทึก”

12.การขับยานพาหนะและมีใบอนุญาตขับขี่ คือ ผู้สมัครสามารถระบุความสามารถในการขับขี่รถประเภทต่างๆของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการขับรถจักรยานยนต์ และความสามารถในการขับรถยนต์หรือรถประเภทอื่นๆ

13.สามารถไปทำงานต่างจังหวัด คือ การระบุความสามารถการไปทำงานต่างจังหวัดของผู้สมัคร ว่าไปได้หรือไม่

14.เอกสาร คือ สามารถเพิ่มเอกสารอื่นๆของผู้สมัครได้ เช่น รีซูเม่

15.บุคคลที่รู้จักภายในบริษัท คือ สามารถระบุบุคคลที่รู้จักภายในบริษัทได้

16.กรุณาแนะนำตัวท่านเอง เพื่อให้บริษัทรู้จักตัวท่านดีขึ้น คือ ผู้สมัครสามารถอธิบายหรือแนะนำตัวของตนเอง เพื่อให้บริษัททราบข้อมูลของผู้สมัครได้มากยิ่งขึ้น

17.กด “ถัดไป”


การทำแบบทดสอบสมัครงาน


การทำแบบทดสอบ คือ การที่ให้ผู้สมัครทำแบบทดสอบต่างๆ ตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดโดยการทำแบบทดสอบนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทว่าจะให้ผู้สมัครงานทำแบบทดสอบหรือไม่ และแบบทดสอบที่ใช้นั้นสามารถสร้างแบบทดสอบหรือสร้างคำถามตามตำแหน่งงานที่แตกต่างกันได้ โดยขั้นตอนการทำแบบทดสอบของผู้สมัครงาน สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน ดังนี้

1.ผู้สมัครทำการตอบแบบคำถามที่ทางบริษัทกำหนดให้ เช่น คุณคิดว่าสิ่งใดที่คิดว่าตัวเองเหมาะกับงาน Operator Call Center

2.เมื่อทำการตอบคำถามครบถ้วนตามที่บริษัทกำหนดไว้แล้วให้กด “ยืนยัน”

3.กด “ยืนยัน” การบันทึกข้อมูล

4.เมื่อผู้สมัครงานตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้ในการสมัครงานเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการ “ติ๊ก” หน้าข้อความที่ ว่า “ข้าพเจ้า รับรองว่า

ข้อมูลทั้งหมดที่ระบุไว้ในใบสมัครนี้เป็นจริงทุกประการหากภายหลังที่กระบวนการจ้างเสร็จสมบูรณ์แล้วพบว่าข้อมูลในใบสมัครที่ให้ไว้เป็นความเท็จ ทางบริษัทฯมีสิทธิ์ที่จะยกเลิกสัญญาการจ้างโดยไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือค่าเสียหายใดๆทั้งสิ้น”

5.กด “ส่งใบสมัคร”

6.กด “ยืนยัน” การบันทึกข้อมูล

7.กด “ตกลง” เพื่อสำเร็จการสมัครงานในครั้งนี้และระบบจะส่งแจ้งเตือนการสมัครในครั้งนี้ไปยัง E-mail ให้กับผู้สมัครงาน

8.จะมีแจ้งเตือนสถานะ “ สมัครสำเร็จ ” และระบุวันที่ในการสมัครงานของผู้สมัครงานในครั้งนี้

ตัวอย่าง E-mail ที่ผู้สมัครได้รับ

รายชื่อผู้สมัครงาน

เมื่อทางบริษัททำการเปิดรับสมัครงานและเมื่อมีผู้ที่สนใจสมัครงานเข้ามา สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครพร้อมตรวจสอบรายละเอียดของผู้ที่สมัครงานได้ โดยสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน ดังนี้

1.เข้าไปที่ ระบบติดตามผู้สมัครเลือก “รายชื่อผู้ที่สมัคร”

2.วงกลมสถานะรายชื่อผู้สมัคร คือ จำนวนของผู้ที่สมัครงานเข้ามายังบริษัททั้งหมด เช่น 74 คน

2.1 เมื่อเลือกที่ “วงกลม” จะสามารถค้นหารายชื่อผู้สมัครงานแบบเจาะจงตามความต้องการเลือกโดยจะสามารถค้นหาจาก คำค้นหา, ตำแหน่ง, สมัครตั้งแต่วันที่-ถึงวันที่ และสถานะ

2.2 เลือก “ค้นหา” เพื่อทำการค้นหาตามข้อมูลที่ระบุไว้

3.เข้ามาที่ รายชื่อใบสมัครงาน เลือกขีดสามขีด จะสามารถเลือก “สถานะ” ที่ต้องการตรวจสอบได้ โดยสถานะจะมี

-ผู้สมัครใหม่

-นัดสัมภาษณ์

-รอพิจารณา

4.เข้ามาที่ รายชื่อใบสมัครงาน เลือกขีดสามขีด จะสามารถเลือก “ชื่อตำแหน่งงาน” ที่ต้องการตรวจสอบได้ โดยชื่อตำแหน่งงานจะมีตามตำแหน่งงานที่บริษัทเปิดรับสมัคร เช่น ตำแหน่ง Payroll, Operator Call Center

5.ชื่อตำแหน่งงาน คือ ชื่อตำแหน่งตามที่บริษัทเปิดรับสมัครงาน โดยในแต่ละตำแหน่งที่เปิดรับสมัครงานนั้นจะสามารถทราบรายชื่อของผู้ที่สนใจสมัครเข้ามา พร้อมทั้งทราบถึงสถานะของผู้สมัคร เช่น นายเอ กล้าหาญ สถานะเป็น ผู้สมัครใหม่ 10/07/2024 และสามารถเลือกที่ชื่อของผู้ที่สมัครงานเพื่อดูประวัติการกรอกข้อมูลสมัครงานได้

สารบัญเนื้อหาที่คุณสนใจ
  • การประกาศรับสมัครงาน
  • การเพิ่มประกาศรับสมัครงาน
  • การสร้างแบบทดสอบรับสมัครงาน
  • การกรอกใบสมัครงาน
  • การกรอกข้อมูลส่วนตัวสมัครงาน
  • การทำแบบทดสอบสมัครงาน
  • ตัวอย่าง E-mail ที่ผู้สมัครได้รับ
  • รายชื่อผู้สมัครงาน