PageView Facebook
คู่มือการใช้งานโปรแกรม

ให้คุณได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบ

การตั้งค่าประเภทการลา

  การตั้งค่าประเภทการลา เป็นการค่าเงื่อนไขในการลาแต่ละประเภทสำหรับพนักงานในบริษัท ซึ่งเงื่อนไขการลาแต่ละประเภทนั้นจะมีเงื่อนไขในการลาไม่เหมือนกัน หรือเงื่อนไขในการได้รับสิทธิการลาหรือโควต้าการลา ที่แตกต่างกันของพนักงานแต่ละประเภท  อีกทั้งสามารถกำหนดการตั้งค่าเงื่อนไขให้มีความสอดคล้องกับนโยบายของแต่บริษัทได้


การตั้งค่าประเภทการลา

โดยการตั้งค่าประเภทการลา สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.เข้าสู่เมนูตั้งค่า

2.เลือกที่เมนู “ตั้งค่าการคำนวณ” แล้วเลือก “ตั้งค่าประเภทการลา”

3.เลือกสัญลักษณ์ “รูปดินสอ” เพื่อแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการลาตามประเภทที่ระบบ HumanSoft ตั้งค่าเริ่มต้นไว้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายบริษัท




การเพิ่มประเภทการลา

การเพิ่มประเภทการลา สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.การเพิ่มประเภทการลา ให้เลือกเปลี่ยนสถานะจากปิดเป็น “เปิด” ในประเภทการลาที่ถูกปิดใช้งานอยู่ และทำการเลือก “บันทึก”

2.ทำการตั้งค่าเงื่อนไขในการลาต่างๆ โดยข้อมูลที่ต้องระบุจะประกอบไปด้วย

  • ชื่อการลา/ชื่อการลา (Eng)

จะเป็นการกำหนดชื่อการลาของประเภทนี้ขึ้นมาเพื่อให้แสดงบนระบบและแอปพลิเคชันของพนักงาน ส่วนชื่อภาษาอังกฤษจะแสดงต่อเมื่อทำการเปลี่ยนภาษาที่โปรแกรมหรือแอปพลิเคชันเป็นภาษาอังกฤษ


  • กำหนดลาล่วงหน้า (วัน)

เป็นการกำหนดว่า หากต้องการขอลางานประเภทนี้จะต้องขอลาล่วงหน้ากี่วัน หากใส่เป็น 0 พนักงานจะสามารถขอเอกสารเข้ามาได้เลย


  • กำหนดลาย้อนหลัง (วัน)

เป็นการกำหนดว่า หากต้องการขอลางานประเภทนี้จะสามารถลางานย้อนหลังได้กี่วัน หากใส่เป็น 0 พนักงานจะสามารถขอเอกสารลางานย้อนหลังมาได้ตลอด


  • จำนวนปีสะสม (ปี)

จะเป็นการสะสมโควต้าการลาหากมีโควต้าการลาคงเหลือจะสามารถนำไปสะสมในปีถัดไปได้เช่น หากใส่ 1 ปี โควตาคงเหลือในปีปัจจุบันจะไม่ถูกนำไปสะสมในปีถัดไป หากต้องการให้สะสมโควตาคงเหลือจะต้องใส่ 2 ปีขึ้นไป


  • จำนวนวันที่สามารถลาติดต่อกันได้สูงสุด (วัน)

เป็นการกำหนดว่า การลาประเภทนี้สามารถลาติดต่อกันสุดได้กี่วัน ในการลา 1 ครั้ง


  • นับลาเฉพาะวันทำงาน

สถานะ Y การนับลางานจะถูกนับรวมวันหยุดไปด้วย

สถานะ N การนับลางานจะนับลาเฉพาะวันทำงาน


  • ห้ามลาเกินโควตา

สถานะ Y หากพนักงานใช้โควตาครบตามที่ได้รับจะไม่สามารถขอการลาเข้ามาได้

สถานะ N พนักงานจะสามารถขอการลาเกินโควต้าที่พนักงานได้รับได้


  • สะสมวันหยุด

กรณีที่พนักงานลาคร่อมวันหยุด จะให้นำวันหยุดไปตัดโควตาหรือไม่ เช่น วันหยุดของพนักงานคือวันอาทิตย์

หากเลือกสถานะ Y และพนักงานขอลา ในวันเสาร์, วันอาทิตย์ และวันจันทร์ ระบบจะคำนวณโควตาการลา = 3 วัน

หากเลือกสถานะ N และพนักงานขอลา ในวันเสาร์, วันอาทิตย์ และวันจันทร์ ระบบจะคำนวณโควตาการลา = 2 วัน


  • คำนวณถึงวันปัจจุบัน

สถานะ Y เป็นการเปิดนับคำนวณถึงวันปัจจุบัน เช่น ลาพักร้อนถ้าหากสถานะเป็น Y ระบบจะนับสิทธิวันลาจนถึงวันทำงานปัจจุบันว่าได้รับสิทธิกี่วัน

สถานะ N เป็นการปิดนับคำนวณถึงวันปัจจุบัน


  • คำนวณถึงวันที่ลาออก

สถานะ Y เป็นการเปิดนับคำนวณถึงวันที่ลาออก เช่น ลาพักร้อนถ้าหากสถานะเป็น Y ระบบจะนับสิทธิวันลาจนถึงวันที่ลาออกว่าได้รับสิทธิกี่วัน

สถานะ N เป็นการปิดนับคำนวณถึงวันที่ลาออก


  • การปัดเศษชั่วโมง

เช่น พนักงานลางานไป 2 ชั่วโมง 15 นาที (ชั่วโมงการทำงาน 8 ชม./วัน)

-ไม่ปัดเศษ ชั่วโมงลาจะเท่ากับ 2 ชั่วโมง 15 นาที

-ปัดให้เต็มครึ่งชั่วโมง ชั่วโมงลาจะเท่ากับ 2 ชั่วโมง 30 นาที

-ปัดให้ครึ่งวัน/ เต็มวัน ชั่วโมงลาจะเท่ากับ 4 ชั่วโมง

-ปัดให้เต็มชั่วโมง ชั่วโมงลาจะเท่ากับ 3 ชั่วโมง


  • เพศ

เช่น ลาคลอดได้เฉพาะเพศหญิง / ลาเกณฑ์ทหารได้เฉพาะเพศชาย


  • นับอายุงานจากวันที่...

วันที่เริ่มงาน คือ ให้ระบบเริ่มคำนวณโควตาให้กับพนักงาน โดยนับจากวันที่เริ่มงานของพนักงาน

วันที่บรรจุ คือ พนักงานจะต้องทำงานถึงวันที่บรรจุที่กำหนดไว้ถึงจะได้รับโควตาการลา


  • เฉลี่ยโควตา

สามารถเลือกได้ 3 ประเภทคือ ไม่เฉลี่ย, เฉลี่ยในไตรมาสและเฉลี่ยในปี สามารถดูวิธีการเฉลี่ยโควตาและการคำนวณแต่ประเภทที่ได้ที่นี่


  • ปัดเศษจำนวนเงิน

ปัดเศษ เป็นการปัดเศษจำนวนเงินในวันลางานนั้นๆ

ไม่ปัดเศษ ไม่ปัดเศษจำนวนเงินในวันลางานนั้นๆ


  • การแสดงผลโควต้า

จะเป็นการแสดงผลที่เมนูจัดการโควตาการลา วันจะให้แสดงเป็น วัน หรือ ชั่วโมง ของการลานั้นๆ


  • วิธีการคำนวณโควตาการลา

จะเป็นการเลือกวิธีการคำนวณโควตาการลา โดยมีให้เลือกตามการตั้งค่าที่ได้ดำเนินการเลือกไว้ และ สูตรการคำนวณพิเศษที่ต้องทำการเขียนสูตร Code การคำนวณ

การกำหนดโควตาการลา ที่พนักงานจะได้รับ

ส่วนต่อมาหลังจากที่ทำการตั้งค่าประเภทการลาแล้ว จะเป็นการตั้งค่าการหักหรือปรับเงิน รวมทั้งการกำหนดโควตาต่อปีให้กับพนักงานแต่ละประเภท ซึ่งจะมีพนักงาน 3 ประเภท คือ พนักงานประจำ พนักงานรายวัน และพนักงานเหมาจ่าย โดยจะมีขั้นตอนดังนี้


1.พนักงานรายเดือน, พนักงานรายวัน, พนักงานเหมาจ่าย

เลือกประเภทพนักงานที่ต้องการทำการกำหนดโควตาการลา


2.ค่าปรับ

เช่น กรณีพนักงานลาแบบไม่ได้รับค่าจ้างต้องใส่เรทค่าปรับไว้เพื่อนำไปหักออกจากค่าจ้างรายเดือนโดยคิดเป็นจำนวนเท่าของค่าแรงต่อวัน


3.นำไปคำนวณกับภาษี, ประกันสังคม หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เช่น ระบบจะนำเอาค่าจ้างที่ถูกหักไปหักออกจากยอดเงินที่จะนำไปคำนวณประกันสังคมหรือภาษี ตามที่ได้เลือกไว้


4.ตัดโควตาจากวันหยุดพิเศษ

เช่น กรณีพนักงานลาแบบไม่ได้รับค่าจ้าง ต้องใส่เรทค่าปรับไว้เพื่อนำไปหักออกจากโควต้าวันหยุดพิเศษโดยคิดเป็นจำนวนเท่าค่าแรงรายวันของพนักงาน

*หมายเหตุ : หากเลือกใช้เงื่อนไขนี้จะไม่สามารถใช้เงื่อนไขค่าปรับได้ สามารถดูการตั้งค่าการตั้งค่าวันหยุดพิเศษที่นี่

5.เพิ่มโควต้า

เป็นการเพิ่มโควต้า สำหรับทำการกำหนดระยะเวลาการทำงานและโควต้าวันลางาน


6.การตั้งค่าระยะเวลาการทำงาน(เดือน) ที่ได้รับโควตาและโควต้าที่ได้รับของพนักงานต่อปี

เช่น วันที่เริ่มงานของพนักงาน คือ 01/08/2023 โดยเลือกการตั้งค่าเป็น นับอายุงานจากวันที่เริ่มงาน ตั้งค่าระยะเวลาทำงาน 0 เดือน พนักงานจะได้รับโควตา 10 วัน/ปี พนักงานจะได้รับโควต้าการลาในปีนี้เท่ากับ 4 วัน เนื่องจากมีการตั้งค่าให้เฉลี่ยโควตาในปี

7.“บันทึก” เพื่อทำการยืนยันข้อมูล


สรุปได้ว่า การตั้งค่าประเภทการลาแต่ละประเภทเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการขอเอกสารการลาของพนักงาน ซึ่งจะต้องทำการตั้งค่าเงื่อนไขของประเภทการลา และกำหนดโควต้าการให้กับพนักงานให้เรียบร้อยก่อนที่จะให้พนักงานขอเอกสารการลาเข้ามาในระบบ เพราะการตั้งค่าเงื่อนไขต่าง ๆ มีผลต่อการคำนวณ ชั่วโมงการลางาน การได้รับเงินหรือการหักเงินของพนักงาน อีกทั้งยังสามารถตั้งค่าเงื่อนไขประเภทการลาให้ตัดโควต้าจากการสะสมวันหยุดพิเศษไว้อีกด้วย

*หมายเหตุ : หากมีการแก้ไขเงื่อนไขการตั้งค่าต่าง ๆ ของแต่ละประเภทการลาจะต้องทำการกด คืนค่าตั้งต้น ของการลาประเภทนั้นด้วยที่เมนูจัดการโควตาการลาด้วย

สารบัญเนื้อหาที่คุณสนใจ
  • การตั้งค่าประเภทการลา
  • การเพิ่มประเภทการลา
  • การกำหนดโควตาการลา ที่พนักงานจะได้รับ