PageView Facebook
คู่มือการใช้งานโปรแกรม

ให้คุณได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบ

การนำเข้าข้อมูลพนักงาน

การนำเข้าข้อมูลพนักงาน ใช้ในการนำเข้าข้อมูลเพื่อเพิ่มพนักงานเข้าสู่ระบบ HumanSoft กรณีมีพนักงานจำนวนมากที่ต้องการจะเพิ่มเข้าสู่ระบบ หรือนำเข้าเพื่ออัพเดทข้อมูลพนักงานเดิมที่มีอยู่แล้วในระบบ



วิธีการนำเข้าข้อมูลพนักงานเพื่อเพิ่มข้อมูลเข้าระบบของ HumanSoft 

การนำเข้าข้อมูลพนักงาน สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนการดาวน์โหลดไฟล์เทมเพลทการนำเข้าข้อมูล และการนำเข้าไฟล์ข้อมูลพนักงาน โดยสามารถดำเนินการได้ดังนี้


ขั้นตอนการดาวน์โหลดเทมเพลท “นำเข้าข้อมูลพนักงาน”

การดาวน์โหลดเทมเพลท “นำเข้าข้อมูลพนักงาน” สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนดังนี้

1.เข้าสู่เมนูข้อมูลองค์กร

2.ไปที่เมนู “ข้อมูลพนักงาน”

3.เมื่อเข้าสู่หน้าข้อมูลพนักงาน ให้ไปที่เมนูย่อยและเลือก “นำเข้าข้อมูลพนักงาน”

4.หลังจากนั้นเลือก “เทมเพลทเปล่า” เพื่อนำไฟล์มากรอกข้อมูลพนักงาน




ข้อควรทราบ และข้อควรระวังในการกรอกข้อมูลในไฟล์ Excel สำหรับการนำเข้าข้อมูลพนักงาน

การนำเข้าข้อมูลข้อมูลพนักงาน สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนการดาวน์โหลดเทมเพลทรายชื่อพนักงาน และการนำเข้าไฟล์ข้อมูล ดังนี้

1.ข้อมูลที่จำเป็นต้องกรอกใน Template นำเข้าข้อมูลพนักงาน จะประกอบไปด้วยข้อมูลแถบสีแดง ดังนี้

  • ลำดับ
  • รหัสพนักงาน
  • คำนำหน้า
  • ชื่อจริง – นามสกุล
  • เลขประจำตัวประชาชน
  • ประเภทพนักงาน, ประเภทกลุ่มพนักงาน, รอบการคำนวณเงินเดือน
  • แผนก และตำแหน่ง

2.แถบข้อมูลสีเทาทั้งคอลัมน์ คือ ข้อมูลที่ห้ามลบ - แก้ไข เป็นข้อมูลที่มีการเขียนสูตรคำสั่งการดึงข้อมูลและแปลงข้อมูล ได้แก่

  • sso_start_month (เดือนที่เริ่มคำนวณประกันสังคม)
  • birth_dt (วันเกิด)
  • effective_dt (วันที่เริ่มงาน)
  • begin_dt (วันที่บรรจุ)
  • tax_start_month (เดือนที่เริ่มคำนวณภาษี)
  • signout_dt (เดือนที่ลาออก)

3.ลำดับ หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ ผลกระทบ คือนำเข้าข้อมูลไปแล้ว แต่ข้อมูลไม่เข้าสู่ระบบ หากกรอกผิดรูปแบบ เช่น ลำดับ 1 ทั้งคอลัมน์ ยังสามารถนำเข้าข้อมูลได้ปกติ ขอเพียงมีข้อมูลในคอลัมน์นี้

4.รหัสพนักงาน หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ ผลกระทบ คือระบบจะ Generate รหัสพนักงานขึ้นมาให้หลังจากนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ หากกรอกผิดรูปแบบ เช่น รหัสพนักงานซ้ำ นาย A รหัสพนักงาน 65001 นาย B รหัสพนักงาน 65001 หากนำเข้าข้อมูลจะเป็นการอัพเดทข้อมูลพนักงานโดยยึดข้อมูลล่าสุด (แถวท้ายสุด) เป็นข้อมูลหลักในการอัพเดท

5.คำนำหน้าชื่อ หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ จะสามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ แต่ข้อมูลจะแสดงเป็น “นางสาว” เนื่องจากเป็นค่าตั้งต้นของระบบ หากกรอกผิดรูปแบบ และให้เลือกข้อมูลจาก Drop-down List โดยมีให้เลือกดังนี้

  • นาย
  • นาง
  • นางสาว

6.ชื่อจริง, นามสกุล หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ จะสามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ โดยไปเพิ่มภายหลังในระบบได้ หากกรอกผิดรูปแบบ กรอกอักษรพิเศษ, ตัวเลข, ภาษาอังกฤษ หรือสัญลักษณ์ สามารถนำเข้าได้ปกติ

7.รหัสลายนิ้วมือ หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ ผลกระทบ ถ้าหากกรอกข้อมูลไม่ถูกต้อง จะส่งผลกับการนำเข้าเวลาหรือลงเวลาจากเครื่องสแกนลายนิ้วมือ เช่น รหัสลายนิ้วมือที่นำเข้าคือ HMS230009 แต่รหัสในเครื่องสแกนลายนิ้วมือ คือ 1009 จะทำให้ข้อมูลเวลาไม่เข้าเครื่อง

8.ต่างชาติ หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ ผลกระทบ คือหากกรอกข้อมูลผิดระบบจะแสดงข้อมูลเป็นสัญชาติ “ไทย” ในการกรอกข้อมูล “ต่างชาติ” จะต้องกรอกเป็น

  • Y = ต่างชาติ ,
  • N = สัญญาติไทย

หมายเหตุ : หากกรอกข้อมูลเป็นชื่อสัญญาติ เช่น ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย หรือไม่กรอกข้อมูลระบบจะนำเข้าเป็นสัญชาติ “ไทย” ที่เป็นค่าตั้งต้นของระบบ

9.สัญชาติ หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ ผลกระทบ คือหากกรอกข้อมูลผิดระบบจะแสดงข้อมูลเป็นสัญชาติ “TH” ที่เป็นค่าตั้งต้นของระบบ และถ้าหากพนักงานมีสัญชาติอื่น ให้ระบุเป็นชื่อย่อของสัญชาตินั้นๆ

10.เลขบัตรประจำตัวประชาชน หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ โดยไปเพิ่มภายหลังในระบบได้ ผลกระทบ คือถ้าหากกรอกผิดรูปแบบ เช่น ตั้งค่ารูปแบบเป็นตัวเลข หรือสกุลเงิน หลังจากนำข้อมูลเข้าสู่ระบบจะมี $ หรือ ฿ ขึ้นนำหน้าข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชน รูปแบบที่แนะนำคือ เศษส่วน หากเลขบัตรประจำตัวประชาชนที่นำเข้าซ้ำ หากนำเข้าข้อมูลจะเป็นการอัพเดทข้อมูลพนักงานโดยยึดข้อมูลล่าสุด (แถวท้ายสุด) เป็นข้อมูลหลักในการอัพเดท

11.เลขประจำตัวประกันสังคม หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติโดยไปเพิ่มภายหลังในระบบได้

12.เดือนที่เริ่มคำนวณประกันสังคม หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติโดยสามารถไปเพิ่มภายหลังได้

13.ประเภทพนักงาน - ประเภทกลุ่มพนักงาน หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้หรือกรอกไม่ครบ

สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ แต่ข้อมูลประเภทพนักงานจะไม่ขึ้นแสดงจะต้องไปเลือกจากในระบบอีกทีและหากกรอกผิดรูปแบบข้อมูลประเภทจะไม่ถูกเลือก โดยประเภทพนักงานให้เลือกข้อมูลจาก Drop-down List โดยมีให้เลือกดังนี้

  • 01-พนักงานรายเดือน
  • 02-พนักงานรายวัน
  • 03-พนักงานพาร์ทไทม์
  • 04-พนักงานเหมาจ่าย

14.รอบการคำนวณเงินเดือน หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติโดยสามารถไปเพิ่มภายหลังได้ โดยประเภทพนักงานให้เลือกข้อมูลจาก Drop-down List โดยมีให้เลือกดังนี้

  • Full-เต็มเดือน
  • Split-แบ่งงวดจ่าย

15.ชื่อเล่น, First Name, Last Name, Nick name, เบอร์โทร, Email หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติโดยไปเพิ่มภายหลังในระบบได้ แต่ถ้าหากกรอกผิดรูปแบบกรอกอักษรพิเศษ, ตัวเลข, ภาษาอังกฤษ หรือสัญลักษณ์ สามารถนำเข้าได้ปกติ

16.วันเกิด, วันที่เริ่มงาน, วันที่บรรจุ, วันที่ลาออก (! ! ! ห้ามแก้ไข-ลบ ช่องคอลัมน์สีเทา ! ! !) รูปแบบที่ถูกต้องคือ YYYY-MM-DD, DD-MM-YYYY สามารถกรอกได้ทั้งปี พ.ศ. และ ค.ศ. ระบบจะแปลงให้เอง หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ โดยไปเพิ่มภายหลังในระบบได้ หากกรอกผิดรูปแบบ เช่น 19 มีนาคม 2025 หากพิมพ์ข้อมูลเดือนไม่ถูกต้องระบบจะแปลงค่าไม่ได้ หากพิมพ์ 19 มีนาคม 2025 คอลัมน์ข้อมูลจะแปลงค่าเป็น 2025-06-19 ให้ทันที 

17.เดือนที่เริ่มคำนวณภาษี รูปแบบที่ถูกต้อง YYYY-MM กรอกแค่ปี ค.ศ. กับ เดือน เช่น 2025-03 หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ โดยไปเพิ่มข้อมูลภายหลังในระบบได้ หากมีการระบุวันที่เริ่มงาน เดือนที่เริ่มคำนวณภาษีจะนำข้อมูลเดือนและปีที่เริ่มงานมาแสดง

18.สถานะลาออก หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ โดยประเภทพนักงานให้เลือกข้อมูลจาก Drop-down List โดยมีให้เลือกดังนี้

  • N-ยังทำงานอยู่
  • Y-ลาออกไปแล้ว

19.วันที่ลาออก, เหตุผลการลาออก กรอกหรือไม่กรอกก็ได้ไม่ส่งผลอะไรต่อการนำเข้าข้อมูล

20.เงินเดือน, วงเงินเบิกล่วงหน้า หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ ค่าจ้างจะขึ้นเป็น 0 โดยสามารถเข้ามาแก้ไขภายหลังได้ หากกรอกผิดรูปแบบ เช่น $325 ข้อมูลค่าจ้างจะขึ้นเป็น 0 เนื่องจากรูปแบบข้อมูลไม่ถูกต้อง แต่หากระบุเป็น 325$, 325บาท/วัน ข้อมูลค่าจ้างจะขึ้นเป็น 325 เนื่องจากข้อมูลเงินเดือนจะนำเข้าเพียงแค่ตัวเลขเท่านั้นกรณีหากมีตัวอักษรหรืออักขระพิเศษนำหน้าข้อมูลตัวเลข ข้อมูลจะกลายเป็น 0

21.ช่องทางการชำระเงิน หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ โดยประเภทพนักงานให้เลือกข้อมูลจาก Drop-down List โดยมีให้เลือกดังนี้

  • 0-เงินสด
  • 1-โอน

22.บัญชีบริษัทนำจ่าย หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ โดยสามารถเลือกในระบบภายหลังได้ หากกรอกผิดรูปแบบ เช่น กรอกรหัสบัญชีบริษัทนำจ่ายไม่ถูก ข้อมูลบัญชีบริษัทนำจ่าย จะไม่ถูกนำเข้า โดยแนะนำให้เป็นการเลือกข้อมูลจาก Drop-down เท่านั้นเพื่อป้องกันข้อมูลผิดพลาด

23.ธนาคาร หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ โดยไปเพิ่มภายหลังในระบบได้ ข้อมูลธนาคารจะขึ้นเป็นค่าว่าง หากกรอกผิดรูปแบบ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติไปเพิ่มภายหลังในระบบได้ ข้อมูลธนาคารจะขึ้นเป็นค่าว่าง ถ้าหากใส่ข้อมูลโดยแนะนำให้เป็นการเลือกข้อมูลจาก Drop-down เท่านั้นเพื่อป้องกันข้อมูลผิดพลาด

24.รหัสสาขา, เลขที่บัญชี หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ โดยสามารถเข้ามากรอกข้อมูลภายหลังได้ หากกรอกผิดรูปแบบ เช่น กรอกตัวอักษรหรือพยัญชนะลงไป หากเป็น “รหัสสาขา” สามารถนำเข้าได้ปกติไม่พบปัญหา แต่หากเป็น “เลขที่บัญชี” แนะนำให้กรอกตัวเลขเท่านั้น เนื่องจากหากมีการกรอกพยัญชนะลงในจะส่งผลให้ไม่สามารถเปิดข้อมูลพนักงานท่านนี้ได้

25.ที่อยู่ตามบัตร, แขวง/ตำบล, เขต/อำเภอ, จังหวัด หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ โดยไปเพิ่มภายหลังในระบบได้

26.ที่อยู่ปัจจุบัน, แขวง/ตำบล, เขต/อำเภอ, จังหวัด หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้ตามปกติ โดยไปเพิ่มภายหลังในระบบได้

27.แผนก, ฝ่ายงาน, หน่วยงาน

  • รูปแบบการนำเข้าที่ถูกต้องคือ กรอกเป็นรหัสแผนก ฝ่าย หน่วยงาน ที่ได้สร้างไว้ในโครงสร้างองค์กร ดังภาพ
  • ข้อห้าม  ห้ามกรอกรหัสแผนกด้วยตัวอักษรพิเศษ เช่น BA-004 ระบบจะดึงข้อมูลแค่ BA ค่าหลัง “-” จะไม่ถูกอ่าน สามารถกรอกเป็น _ หรือ . แทนได้ ตัวอย่างเช่น แผนก BA-004-แผนก IT ข้อมูลจะนำเข้าแค่ BA

  • หลักการนำเข้าข้อมูลในส่วนของแผนก จะนำเข้าข้อมูลจาก หน่วยงาน > ฝ่ายงาน > แผนก ไล่ลำดับตามนี้ ยกตัวอย่าง หากต้องการนำเข้าข้อมูลในส่วนของ ฝ่ายงาน ให้กรอกข้อมูลรหัสในช่องฝ่ายงานช่องเดียว ดังรูปภาพด้านล่าง

  • หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ สามารถนำเข้าข้อมูลได้แต่ ! หลังจากนำเข้าแล้วข้อมูลพนักงานจะตกอยู่ในหน้านำเข้าข้อมูลพนักงานและอยู่ในขั้นตอนการรอกำหนดหน่วยงาน หากไม่กำหนดหน่วยงานให้พนักงาน ข้อมูลจะไม่เข้าสู่ระบบ


หมายเหตุ: 

  • หากเป็นการอัพเดทข้อมูลที่มีข้อมูลพนักงานในระบบอยู่แล้ว หากปล่อยเว้นว่างไว้จะเป็นการอ้างอิง แผนก, ฝ่าย, หน่วยงานเดิมของพนักงาน
  • หากกรอกผิดรูปแบบ เช่น กรอกเป็นชื่อแผนกไปเลย ไม่ได้กรอกรหัสแผนก ฝ่าย หน่วยงานสามารถนำเข้าข้อมูลได้แต่! หลังจากนำเข้าแล้วข้อมูลพนักงานจะตกอยู่ในหน้านำเข้าข้อมูลพนักงานและอยู่ในขั้นตอนการรอกำหนดหน่วยงาน เนื่องจากการนำเข้าจะตรวจจับจากรหัสของแผนก ฝ่าย และหน่วยงาน

  • หลังจากทำการนำเข้าข้อมูลพนักงานเมื่อไม่กรอกแผนกและตำแหน่งหรือกรอกข้อมูลผิดพลาด ข้อมูลจะตกหล่นอยู่ในเมนู “ข้อมูลพนักงาน” ที่หน้าเมนูย่อย “นำเข้าข้อมูลพนักงาน” ซึ่งสถานะจะอยู่ในขั้นตอนรอการกำหนด “หน่วยงาน”

28.ตำแหน่งงาน

  • รูปแบบการนำเข้าที่ถูกต้องคือ กรอกเป็นรหัสตำแหน่ง ที่ได้สร้างไว้ใน โครงสร้างตำแหน่ง ดังรูปด้านล่างภาพ
  • ข้อห้าม! ห้ามกรอกรหัสตำแหน่งด้วยตัวอักษรพิเศษ – (เครื่องหมายลบ) เช่น HO-001 ระบบจะดึงข้อมูลแค่ HOค่าหลัง “-” จะไม่ถูกอ่าน

  • หากไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ หรือ ไม่กรอกข้อมูลในคอลัมน์นี้ ผลกระทบแบบเดียวกันกับการนำเข้า แผนก ฝ่าย หน่วยงาน คือจะตกอยู่ในหน้านำเข้าข้อมูลพนักงาน รอการกำหนดตำแหน่งงาน ดังรูปภาพด้านล่าง

  • หลังจากทำการนำเข้าข้อมูลพนักงานเมื่อไม่กรอกแผนกและตำแหน่งหรือกรอกข้อมูลผิดพลาด ข้อมูลจะตกหล่นอยู่ในเมนู “ข้อมูลพนักงาน” ที่หน้าเมนูย่อย “นำเข้าข้อมูลพนักงาน” ซึ่งสถานะจะอยู่ในขั้นตอนรอการกำหนด “ตำแหน่ง”

วิธีการนำเข้าข้อมูลพนักงานเพื่ออัพเดทข้อมูลเดิม

การนำเข้าข้อมูลพนักงานเพื่ออัพเดทข้อมูลพนักงานจะมีการอ้างอิงจากข้อมูลจาก 2 ส่วนดังนี้

1. รหัสพนักงาน

  • ในการอัพเดทข้อมูลพนักงาน ข้อมูลรหัสพนักงานจะเป็นเพียงข้อมูลเดียวที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงจากการนำเข้าเพื่ออัพเดทได้เนื่องจากเป็น ข้อมูลหลักในการอ้างอิงข้อมูลในการนำเข้า โดยในขั้นตอนการดาวน์โหลดข้อมูลพนักงานมาแก้ไขเพื่ออัพเดทข้อมูลสามารถดำเนินการได้ดังนี้

1.เข้าสู่เมนูข้อมูลองค์กร

2.ไปที่เมนู “ข้อมูลพนักงาน”

3.เมื่อเข้าสู่หน้าข้อมูลพนักงาน ให้ไปที่เมนูย่อยและเลือก “นำเข้าข้อมูลพนักงาน”

4.หลังจากนั้นเลือก “เทมเพลทมีรายชื่อพนักงาน” เพื่อดาวน์โหลดเทมเพลทที่ใช้นำเข้าข้อมูล จะได้รับเป็นไฟล์ .xlsx(Excel)



  • กรณีที่ต้องการอัพเดทข้อมูลพนักงาน หรือ เปลี่ยนแปลงข้อมูลพนักงาน หลักการ คือ ให้กรอกรหัสพนักงานที่ต้องการแก้ไขในไฟล์ Template Excel หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขข้อมูลส่วนไหนให้กรอกเข้าไปได้ตามความต้องการดังรูปภาพด้านล่าง

  • กรณีที่มีข้อมูลพนักงานซ้ำกัน 2 คน ดังรูปภาพด้านล่าง ข้อมูลที่นำเข้าจะเป็นของพนักงาน “นำเข้า ลำดับ 2” เนื่องจากการอัพเดทข้อมูลพนักงานจะอิงจากข้อมูลแถวล่าสุดในการอัพเดท

2. เลขบัตรประจำตัวประชาชน

  • ในการอัพเดทข้อมูลพนักงาน ข้อมูลเลขประจำตัวประชาชนจะเป็น ข้อมูลอ้างอิงรองลงมาจากรหัสพนักงาน ในการอัพเดทข้อมูลพนักงาน
  • หลักการอัพเดทข้อมูลจากเลขบัตรประจำตัวประชาชนในการนำเข้า คือ ระบบจะนำข้อมูลเลขบัตรประชาชนที่นำเข้าไปตรวจสอบกับข้อมูลที่มีในระบบ หากเลขบัตรประชาชนตรงกัน ก็จะเป็นการอัพเดทข้อมูลใหม่ที่นำเข้าไปในระบบ ไปอัพเดทกับข้อมูลพนักงานก่อนหน้าที่เลขบัตรประชาชนตรงกัน
  • กรณีที่มีข้อมูลพนักงานซ้ำกัน 2 คน ดังรูปภาพ ข้อมูลที่นำเข้าจะเป็นของพนักงาน “นำเข้า ลำดับ2” เนื่องจากการอัพเดทข้อมูลพนักงานจะอิงจากข้อมูลแถวล่าสุดในการอัพเดท

วิธีการนำเข้าไฟล์ข้อมูลพนักงาน

หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อยสามารถทำการนำเข้าข้อมูลพนักงานได้ดังนี้

1.เข้าสู่เมนูข้อมูลองค์กร

2.ไปที่เมนู “ข้อมูลพนักงาน”

3.เมื่อเข้าสู่หน้าข้อมูลพนักงาน ให้ไปที่เมนูย่อยและเลือก “นำเข้าข้อมูลพนักงาน”

4.หลังจากนั้นเลือก “เลือกไฟล์” เพื่อนำเข้าข้อมูลพนักงานจากเทมเพลท



5.เมื่อนำเข้าข้อมูลพนักงานเรียบร้อย หน้าจอจะแสดงหน้าต่างการนำเข้าข้อมูลพนักงาน สัญลักษณ์รูป “ดินสอ” จะสามารถแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาด ก่อนการนำเข้าข้อมูลพนักงานเข้าสู่ระบบได้

6.เลือก “นำเข้าข้อมูลครบ...รายการ” เพื่อนำเข้าข้อมูลพนักงานเข้าสู่ระบบ

7.เมื่อดำเนินการอัพโหลดไฟล์เรียบร้อยแล้ว จะสามารถตรวจสอบประวัติการนำเข้าข้อมูลได้

8.และเมื่ออัพโหลดไฟล์เรียบร้อยแล้ว ข้อมูลพนักงาน จะสามารถตรวจสอบได้ในหน้าข้อมูลองค์กร และเลือกไปที่ “ข้อมูลพนักงาน” ดังรูปภาพด้านล่าง

คู่มือการใช้งานที่เกี่ยวข้อง
สารบัญเนื้อหาที่คุณสนใจ
  • การนำเข้าข้อมูลพนักงาน
  • วิธีการนำเข้าข้อมูลพนักงานเพื่อเพิ่มข้อมูลเข้าระบบของ HumanSoft 
  • ขั้นตอนการดาวน์โหลดเทมเพลท “นำเข้าข้อมูลพนักงาน”
  • ข้อควรทราบ และข้อควรระวังในการกรอกข้อมูลในไฟล์ Excel สำหรับการนำเข้าข้อมูลพนักงาน
  • วิธีการนำเข้าข้อมูลพนักงานเพื่ออัพเดทข้อมูล
  • วิธีการนำเข้าไฟล์ข้อมูลพนักงาน