การคำนวณ และการทำจ่ายประกันสังคม
ประกันสังคม เป็นการส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมซึ่งเป็นการเก็บออมเงินในอีกรูปแบบหนึ่งและให้สิทธิประโยชน์หลายด้านแก่ผู้ที่ส่งเงินสมทบหรือเราเรียกกันว่า “ผู้ประกันตน” ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้ที่ทำงานมีรายได้ประจำเท่านั้น แต่ผู้มีรายได้อื่น ๆ ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนกับทางประกันสังคมได้เช่นกัน
ความหมายของประกันสังคมแต่ละประเภท
• ไม่คิดประกันสังคม คือ ไม่ต้องการให้พนักงานคนดังกล่าวคิดประกันสังคม
• คิดคงที่ทุกเดือน คือ การกำหนดฐานเงินเดือนในการคิดประกันสังคม เช่น หากต้องการให้พนักงานถูกหักประกันสังคม 600 บาท ในอัตรา 5% จะต้องใส่ค่าคงที่ของประกันสังคม 12,000 บาท
• คิดตามฐานเงินเดือนจริงที่ได้รับ คือ การคิดประกันสังคมจากฐานเงินเดือนที่พนักงานได้รับ ณ เดือนนั้น ๆ
• คิดตามมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานและเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน แล้วออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม ซึ่งนำส่งเงินสมทบเท่ากับ 432 บาท/เดือน หากพนักงานคนไหนคำนวณประกันสังคมในมาตราดังกล่าว จะไม่สามารถตรวจสอบรายชื่อในรายงานประกันสังคมได้
การตั้งค่าข้อมูลพนักงานคิดประกันสังคม
การตั้งค่าข้อมูลพนักงานคิดประกันสังคม สามารถกำหนดได้ 2 วิธี ดังนี้
1. กำหนดที่ข้อมูลพนักงาน
เป็นการตั้งค่ารายบุคคล โดยสามารถเข้าไปที่เมนูข้อมูลองค์กร จากนั้นเลือกที่ เมนูข้อมูลพนักงาน
เมื่อเลือกรายชื่อพนักงานที่ต้องการได้แล้ว ให้มาที่ช่องประกันสังคม และเลือกวิธีการคำนวณประกันสังคมให้กับพนักงานได้เลย สุดท้ายมากดบันทึกด้านล่าง เป็นอันเสร็จ
2. กำหนดที่เมนูย่อย
จะสามารถกำหนดให้พนักงานได้หลายคน โดยสามารถเข้าไปที่ เมนูข้อมูลองค์กร จากนั้นเลือกที่เมนูข้อมูลพนักงาน และเมนูย่อย "ข้อมูลเงินเดือน" เลือกประเภทการคิดประกันสังคมที่ต้องการให้กับพนักงาน และกดบันทึกได้เลย
การคำนวณประกันสังคม
วิธีการคำนวณประกันสังคม มี 4 รูปแบบดังนี้
1.คิดคงที่ทุกเดือน คือ การกำหนดยอดประกันสังคมได้เอง
1.1 ยกตัวอย่างพนักงานงวดเต็ม
พนักงานฐานเงินเดือน 15,000 บาท แต่ต้องการหักประกันสังคมจากพนักงานเพียง = 600 บาท/เดือน
ค่าคงที่ของประกันสังคม ที่ต้องใส่ = 12,000 บาท
วิธีการคำนวณ
เงินเดือนในรอบเดือนนั้น ๆ 18,000 บาท แต่ระบบนำยอดจากการตั้งค่าคงที่มาคำนวนดังนี้ 12,000 x 5% = 600 บาท
1.2 ยกตัวอย่างพนักงานงวดแบ่งงวดจ่าย
พนักงานฐานเงินเดือน 15,000 บาท แต่ต้องการหักประกันสังคมจากพนักงานเพียง 600 บาท/เดือน
ค่าคงที่ของประกันสังคม ที่ต้องกรอก = 12,000 บาท
วิธีการคำนวณ
จะคำนวณจากค่าคงที่ในงวดเต็ม 600 บาท/เดือน แล้วนำไปหารกับจำนวนงวด เช่น แบ่งงวดจ่าย 2 งวด
จะได้ 600 ÷ 2 = 300 บาท/งวด
2. คิดตามฐานเงินเดือนจริงที่ได้รับ
การคิดตามฐานเงินเดือนและรายได้คงที่ เงื่อนไขการหักประกันสังคม เงินเดือนสูงสุด ต่อเดือนอยู่ที่ 15,000บาท/เดือน
2.1 ยกตัวอย่างพนักงานงวดเต็ม
วิธีการคำนวณ
ฐานเงินเดือน 15,000 จะได้ 15,000 x อัตราสมทบประกันสังคม 5% = 750 บาท
2.2 ยกตัวอย่างพนักงานงวดแบ่งงวดจ่าย
วิธีการคำนวณ
ฐานเงินเดือนงวดที่ 1 หรือ 2 อยู่ที่ 9,000 บาท แต่ระบบคำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุด 7,500 บาท/งวด
จะได้ 7,500 x5% = 375 บาท หรือไม่เกิน 375บาท/งวด
2.3 ยกตัวอย่างพนักงานเข้างาน-ลาออกระหว่างงวด
- เข้างานระหว่างงวดที่ 1
วิธีการคำนวณ
รอบคำนวณเงินเดือน 1- EOM (1-15-EOM) เริ่มงานวันที่ 05/08/2023
เงินเดือนตามจำนวนวันทำงาน 3,000 จะนำ 3,000 x 5% = 150 บาท หรือหักไม่เกิน 375บาท/งวด
- เข้างานระหว่างงวดที่ 2
วิธีการคำนวณ
รอบคำนวณเงินเดือน 1- EOM (1-15-EOM) เริ่มงานวันที่ 17/08/2023
เงินเดือนตามจำนวนวันทำงาน 5,400 จะนำ 5,400 x 5% = 270 บาท
- ลาออกระหว่างงวดที่ 1 (วันทำงานวันสุดท้ายของพนักงาน คือวันสุดท้ายของการคำนวณในงวดที่ 1)
วิธีการคำนวณ
รอบคำนวณเงินเดือน 1- EOM (1-15-EOM) ลาออกวันที่ 16/08/2023
เงินเดือนตามจำนวนวันทำงาน 9,000 จะนำ 9,000 x 5% = 450 บาท
โดยกรณีของพนักงานแบ่งงวดจ่าย ที่ลาออกระหว่างรอบการคำนวณ ระบบจะคำนวณประกันสังคมทั้งหมดของพนักงานในงวดสุดท้ายของการทำงาน แต่จะไม่เกิน 750 บาทในงวดเต็ม
3. คิดตามมาตรา 39 คือ คิดตามประกันสังคมตามมาตรา 39
คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุด 4,800 บาท อัตราเดียวเท่ากันทุกคน เดือนละ 432 บาท
3.1 ยกตัวอย่างพนักงานงวดเต็ม
วิธีการคำนวณ
พนักงานฐานเงินเดือน ตั้งแต่ 1 บาทเป็นต้นไป จะถูกหัก = 432บาท/เดือน
3.2 ยกตัวอย่างพนักงานงวดแบ่งงวดจ่าย
วิธีการคำนวณ
ฐานเงินเดือนงวดที่ 1 หรือ 2 ตั้งแต่ 1 บาทเป็นต้นไป จะถูกหัก = 216บาท/งวด
4. คิดตามสูตรคำนวณ
คือ คิดตามเงื่อนไขของบริษัท (จะต้องทำการติดต่อติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตั้งค่าระบบให้)
การทำจ่ายประกันสังคม
ขั้นตอนการทำจ่ายประกันสังคมผ่าน เว็บไซต์ www.sso.go.th สามารถดึงไฟล์จากระบบได้ 2 เมนู ดังนี้
1.มาที่เมนูคำนวณเงินเดือนและไปที่ปิดงวดบัญชี
ซึ่งจะต้องมีการกดปิดงวดก่อนจึงจะสามารถดึงรายงานประกันสังคมได้ โดยสามารถค้นหาข้อมูล จากโครงสร้างองค์กรที่ต้องการ และเลือกดาวน์โหลดไฟล์เพื่อนำจ่ายเป็นรูปแบบ Excel. ได้เลย
2.เมนูรายงาน
ไปที่กลุ่มประกันสังคม และไปที่เมนูประกันสังคมประจำเดือน โดยสามารถค้นหาข้อมูล จากโครงสร้างองค์กรที่ต้องการ และเลือกดึงไฟล์เพื่อนำจ่ายเป็นรูปแบบ Excel. ได้เลย
สำหรับการตั้งค่าอัตราประกันสังคม
สามารถมาตั้งค่าได้ที่เมนูตั้งค่า แล้วเลือกตั้งค่าทั่วไป หลังจากนั้นเลื่อนมาที่เมนูตั้งค่าประกันสังคม หลังจากนั้นกำหนดอัตราประกันสังคมของพนักงาน(%) และ อัตราประกันสังคมของนายจ้าง(%) สุดท้ายลงมากดบันทึก เป็นอันเสร็จ