อัปเดตใหม่ล่าสุดจาก HumanSoft มาแล้ว! พร้อมยกระดับประสบการณ์การใช้งานให้สะดวกและทรงพลังยิ่งขึ้น ด้วยฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคุณอย่างเต็มที่ มาดูกันเลยว่ามีอะไรใหม่บ้าง
Update! ฟีเจอร์ประจำเดือนธันวาคม ครั้งที่ 4 ได้แก่
- ภาษี/ประกันสังคมบริษัทจ่ายให้
- ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
- งวดพิเศษ คำนวณภาษี ภงด.1
- ปรับ Extra form รายรับรายจ่าย สำหรับการคำนวณงวดแยกแบบ 1 + 2
- แยกการตั้งค่า Extra form ออกจากตั้งค่ารายรับรายจ่าย
- เพิ่มเงื่อนไขที่ Extra form ของรายรับรายจ่าย เบี้ยขยัน เบี้ยเลี้ยง
ภาษี/ประกันสังคมบริษัทจ่ายให้
การคิดภาษีและประกันสังคมบริษัทจ่ายให้ของระบบ มีหลักการคิดคือ การหาเงินรายรับที่เมื่อนำไปรวมกับเงินเดือน แล้วนำไปคิดภาษี จะได้เงินสุทธิเท่ากับอัตราเงินเดือนที่ไม่ได้ถูกหักภาษี ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือน 40,750 รวมกับ รายรับภาษีบริษัทจ่ายให้ 728.99 รวมเป็นเงิน 41478.99 เมื่อนำยอดเงินนี้ไปคิดภาษีอีกครั้งและนำยอดภาษีมาหักกับยอดเงินนี้จะได้เงินสุทธิเป็น 40,750
ซึ่งการหารายรับภาษีบริษัทจ่ายให้ จะใช้วิธีการวนลูปคำนวณภาษีแล้วนำยอดภาษีที่ได้มาบวกกับยอดเงินก่อนคิดภาษี ตามตัวอย่างนี้
จากตัวอย่าง เงินเดือนเดือนนี้ 40,750 คิดเป็นรายได้พึงประเมินทั้งปี 480,750 หักลดหย่อนเหลือ 311,750 คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียทั้งปีได้ 8,675 คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียทั้งปี 722.92 นำยอด 722.92 ไปบวกกับเงินเดือน 40.750 จะได้ยอด 41,472.92 นำไปตั้งเป็นเงินเดือนเดือนนี้ แลัวคิดตามขั้นตอนเดิมจนจบ จะได้ยอดภาษีที่เสียในเดือน 728.94 ซึ่งยอดภาษีที่เสียในรอบนี้ต่างจากรอบแรก 6.02 ให้ทำขั้นตอนเดิม จนยอดภาษีที่เสียรอบก่อนหน้า ต่างยอดภาษีที่คิดได้รอบปัจจุบันไม่เกิน 1 ก็จะได้รายรับภาษีบริษัทจ่ายให้
ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ทีมพัฒนาได้เพิ่มฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยคำนวณค่าชดเชยให้พนักงานในกรณีถูกเลิกจ้างหรือเหตุผลอื่นๆ ตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งกำหนดให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย โดยค่าชดเชยนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ดังนี้
1. คำชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป
- หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้
- หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 120 วัน - 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย
- หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 1 - 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย
- หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 3 - 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย
- หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 - 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย
- หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 - 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย
- หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย
2. คำเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าเสียหายนี้เกิดขึ้นในกรณีที่นายจ้าง “ไล่ออก” ทันทีโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ซึ่งถือเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไป (ตามมาตรา 118) แล้ว ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่แจ้งล่วงหน้าด้วย (ตามมาตรา 17/1) เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายของลูกจ้าง โดยคำนวณเต็มจำนวนเสมือนว่านายจ้างได้แจ้งล่วงหน้า แต่ค่าเสียหายนี้จะไม่เกินค่าจ้างสูงสุด 3 เดือน
ในการคำนวณเงินค่าชดเชย จะต้องระบุสาเหตุการลาออกของพนักงานเป็นการเลิกจ้างกะทันหัน จากนั้นระบบจะแสดงช่องสำหรับกรอกอายุงาน และกำหนดเงินค่าเสียหายจากการไม่แจ้งล่วงหน้า ซึ่งสามารถเลือกได้ตั้งแต่ไม่มีค่าเสียหายจนถึงสูงสุด 3 เดือน
เมื่อกำหนดเงื่อนไขข้างต้นแล้วกดคำนวณเงินเดือน จะมีรายรับที่ชื่อว่า เงินชดเชยลาออก ขึ้นมาแสดงในหน้าสรุปผลการคำนวณ ตามตัวอย่างจะได้เงินชดเชยลาออก 450,000 เนื่องจากพนักงานมีเงินเดือน 150,000 และมีอายุงานอยู่ในช่วง 120 วัน - 1 ปี ซึ่งได้รับเงินค่าชดเชย 5,000 x 30วัน = 150,000 และกำหนดค่าตกใจไว้ที่ 2 เดือนทำให้ได้ค่าตกใจ 150,000 x 2เดือน = 300,000 รวมเงินค่าชดเชยและค่าตกใจจึงเป็น 450,000 บาท
งวดพิเศษ คำนวณภาษี ภงด.1
ทีมพัฒนาได้เพิ่มฟังก์ชันการคำนวณภาษี ภ.ง.ด. 1 สำหรับงวดพิเศษ ซึ่งก่อนหน้านี้สามารถคำนวณได้เฉพาะภาษี ภ.ง.ด. 3 หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายเท่านั้น ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าประเภทรายรับรายจ่ายที่ต้องการนำไปคำนวณภาษีในงวดพิเศษ โดยเลือกให้สอดคล้องกับการคำนวณภาษีและงวดพิเศษได้อย่างเหมาะสม
ในหน้าคำนวณงวดพิเศษจะเพิ่มคอลัมภ์ของภงด.1 เมื่อกรอกยอดเงินในรายรับรายจ่ายที่มีการคิดภาษีภงด.1 จะแสดงยอดรวมเงินที่คิดภาษี สามารถเลือกเงื่อนไขได้ว่าคิดหรือไม่คิดภาษี โดยการคิดภาษีในงวดพิเศษจะหักเงินที่จ่ายในงวดพิเศษโดยยอดที่เป็นประเภทรายรับแบบ 40(1) จะมีการเฉลี่ยยอดซึ่งจะเฉลี่ยไปหักในงวดปกติด้วย ส่วนรายรับรายจ่ายแบบ 40(1-2) และ 40(2) จะใช้ยอดเงินคูณกับเรทสุดท้ายของการคิดภาษีแบบภงด.1
ปรับ Extra form รายรับรายจ่าย สำหรับการคำนวณงวดแยกแบบ 1 + 2
เดิมรายรับรายจ่ายยังไม่รองรับการใช้งาน Extra form กับบริษัที่มีการตั้งค่าแบ่งงวดจ่ายแบบ 1+2 เราจึงพัฒนาให้ Extra form สามารถใช้งานกับการแบ่งงวด 1+2 ได้ เมื่อฟีเจอร์ดังกล่าวเปิดให้ใช้งาน
ลูกค้าที่ตั้งค่าแบ่งงวดแบบ 1+2 ที่ต้องการใช้งาน สามารถเปิดหน้าตั้งค่า Extra form และบันทึกซ้ำเพื่อเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ทันที
แยกการตั้งค่า Extra form ออกจากตั้งค่ารายรับรายจ่าย
แยกการตั้งค่า Extra form ออกจากการตั้งค่ารายรับรายจ่าย เพื่อลดข้อผิดพลาดการตั้งค่ารายรับรายจ่าย เพิ่มปุ่มตั้งค่าเงื่อนไขพิเศษ Extra สำหรับตั้งค่าการให้รายรับรายจ่ายที่นอกเหนือจากเงื่อนไขทั่วไป
เพิ่มเงื่อนไขที่ Extra form ของรายรับรายจ่าย เบี้ยขยัน เบี้ยเลี้ยง
เพิ่มเงื่อนไขตั้งค่าเบี้ยขยันดังนี้
- มาเช้า
- พักไว
- กลับช้า
- ประเภทพนักงาน
- เต็มงวด
- แบ่งงวด
ลูกค้าสามารถเพิ่มเงื่อนไขการให้และหักเบี้ยขยันได้เพิ่มขึ้น โดยเข้าไปตั้งค่าเบี้ยขยันที่เดิมได้ทันที
เพิ่มเงื่อนไขการตั้งค่าเบี้ยเลี้ยงดังนี้
- ใช้เฉพาะวันทำงาน / วันหยุดพนักงาน /วันหยุดนักขัต
- มาเช้า
- พักไว
- กลับช้า
- ทำงานครบ x ชั่วโมงต่อวัน ในวันทำงาน
- ทำงานครบ x ชั่วโมงต่อวัน ในวันหยุดพนักงาน
- ทำงานครบ x ชั่วโมงต่อวัน ในวันหยุดนักขัต
- OT เท่ากับ x ชั่วโมง
- ประเภทโอทีที่ได้
ลูกค้าสามารถเพิ่มเงื่อนไขการให้และหักเบี้ยเลี้ยงได้เพิ่มขึ้น โดยเข้าไปตั้งค่าเบี้ยเลี้ยงที่เดิมได้ทันที
สามารถดูการ Update! ฟีเจอร์ ทั้งหมดได้ที่ หน้าประกาศข่าวสาร
หากมีข้อสงสัยที่ต้องการสอบถามหรือต้องการให้ HumanSoft พัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติม สามารถแนะนำหรือแจ้งมาหาเราได้ในช่องทางการติดต่อของ HumanSoft ได้เลยค่ะ ทางเราพร้อมปรับปรุงและพัฒนาระบบให้ตอบโจทย์และสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้นค่ะ
ติดตาม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Blog : www.humansoft.co.th/th/blog
Facebook : www.facebook.com/humansoft.co.th
Line : @humansoft
Tel : +66 88 864 7474