ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับ Work-Life Balance มากขึ้น โดย HR มีส่วนสร้าง Work-Life Balance ให้แก่พนักงานได้อย่างไรบ้าง มาดูในบทความนี้เลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:
- Growth Mindset ในการทำงานเพื่อคนยุคใหม่ ทำงานอย่างมีความสุข
- 6 วิธี สร้างความสุขในการทำงาน
- Check List เรามีความสุขในการทำงานไหม?
- 4 วิธีสร้างบรรยากาศดีๆ ในองค์กร โดยการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM)
Work-Life Balance คืออะไร
“Work-Life Balance” เป็นเทรนด์การทำงานที่กลายเป็นประเด็นที่หลาย ๆ ท่านให้ความสนใจมากขึ้น โดย Work-Life Balance คือ การปรับความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว เพื่อลดผลกระทบจากการทำงานหนักหรือมากจนเกินไป ซึ่ง “สมดุล” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการแบ่งเวลาอย่างเท่าเทียมกันเสมอไป แต่เป็นการบริหารชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้เป็นอย่างพอดี และมีความสุข เพราะการทำงานหนักจนเกินไปจนเกิดการเสียสมดุลในการทำงานย่อมส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพนักงาน และเกิดความล่าช้าในการทำงานได้
ความสำคัญของ Work-Life Balance ต่อองค์กร
เชื่อว่าเรื่อง Work-Life Balance ยังเป็นปัญหาที่หลาย ๆ องค์กรหรือพนักงานองค์กรหลาย ๆ ท่านยังมองข้ามอยู่ เพราะหากมองอย่างผิวเผินแล้วนั้น การที่พนักงานทุ่มเทแรงกายเพื่อทำงานให้องค์กร ดู ๆ แล้วก็เหมือนเป็นเรื่องที่ดี พนักงานเองก็ได้รับคำชื่นชม องค์กรก็ได้ประโยชน์จากการทำงานของพนักงาน แต่ขอบอกเลยว่าเป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากหากพนักงานขาด Work-life balance ทำงานหนักจนเกินไปก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและอาจก่อให้เกิดภาวะหมดไฟ (Burnout) ตามมาด้วยเช่นกัน
ดังนั้น หากองค์กรให้ความสำคัญเรื่อง Work-Life Balance ก็จะส่งผลให้พนักงานในองค์กรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพการทำงานสูง มีความคิดสร้างสรรค์ และ Productivity ในการทำงานที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
HR สร้าง Work-Life Balance ให้แก่พนักงานได้อย่างไร
ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม Work-Life Balance ให้แก่พนักงาน โดย HR สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. กำหนดนโยบายที่สนับสนุน Work-Life Balance
การสร้าง Work-Life Balance ให้แก่พนักงานนั้น HR สามารถทำได้โดยการกำหนดนโยบายหรือแนวทางการปฏิบัติที่สนับสนุน Work-Life Balance อย่างชัดเจน เพราะพนักงานส่วนใหญ่มักไม่กล้าและเกรงใจหัวหน้างาน HR และผู้บริหาร เป็นอย่างมาก เพราะกลัวถูกมองว่าไม่ขยัน ไม่เอาการเอางาน หรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น ควรกำหนดนโยบายในเรื่องของ Work-Life Balance เช่น กำหนดชั่วโมงการทำงานหรือชั่วโมงโอทีที่เหมาะสม เป็นต้น
2. จัดโซนสันทนาการ
องค์กรหรือ HR อาจจัดโซนสันทนาการหรือโซนสำหรับการพักผ่อน เพื่อให้พนักงานได้พักผ่อนได้ในระหว่างวัน หรือได้ผ่อนคลายในช่วงพักเที่ยง เช่น อาจจัดห้องพักผ่อนเล็ก ๆ ไว้สำหรับนั่งเล่น ดูหนัง และเล่นเกม เป็นต้น หรืออาจเตรียมมุมสำหรับจัดวางเก้าอี้นวดให้พนักงานได้เข้ามาใช้บริการ จะได้มีแรงกลับมาทำงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. Outing บริษัทประจำปี
จัดทริป Outing บริษัท นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสวัสดิการที่สามารถสร้าง Work-Life Balance ได้เป็นอย่างดี เพราะการได้ออกไปท่องเที่ยวและทำกิจกรรมต่าง ๆ นอกเหนือจากการทำงาน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศช่วยให้พนักงานได้ผ่อนคลายจากความเครียด เบาสมอง และกลับมาทำงานได้อย่างมีพลัง อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานภายในองค์กรได้ทำความรู้จักกันเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
4. การทำงานที่ยืดหยุ่น
การทำงานที่ยืดหยุ่น หรือ Flexible Working คือ รูปแบบการทำงานที่ไม่ยึดติดกับสถานที่ เวลา หรือรูปแบบการทำงานแบบดั้งเดิม พนักงานสามารถเลือกทำงานที่ไหน หรือเมื่อไหร่ก็ได้ ตราบใดที่ยังสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายหรือแผนงานที่ได้วางแผนหรือตกลงกันไว้ เน้นในส่วนของผลลัพธ์มากกว่าชั่วโมงการทำงาน
5. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุน Work-Life Balance
วัฒนธรรมองค์กร เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการทำงาน ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุน Work-Life Balance จึงมีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถทำได้โดยการเคารพเวลาส่วนตัวของพนักงาน ไม่ติดต่องานพนักงานในช่วงนอกเวลาทำการหรือช่วงที่พนักงานลาพักร้อน เพื่อให้พนักงานได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ โดยที่ไม่ต้องคอยกังวลเรื่องงาน
6. สร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นกันเอง
สร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นกันเองและสนับสนุนการทำงานเป็นทีม ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถสร้าง Work-Lift Balance ได้เป็นอย่างดี เพราะบรรยากาศการทำงานที่ดีไม่ตึงเครียดจนเกินไปก็จะส่งผลให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน รู้สึกสบายใจ กล้าแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ และยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
วิธีสร้าง Work-Life Balance สำหรับพนักงาน
นอกจาก HR จะสามารถสร้าง Work-Lift Balance ให้แก่พนักงานแล้ว ตัวของพนักงานเองก็ต้องสร้าง Work-Lift Balance ให้แก่ตนเองด้วยเช่นกัน โดยพนักงานสามารถสร้าง Work-Lift Balance ให้แก่ตนเองได้ดังนี้
- แบ่งเวลาการทำงานและเวลาพักผ่อนให้เป็น
- จัดลำดับการทำงานในแต่ละวัน เพื่อให้สามารถจัดการเวลาได้ดีขึ้น
- มีช่วงเวลาพักเบรกระหว่างการทำงาน
- หากไม่จำเป็นไม่ควรเอางานกลับมาทำที่บ้าน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจดูแลตนเองให้มากขึ้น
- ออกไปท่องเที่ยว พบปะกับเพื่อนฝูง
- ให้เวลากับครอบครัวและคนรอบตัวให้มากขึ้น
สรุปวิธีสร้าง Work-Life Balance ให้แก่พนักงาน ที่ HR ไม่ควรพลาด
กล่าวโดยสรุปคือ Work-Lift Balance เป็นการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ซึ่งองค์กรและ HR เรียกได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้าง Work-Lift Balance ให้แก่พนักงาน เพราะหากพนักงานขาด Work-Life Balance ย่อมส่งผลเสียต่อองค์กรอย่างแน่นอน ดังนั้น HR จึงควรให้ความสำคัญต่อการสร้าง Work-Life Balance ให้แก่พนักงาน ซึ่งสามารถสร้างได้โดยการกำหนดนโยบายหรือแนวทางการปฏิบัติที่สนับสนุน Work-Life Balance, จัดโซนสันทนาการ, Outing บริษัทประจำปี, การทำงานที่ยืดหยุ่น, สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุน Work-Life Balance และสร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นกันเองนั่นเอง และนอกจากนี้พนักงานเองก็ต้องสร้าง Work-Life Balance ให้แก่ตนเองด้วยเช่นกัน