PageView Facebook
date_range 25/07/2023 visibility 6652 views
bookmark HR Knowledge
แจกฟรี! "ใบผ่านงาน" และเรื่องที่นายจ้าง ลูกจ้างต้องรู้ - blog image preview
Blog >แจกฟรี! "ใบผ่านงาน" และเรื่องที่นายจ้าง ลูกจ้างต้องรู้

ใบผ่านงาน เอกสารสำคัญหลังสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน วันนี้ HumanSoft นำตัวอย่างใบผ่านงานมาแจก สามารถดาวน์โหลดและนำไปปรับใช้งานได้เลย


ทำความรู้จักกับใบผ่านงาน

ใบผ่านงาน เป็นเอกสารสำคัญที่นายจ้างออกให้กับลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างจะได้รับใบผ่านงานหลังจากสิ้นสุดสัญญาในการจ้างงาน ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่พนักงานลาออกเอง หรือถูกเลิกจ้างโดยนายจ้าง เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าพนักงานท่านดังกล่าว เคยปฏิบัติงานหรือผ่านการทำงาน ณ บริษัทดังกล่าวจริง

ในส่วนของใบผ่านงานและหนังสือรับรองการทำงาน ถือได้ว่าเป็นเอกสารเดียวกัน โดย “หนังสือรับรองการทำงาน” จะเป็นชื่อเรียกแบบทางการนั่นเอง

 

Tips! อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ >> หนังสือรับรองการทำงานคืออะไร นำไปใช้ทำอะไร และขอที่ใครได้บ้าง


นายจ้างจำเป็นต้องออกใบผ่านงานให้กับพนักงานหรือไม่

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 บัญญัติว่า “เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงเพราะนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง หรือลูกจ้างออกจากงานเอง นายจ้างต้องออกใบสำคัญแสดงการทำงานให้แก่ลูกจ้างนั้น”

ดังนั้น เมื่อการจ้างงานหรือสัญญาจ้างสิ้นสุดลง หรือพนักงานคนดังดล่าวพ้นสภาพการเป็นพนักงาน โดยปกติแล้วนายจ้างควรที่จะทำการออกใบผ่านงานให้กับลูกจ้างหรือพนักงานนั่นเอง ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นทำงานมานานเท่าไหร่ และงานที่ทำนั้นเป็นอย่างไร หากบริษัทฝ่าฝืนไม่ออกหนังสือรับรองการทำงาน ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อกรมแรงงานเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 14 ได้


ข้อมูลที่ควรมีในใบผ่านงาน

ใบผ่านงานของบริษัทเอกชนหรือองค์กรทั่วไปควรมีข้อความที่ระบุในเอกสารใบผ่านงานดังนี้

  1. ตราบริษัทของนายจ้าง  
  2. ข้อความที่ระบุว่าเป็น “หนังสือรับรองการทำงาน” หรือ “ใบสำคัญแสดงการผ่านงาน”    
  3. สถานที่ในการออกเอกสาร   
  4. ชื่อ-นามสกุลของพนักงานผู้ขอเอกสาร  
  5. ตำแหน่งของพนักงานดังกล่าว
  6. ระยะเวลาในการทำงานของพนักงาน (วัน เดือน ปี ที่พนักงานเริ่มต้นเข้าทำงานจนถึงวันที่สิ้นสุด)     
  7. ลงชื่อ และตำแหน่งของผู้ออกเอกสาร/ผู้รับรองเอกสาร

หมายเหตุ ข้อความในเอกสารไม่ควรระบุข้อความในเชิงลบ หรือการกระทำผิดของพนักงานไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม


ตัวอย่างของใบผ่านงาน



Tips ดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบผ่านงาน >>> ใบผ่านงาน


ใบผ่านงานสามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง

     ใบผ่านงานสามารถนำไปใช้งานได้หลาย ๆ กรณี โดยมีรายละเอียดดังนี้


ใช้ในการสมัครงานใหม่

ใบผ่านงานเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้ประกอบการสมัครงานใหม่ แสดงให้เห็นว่าเรานั้นเคยทำงานอะไร หรือมีประสบการณ์ทำงานในด้านใดมา เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้างใหม่จะได้ทราบประวัติการทำงานของผู้สมัครเอง


ยืนยันความสามารถในการทำงาน

ใบผ่านงานสามารถใช้เป็นเอกสารรับรองว่าคุณนั้นเคยผ่านการทำงานดังกล่าวมา และช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและประสบการณ์ทำงานของผู้สมัครได้


ใช้ประกอบหลักฐานการเรียนต่อ

ลูกจ้างสามารถนำใบผ่านงานไปใช้ประกอบเอกสารการสมัครเรียนในระดับปริญญาที่สูงขึ้นได้


ธุรกรรมทางการเงิน

สามารถนำใบผ่านงานใช้ประกอบในการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารได้ เช่น ยื่นทำบัตรเครดิต เป็นต้น



หากเป็นพนักงานอยู่สามารถขอใบผ่านงานได้หรือไม่

       กรณีที่ลูกจ้างหรือพนักงานยังคงสถานภาพการเป็นพนักงานอยู่ ประสงค์ที่จะขอใบผ่านงานหรือหนังสือรับรองเงินเดือน ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้นายจ้างหรือบริษัทออกให้ ดังนั้น บริษัทจะออกใบผ่านงานให้กับพนักงานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายจ้าง


พนักงานคนนี้ทำผิดกฎของบริษัท ไม่ออกใบผ่านงานให้ได้ไหม

ตอบเลยว่าไม่ได้นะคะ จากที่กล่าวไปข้างต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 นายจ้างมีหน้าที่ออกใบผ่านงานให้กับลูกจ้างหลังสิ้นสุดสัญญาการจ้างงานไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม


สรุปเกร็ดความรู้เกี่ยวกับใบผ่านงาน

ใบผ่านงานถือได้ว่าเป็นเอกสารอย่างหนึ่งที่มีสำคัญสำหรับพนักงานเป็นอย่างมาก ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในการทำงานของบุคคล และเป็นเอกสารที่สำคัญในกระบวนการตัดสินใจต่าง ๆ ทั้งในองค์กรและการจัดการทรัพยากรบุคคลในองค์กร นอกจากนี้การออกใบผ่านงานให้แก่พนักงานนั้น นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย


อย่างไรก็ตาม โปรแกรม HumanSoft รองรับการออกเอกสารหนังสือรับรองการทำงาน สามารถให้โปรแกรม HumanSoft ช่วยในการออกเอกสารใบผ่านงานหรือหนังสือรับรองการทำงานได้ ช่วยแบ่งเบาภาระงานให้กับ HR และออกเอกสารได้ง่ายเพียงไม่กี่ขั้นตอน สามารถทดลองใช้งานฟรีได้เลย

โปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้