พาทุกท่านมารู้จักกับ โรค TATT หรือ โรคเหนื่อยสะสม อาการเหนื่อยล้าสะสมนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน จะมีสาเหตุและวิธีการรับมืออย่างไร หาคำตอบได้จากบทความนี้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- โรควิตกกังวลในวัยทำงาน เช็กอาการและวิธีการรับมือแก้ไข
- Checklist!! คนประเภทใดที่เข้าข่ายเป็นโรค Imposter Syndrome
- โรคยอดฮิตของคนทำงาน และวิธีป้องกันที่ HR ช่วยได้
- Checklist อาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าเข้าข่ายออฟฟิศซินโดรม
TATT คืออะไร?
โรค TATT ย่อมาจาก "Tired All The Time" คือ ความรู้สึกเหนื่อยล้าเรื้อรังตลอดทั้งวัน อาการนี้มักเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด, พักผ่อนไม่เพียงพอ, หรือภาวะสุขภาพบางอย่าง เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และคุณภาพชีวิตโดยรวมได้ หากคุณรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลาและไม่สามารถฟื้นตัวได้จากการพักผ่อน อาจจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับตนเอง
สาเหตุการเกิดโรค TATT
- เกิดภาวะเครียด หรือความกดดันจากการทำสิ่งต่าง ๆ
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป ส่งผลให้ร่างกายตื่นตัว เกิดอาการเหนื่อยล้าได้
- พักผ่อนน้อย นอนไม่เป็นเวลา ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียสะสม
- ปัญหาด้านสุขภาพ ก็อาจทำให้เหนื่อยล้าได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นไทรอยด์ โรคเบาหวาน โลหิตจาง
- ไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้ร่างกายไม่มีการหลั่งสาร Endorphin ที่ช่วยทำให้มีความสุข รู้สึกผ่อนคลาย ช่วยลดความเครียดและความเหนื่อยล้าได้
วิธีรับมือกับโรค TATT
หยุดพฤติกรรมทำร้ายสมอง
การหยุดพฤติกรรมทำร้ายสมอง จะช่วยลดอาการเหนื่อยสะสมให้กับทุกท่านได้ หาเวลาทำกิจกรรมผ่อนคลายสมองบ้าง เช่น การไปเที่ยว, ทำอาหาร, อ่านหนังสือ หรืออาจเป็นกิจกรรมอื่น ๆ ที่ชื่อนชอบ เพื่อให้สมองได้ผ่อนคลายจากความเครียดสะสมที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน
ฝึกสมาธิ
การทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบจะช่วยให้สมองหยุดพักจากการคิดเรื่องต่าง ๆ มีสมาธิจดจ่อ ได้ดีขึ้น ช่วยลดความเครียด และมีเวลาทบทวนสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถี่ถ้วน เมื่อมีสมาธิที่ดีจะช่วยให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ออกกำลังกาย
แน่นอนว่าการออกกำลังกาย นอกจากจะให้ประโยชน์กับสุขภาพกายแล้ว ยังส่งผลดีกับสุขภาพจิต และส่งผลดีกับสมองอีกด้วย หากเกิดภาวะเครียด ให้ลองหยุดการทำงาน และออกกำลังกายเบา ๆ ให้ร่างกายได้หลั่งสาร Endorphin ออกมาบ้าง เพื่อให้ร่างกายและสมองได้ผ่อนคลายความเครียด ลดความเหนื่อยล้าได้ดีอีกด้วย
เลือกอาหารที่มีประโยชน์
เลือกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรรับประทานอาหารที่ปรุงรสน้อย อีกทั้งควรเลือกรับประทานอาหารในปริมาณที่พอดี อีกทั้งไม่ควรทานอาหารมื้อหนักก่อนเข้านอน เพราะจะทำให้กระเพาะทำงานหนัก และส่งผลต่อการพักผ่อนในช่วงเวลากลางคืนได้
สรุป โรค TATT หรือ โรคเหนื่อยสะสม เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีรับมือ
โดยสรุปแล้ว โรค TATT หรือ โรคเหนื่อยสะสม มีสาเหตุจาก ความเครียด, พักผ่อนน้อย, ไม่ออกกำลังกาย, ปัญหาด้านสุขภาพ เป็นต้น โรคเหนื่อยสะสมนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่มีภาวะเครียดจากการทำงาน หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้สมองมากเกินไป หากรู้ตัวว่าตนเองกำลังเผชิญอยู่กับสถานการณ์นี้ ให้รีบปรับวิธีการใช้ชีวิต เปลี่ยนวิธีการทำกิจกรรม รู้จักปล่อยวาง และหาวิธีผ่อนคลายให้กับตนเองบ้าง เพราะโรคนี้อาจส่งผลต่อร่างกายและสมองได้ในระยะยาว ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ รวมไปถึงปัญหาด้านการดำรงชีวิตอีกด้วย