สิทธิที่พนักงานต้องรู้ เกี่ยวกับการลากิจและลากิจฉุกเฉิน ทั้ง 2 ประเภทต่างกันอย่างไร ประกอบด้วยเงื่อนไขใดบ้างที่ใช้ในการลา วันนี้ HumanSoft มีคำตอบ ไปดูกันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน
- Q&A ลาแต่งงานต้องใช้ลากิจหรือไม่ ?
- ห้ามพลาด! กฎหมายแรงงานที่ลูกจ้างไม่ควรมองข้าม
- Q&A พนักงานยังไม่ผ่านโปร ลากิจ ลาป่วยได้ไหม?
- HR ควรรู้! กฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงาน ตามกฎหมายแรงงาน
Q: ลากิจและลากิจฉุกเฉิน ต่างกันอย่างไร?
การลาทุกประเภท ล้วนเป็นสวัสดิการที่ลูกจ้างและพนักงานทุกคนพึงจะได้รับ แต่ละองค์กรก็จะมีเงื่อนไขการลาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและโครงสร้างขององค์กร
ลูกจ้างหลาย ๆ คนยังคงสงสัยในเรื่องการลา ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิลากิจ ลากิจฉุกเฉิน ลาป่วย หรือแม้แต่ลาพักร้อน วันนี้เรารวบรวมข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่าง การลากิจ และการลากิจฉุกเฉิน มาฝากทุกท่าน ไปหาคำตอบกันเลย
A: ลากิจ คือการลาทำธุระจำเป็นที่ผู้อื่นไม่สามารถทำแทนได้ ส่วนการลากิจฉุกเฉิน คือลูกจ้างต้องใช้สิทธิลากิจแบบกะทันหัน เป็นเหตุการณ์ที่ลูกจ้างไม่ได้เตรียมตัว
- ลากิจ คือการลาทำธุระส่วนตัว ธุระจำเป็นที่ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้ เช่น จดทะเบียนสมรสหรือแต่งงาน / เปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน / ทำใบอนุญาตขับขี่ ฯลฯ โดยส่วนใหญ่การลากิจจะเป็นการลาที่ต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า และทำเรื่องยื่นการลากิจล่วงหน้าอยู่แล้ว
- ลากิจฉุกเฉิน เป็นเหตุการณ์ที่ลูกจ้างพบเจอกะทันหัน ไม่ทันได้เตรียมตัว เช่น คนในครอบครัวป่วยหรือเสียชีวิต / รถเสีย ฯลฯ เหตุการณ์เช่นนี้ส่งผลให้ลูกจ้างต้องลากิจฉุกเฉิน เป็นกิจธุระที่ลูกจ้างต้องกระทำเอง ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้
Q: ลากิจและลากิจฉุกเฉิน มีอะไรบ้าง?
การลากิจและลากิจฉุกเฉิน ถือว่าเป็นการใช้สิทธิลากิจที่ดูเหมือนจะใกล้เคียงกัน ไปดูกันว่า การลา 2 ประเภทนี้จะคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไร
A: ตัวอย่างที่ถือเป็นการลากิจ
- ลาไปติดต่อหน่วยงานราชการ
- ลาไปจัดงานมงคลสมรส / จดทะเบียนสมรส
- ลาไปงานรับปริญญาของตนเองหรือญาติ
ตัวอย่างที่ถือเป็นการลากิจฉุกเฉิน
- เกิดอุบัติเหตุก่อนมาเข้างาน
- ญาติป่วย / เสียชีวิต
- รถเสียระหว่างทาง
สรุป Q&A ลากิจและลากิจฉุกเฉิน ต่างกันอย่างไร และมีอะไรบ้าง?
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อแตกต่างระหว่าง ลากิจและลากิจฉุกเฉิน แน่นอนว่าลูกจ้างมีสิทธิในการลากิจและลากิจฉุกเฉิน ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างสามารถลากิจได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน/ปี และมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในระหว่างที่ลากิจไม่เกิน 3 วันทำงาน/ปี หากพนักงานใช้สิทธิการลากิจครบ 3 วันแล้ว และต้องการใช้วันลากิจเพิ่ม ลูกจ้างก็จะไม่ได้รับค่าจ้างในวันที่ลากิจ ในส่วนของการลากิจฉุกเฉินนี้ คือการที่ลูกจ้างต้องประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและไม่ได้เตรียมตัว ซึ่งการอนุมัติการลากิจฉุกเฉินขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับหัวหน้า หรือ HR ขององค์กรเป็นหลัก เพื่อให้ทั้งลูกจ้างและองค์กรได้รับประโยชน์และเดินหน้าไปพร้อมกันได้อย่างสมดุล