“Attrition Rate” ตัวชี้วัดประสิทธิภาพขององค์กรในการรักษาพนักงาน ช่วยให้ HR ทราบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการสูญเสียพนักงาน และหาแนวทางแก้ไขได้ทันท่วงที
อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:
- วิธีการคำนวณ Turnover Rate และกลยุทธ์ลดการเกิด Turnover Rate
- HR เตรียมรับมือกับ Quiet Quitting
- เมื่อลูกจ้าง"ลาออก" โดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะเป็นอะไรไหม?
- แจกสูตรวิธีคิดเงินเดือน เมื่อพนักงานทำงานไม่เต็มเดือน
- สาเหตุการลาออกของพนักงานที่หัวหน้าทีมและ HR ต้องทำความเข้าใจ
Attrition Rate คืออะไร
เชื่อว่า HR หลาย ๆ ท่านอาจคุ้นเคยกับคำว่า “Attrition Rate” ที่หมายถึง อัตราการลาออกของพนักงาน หรืออาจเคยได้ยินในชื่อ Turnover Rate ซึ่งทั้งคู่นั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกันนั่นเอง
Attrition Rate คือ อัตราการออกจากงาน ไม่ว่าจะโดยสมัครใจหรือไม่สมัครใจก็ตาม โดย Attrition Rate นั้นจะแสดงถึงอัตราการลาออกของพนักงานเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับจำนวนพนักงานทั้งหมด ภายในระยะเวลาหรือช่วงเวลาที่กำหนด เช่น รายเดือน รายปี หรือตามไตรมาส เป็นต้น การวัด Attrition Rate เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับองค์กรเพื่อทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการสูญเสียพนักงาน ความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement) และวางแผนกิจการในอนาคตให้เหมาะสมตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Attrition Rate มีวิธีการคำนวณอย่างไร
การคำนวณ Attrition rate มักจะใช้สูตรง่าย ๆ โดยนับจำนวนพนักงานที่ออกจากงานหรือออกจากองค์กรในระยะเวลาที่กำหนด แล้วหารด้วยจำนวนรวมของพนักงานในองค์กร ซึ่ง Attrition Rate ที่ต่ำ แสดงว่า มีประสิทธิภาพ แต่หากมี Attrition Rate ที่ สูง แสดงว่า มีประสิทธิภาพต่ำนั่นเอง โดย HR สามารถคำนวณ Attrition rate ได้จากสูตร
Attrition rate = (จำนวนพนักงานที่ลาออก / จำนวนพนักงานโดยเฉลี่ย) x 100
ตัวอย่างการคำนวณ Attrition Rate
หากมีการออกจากงานทั้งหมด 20 คน ในองค์กรที่มีจำนวนรวมของพนักงานเป็น 200 คน แล้ว attrition rate จะเท่ากับ
Attrition Rate = (20/200) × 100 =10
นั่นหมายความว่า attrition rate ในกรณีนี้คือ 10%
ทำไมต้องวัดอัตรา Attrition Rate
การวัดผล Attrition Rate เป็นสิ่งสำคัญในการจัดการทรัพยากรมนุษย์และการดำเนินงานขององค์กร เพราะมีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความสำเร็จขององค์กรในระยะยาว โดยเหตุผลที่ต้องวัดอัตรา Attrition Rate มีดังนี้
1. การวางแผนทรัพยากรบุคคล
การทราบ Attrition Rate ช่วยให้องค์กรสามารถวางแผนทรัพยากรบุคคลในอนาคตได้อย่างเหมาะสม โดยการปรับปรุงการจัดการพนักงาน การฝึกอบรม และกลยุทธ์ในการรักษาพนักงานที่มีคุณภาพ เพื่อลด Attrition Rate ในอนาคต
2. ความสามารถในการแข่งขัน
การลด Attrition Rate ช่วยเพิ่มความเสถียรในองค์กร ทำให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากพนักงานที่มีความสามารถและประสบการณ์ที่มีมากและเชี่ยวชาญ มักมีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ
3. ลดต้นทุน
การลด Attrition Rate ช่วยลดต้นทุนที่เกิดจากการสร้างพนักงานใหม่ การฝึกอบรม และกลยุทธ์ในการรักษาพนักงาน ที่อาจส่งผลต่อกำไรและประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร
4. การบรรลุเป้าหมาย
การวัดผล Attrition Rate เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรสามารถติดตามความสำเร็จในการลด Attrition Rate และสามารถกำหนดเป้าหมายเพื่อปรับปรุงและพัฒนาองค์กรในอนาคต
ดังนั้น การวัดผล attrition rate เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการทรัพยากรบุคคลและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวได้
สรุป Attrition Rate คืออะไร มีวิธีการคำนวณอย่างไร
Attrition Rate หรือ อัตราการลาออกของพนักงาน เป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับองค์กรในการประเมินประสิทธิภาพของการรักษาพนักงานไว้กับองค์กรการติดตามและวัดผล Attrition Rate เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารและ HR เข้าใจปัญหาภายในองค์ อีกทั้งยังสามารถวางแผนกลยุทธ์ และพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ นำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว