ตอบทุกข้อสงสัย หากลูกจ้างถูกเลิกจ้างกะทันหัน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างอย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าไหร่ วันนี้เรามีเกร็ดความรู้ดี ๆ มาฝาก ไปหาคำตอบกันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- Q&A ค่าตกใจตามกฎหมายแรงงาน ต้องจ่ายยังไง?
- เงินที่ถือว่าเป็นค่าจ้าง ตามกฏหมายแรงงาน มีอะไรบ้าง?
- HRเช็กด่วน เลิกจ้างกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
- HR ห้ามพลาด!! สิ่งที่ HR ไม่ควรทำเมื่อกำลังเลิกจ้างพนักงาน
- องค์ประกอบที่ควรมีในแบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงาน พร้อมตัวอย่าง
ว่าด้วยเรื่องของ “การถูกเลิกจ้างกะทันหัน”
การถูกเลิกจ้างกะทันหัน คือ สถานการณ์ที่นายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้าเกี่ยวกับการยุติสัญญาจ้างงาน ซึ่งลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับ ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือที่เรียกว่า “ค่าตกใจ” ตามกฎหมาย หากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ลูกจ้างควรทราบถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ตนเองควรได้รับ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการรักษาผลประโยชน์และสิทธิที่พึงมีตามกฎหมาย การทำความเข้าใจในสิทธิที่ควรได้รับจะช่วยให้ลูกจ้างสามารถปกป้องผลประโยชน์ของตนได้อย่างเต็มที่
Q: ลูกจ้างถูกเลิกจ้างกะทันหัน จะได้รับค่าชดเชยอย่างไร?
A: กรณีเลิกจ้างกะทันหัน (ทั่วไป) นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในอัตราค่าจ้างสุดท้ายเป็นระยะเวลา 30 วัน และกรณีเลิกจ้างเพื่อปรับปรุงหน่วยงาน ลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งจะได้เงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน
การที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างกะทันหัน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าหรือ “ค่าตกใจ” ให้กับลูกจ้าง ดังนี้
เลิกจ้างทั่วไป
นายจ้างต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดของการจ่ายค่าจ้าง เช่น ถ้าลูกจ้างได้รับค่าจ้างทุก 30 วัน นายจ้างต้องแจ้งเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน
เลิกจ้างเพื่อปรับปรุงหน่วยงาน ลดจำนวนลูกจ้างลง
นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งจะได้เงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน
เลิกจ้างเพราะย้ายสถานประกอบกิจการ
นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งจะได้รับเงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน นอกจากนี้ในกรณีที่มีการบอกล่วงหน้า แต่ลูกจ้างไม่ต้องการย้ายไปทำงานที่ใหม่ ลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 50% ของค่าชดเชยถูกเลิกจ้างที่มีสิทธิได้รับ
Q: นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้าง ภายในระยะเวลาเท่าไหร่?
A: นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างภายในวันสุดท้ายที่ลูกจ้างทำงาน
หากลูกจ้างถูกเลิกจ้างกะทันหัน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกับกจ้างภายในวันสุดท้ายที่ทำงาน หากลูกจ้างไม่ได้รับสามารถร้องเรียนำได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ เพราะถือว่าลูกจ้างถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม
สรุป Q&A ลูกจ้างถูกเลิกจ้างกะทันหัน จะได้รับค่าชดเชยอย่างไร?
โดยสรุปแล้ว หากลูกจ้างถูกเลิกจ้างกะทันหัน (ทั่วไป) นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน และกรณีเลิกจ้างเพื่อปรับปรุงหน่วยงาน ลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งจะได้เงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน และสุดท้ายหากลูกจ้างไม่ได้รับค่าชดเชยตามสิทธิ์ ลูกจ้างสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากการเลิกจ้างในกรณีนี้ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม