เมื่อวันลาพักร้อนของพนักงานแต่ละคนไม่เท่ากัน HR จึงต้องคำนวณสิทธิวันลาให้กับพนักงานแต่ละคน โดยมีวิธีการคำนวณอย่างไรนั้น มาดูกันในบทความนี้
บทความเกี่ยวข้องกับการลางานที่คุณอาจสนใจ :
- ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน
- ลาป่วย 20 ข้อ ที่พนักงานควรรู้!
- ตรวจสอบโควต้าวันลางานง่ายๆ ด้วยระบบลางานออนไลน์
สิทธิวันลาพักร้อน
วันลาพักร้อน เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับพนักงาน ตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งเป็นวันหยุดที่พนักงานล้วนรอคอย เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้พนักงานได้มีโอกาสในการพักผ่อน ลดความเครียด ได้มีเวลาให้กับเพื่อนฝูงและครอบครัว สร้างความพร้อมทางใจ แล้วพนักงานจะมีประสิทธิภาพในการทำงาน รู้สึกสนุกสนานกับการทำงานเพิ่มมากขึ้น
วันลาพักร้อนหรือวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นสิ่งที่ทุกบริษัทจำเป็นต้องมี และแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ HR ต้องบริหารจัดการ ซึ่งนโยบายของแต่ละบริษัทล้วนให้สิทธิวันลาที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังคงอยู่ภายใต้กฏหมายแรงงาน ดังนั้น สิ่งที่ HR ต้องรู้ไว้เป็นพื้นฐานก่อนคือ กฎหมายที่บัญญัติไว้ ในเรื่องของสิทธินายจ้าง ลูกจ้าง ดังนี้
มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติว่า
(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
(2) ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้
(3) นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้น รวมเข้ากับปีต่อๆไปได้
(4) สำหรับลูกจ้างซึ่งยังทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณตามส่วนก็ได้
จากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน สรุปได้ว่า ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิวันลาพักร้อนอย่างน้อย 6 วัน หรือบางบริษัทสามารถให้สิทธิวันลาพักร้อนกับลูกจ้างแม้ว่ายังไม่ครบ 1 ปีก็ตาม หรือบางบริษัทสามารถให้สิทธิลูกจ้างโดยคำนวณตามสัดส่วนก็ย่อมได้ ทั้งนี้แล้วนโยบายที่บริษัทได้กำหนดไว้
และสำหรับการลาแบบอื่นๆ ก็ยังคงต้องอยู่ภายใต้ พรบ.คุ้มครองแรงงานด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการลาป่วย การลาคลอด หรือ ลากิจได้กี่วัน ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มได้ที่ >> ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน
การคำนวณสิทธิวันลาพักร้อนแบบเฉลี่ยตามสัดส่วน
HR สามารถคำนวณสิทธิวันลาพักร้อนแบบเฉลี่ยตามสัดส่วนได้จามกรณีต่างๆ ดังนี้
1. กรณีได้รับสิทธิวันลาพักร้อนทันที เมื่อเริ่มงาน
ตัวอย่างเช่น
นายจ้างให้วันลาพักร้อนแก่นาย ก. ตั้งแต่เริ่มงาน โดยเฉลี่ยให้ตามสัดส่วน ซึ่งพนักงานบริษัทนี้ได้สิทธิวันลา 6 วันต่อปี และนาย ก. เริ่มงานวันที่ 1 กรกฎาคม 2566
สูตรคำนวณ
กรณีที่ 1 นาย ก. ทำงานครบ 1 เดือน คือ 1 สิงหาคม นาย ก. จะได้วันลาพักร้อน 0.5 วัน
ตัวอย่างการคำนวณ
กรณีที่ 2 นาย ก. ทำงานครบ 4 เดือน คือ 1 พฤศจิกายน นาย ก. จะได้รับวันลาพักร้อน 2 วัน
ตัวอย่างการคำนวณ
กรณีที่ 3 นาย ก. ทำงานครบ 1 ปี คือ 31 กรกฎาคม 2567 นาย ก. จะได้รับสิทธิวันลาครบ 6 วัน
ตัวอย่างการคำนวณ
2. กรณีได้รับสิทธิวันลาพักร้อนหลังผ่านช่วงทดลองงาน
ตัวอย่างเช่น
นายจ้างให้วันลาพักร้อนนาย ข. ต่อเมื่อผ่านช่วงทดลองงานแล้ว โดยเฉลี่ยให้ตามสัดส่วนตั้งแต่เดือนแรกที่มาทำงาน ซึ่งพนักงานบริษัทนี้ได้สิทธิวันลา 6 วันต่อปี และนาย ข. เริ่มงานวันที่ 1 กรกฎาคม และผ่านทดลองงานในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566
สูตรคำนวณ
กรณีที่ 1 นาย ข . ทำงานครบ 1 เดือน นาย ข. จะยังไม่ได้รับสิทธิวันลาพักร้อน เพราะยังไม่ผ่านทดลองงาน
กรณีที่ 2 นาย ข . ทำงานครบ 5 เดือน นาย ข. จะได้สิทธิวันลาพักร้อนครบ 2.5 วัน โดยเริ่มนับเดือนแรกหลังจากผ่านทดลองงานแล้ว
ตัวอย่างการคำนวณ
กรณีที่ 3 นาย ข. ทำงานครบ 8 เดือน นาย ข. จะได้สิทธิวันลาพักร้อนครบ 4 วัน
ตัวอย่างการคำนวณ
กรณีที่ 4 นาย ข. ทำงานครบ 1 ปี นาย ข. จะได้สิทธิวันลาพักร้อนครบ 6 วัน
ตัวอย่างการคำนวณ
สรุปวิธีคำนวณสิทธิวันลาพักร้อนที่ HR ควรรู้
ไม่ว่าบริษัทจะมีนโยบายการเริ่มนับหรือการคำนวณให้สิทธิลาพักร้อนอย่างไรก็ตาม หากพนักงานทำงานมาครบ 1 ปีแล้ว พนักงานควรได้รับสิทธิลาพักร้อนไม่ต่ำกว่า 6 วันต่อปี มิฉะนั้นอาจถูกฟ้องร้องต่อศาลได้ เพราะผิดต่อ พรบ.คุ้มครองแรงงาน แต่หากบริษัทมีนโยบายให้สิทธิลาพักร้อน เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี หรือให้มากกว่าที่กฎหมายกำหนด ก็ย่อมทำได้ อีกทั้งยังสามารถทบวันได้ สะสมวันข้ามปีได้อีกด้วย
อ้างอิง : การคุ้มครองแรงงาน