รู้หรือไม่? ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไม่เพียงช่วยส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ แต่ยังให้ข้อดีสองต่อคือ พนักงานไม่ต้องเสียภาษีและบริษัทสามารถลงเป็นรายจ่ายได้! มาดูกันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- เกณฑ์การคำนวณค่าเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงาน พร้อมตัวอย่าง
- คำนวณเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงานง่าย ๆ ด้วยโปรแกรมเงินเดือน
- แจก Template บัญชีรายรับรายจ่าย สำหรับผู้เริ่มต้นทำธุรกิจ
- WHT: ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร? เรื่องสำคัญที่นายจ้างควรรู้
- สรุปสั้นๆ การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางคืออะไร
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางคือ ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางเป็นสวัสดิการที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงานเมื่อจำเป็นต้องออกนอกสถานที่ไปปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย เช่น การเดินทางไปพบลูกค้า ประชุมกับคู่ค้า หรือเข้าร่วมการอบรมและสัมมนาในสถานที่ที่ไม่ใช่สำนักงานหลักของบริษัท ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายจำเป็นต่าง ๆ เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายในการพักอาศัย เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเดินทางเหล่านี้
Tips! สามารอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่ >> เกณฑ์การคำนวณค่าเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงาน พร้อมตัวอย่าง <<
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไม่ถือเป็นรายได้ที่พนักงานต้องเสียภาษีเงินได้
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไม่ถือเป็นรายได้ที่พนักงานต้องเสียภาษี เนื่องจากเป็นสวัสดิการที่บริษัทจัดให้เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานนอกสถานที่ โดยทั่วไป รัฐและกฎหมายภาษีมักจะไม่ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงนี้เป็นรายได้ส่วนบุคคลของพนักงาน จึงได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนนี้ช่วยลดภาระทางภาษีให้แก่พนักงานและทำให้ได้รับประโยชน์จากค่าเบี้ยเลี้ยงโดยไม่ต้องเสียภาษีเพิ่ม
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ลูกจ้างได้รับเนื่องจากการเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ในประเทศหรือต่างประเทศเป็นครั้งคราว กล่าวคือ ไม่ได้ออกไปเป็นประจำ
2. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางต้องจ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
3. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางต้องไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในประเทศหรือต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายในตามลักษณะเหมาจ่าย หากไม่เกินจำนวนเงินไม่ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์
- ค่าเบี้ยเลี้ยงในประเทศ เบิกได้สูงสุดไม่เกินวันละ 270 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยงต่างประเทศ เบิกได้สูงสุดไม่เกินวันละ 3100 บาท
*หมายเหตุ: ต้องมีหลักฐานการได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสำนักงานหรือนอกสถานที่จากนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินได้ โดยต้องระบุลักษณะงานที่ทำและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามหน้าที่
บริษัทสามารถนำค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางลงเป็นรายจ่ายได้
การที่บริษัทสามารถนำค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางลงเป็นรายจ่ายได้ หมายความว่า บริษัทสามารถบันทึกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่จ่ายให้พนักงานเพื่อการทำงานนอกสถานที่ เป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีที่หักออกจากรายได้รวมของบริษัท ทำให้กำไรสุทธิของบริษัทลดลงและภาระภาษีที่บริษัทต้องจ่ายก็ลดลงไปด้วย ดังนั้น การลงค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางเป็นรายจ่ายจึงเป็นประโยชน์ในการบริหารภาษีและต้นทุนการดำเนินงาน โดยควรมีการระบุรายละเอียดดังนี้
1. มีระเบียบสวัสดิการในการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง
2. มีวัตถุประสงค์การเดินทาง
3. ลายเซ็นผู้อนุมัติ
สรุป ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง พนักงานไม่เสียภาษี บริษัทลงรายจ่ายได้
ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางคือ เงินที่บริษัทจ่ายให้พนักงานเมื่อจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกสถานที่หรือเดินทางไปปฏิบัติภารกิจนอกสำนักงาน โดยส่วนใหญ่จะไม่รวมเป็นรายได้ของพนักงาน ทำให้พนักงานไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มเติมจากค่าเบี้ยเลี้ยงที่ได้รับ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อบริษัท เนื่องจากสามารถบันทึกเป็นรายจ่ายทางบัญชี ช่วยลดภาระทางภาษีบริษัทและเพิ่มการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม บริษัทต้องจัดการค่าเบี้ยเลี้ยงตามเงื่อนไขของกฎหมาย เพื่อให้ใช้สิทธินี้ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ข้อกำหนดอาจแตกต่างกันตามแต่ละหน่วยงาน