PageView Facebook
date_range 01/11/2024 visibility 541 views
bookmark HR Knowledge
HRเช็กด่วน เลิกจ้างกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย - blog image preview
Blog >HRเช็กด่วน เลิกจ้างกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย

รู้ไว้ก่อนเลิกจ้าง! กฎหมายแรงงานระบุกรณีที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย มาดูกันว่ามีกรณีใดบ้างที่ HR ควรรู้


อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:


การเลิกจ้างพนักงาน

การเลิกจ้างเรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สร้างความกังวลใจให้แก่ทั้งนายจ้าง HR และพนักงาน ส่งผลให้ในกระบวนการเลิกจ้างนายจ้างและ HR (ผู้แทนนายจ้าง) จึงจำเป็นต้องมีความละเอียดและดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง “ค่าชดเชย” ซึ่งเป็นประเด็นที่นายจ้างและพนักงานให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งในบทความนี้ เราจึงจะพาทุกท่านมาเจาะลึกถึงกรณีที่นายจ้างหรือ HR สามารถเลิกจ้างพนักงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย


6 สาเหตุเลิกจ้างที่ไม่ได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย

เมื่อเข้าสู่กระบวนการเลิกจ้างพนักงาน กฎหมายกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามที่ระบุไว้ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีหากพนักงานกระทำผิดร้ายแรง นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าทดแทนกรณีว่างงาน ซึ่งมาตรา 119 ได้บัญญัติยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือพนักงานในการเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้


 

1. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

กรณีที่พนักงานกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ เช่น การขโมยทรัพย์สิน ปลอมแปลงเอกสาร หรือฉ้อโกงทางการเงิน ถือเป็นการกระทำความผิดที่ร้ายแรง ย่อมเป็นเหตุให้ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชย

 

2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

หากพนักงานมีเจตนาที่จะให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือข้อมูลสำคัญของบริษัท ก็เป็นอีกกรณีที่นายจ้างหรือ HR สามารถเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้

 

3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

การละเลยต่อหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อจนส่งผลให้บริษัทได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ทั้งที่สามารถคาดการณ์ได้ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้น ในกรณีนี้ นายจ้างหรือ HR สามารถเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

 

4. ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว

ในกรณีที่พนักงานไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับการทำงาน หรือได้ทำผิดระเบียบอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะเมื่อได้รับการตักเตือน (ใบเตือน) เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว แต่ยังคงละเลยหรือละเมิดกฎเดิม ในระยะเวลา 1 ปี การกระทำนี้ถือว่าเป็นความผิดที่สามารถเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ เนื่องจากเป็นการฝ่าฝืนซ้ำซ้อน

 

5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลานาน 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม

พนักงานละทิ้งหน้าที่ หรือขาดงานต่อเนื่องติดกัน 3 วันทำงาน โดยไม่แจ้งลา หรือไม่ชี้แจงเหตุผลที่สมควร นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีนี้ถือว่าเป็นการละทิ้งงานและขาดความรับผิดชอบในหน้าที่

 

6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

หากพนักงานต้องโทษจำคุก ย่อมส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรและสร้างความเสียหายให้นายจ้าง อย่างไรก็ตาม การเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือเงินทดแทนจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่พนักงาน "ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด" เท่านั้น

 

ข้อควรระวังในการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

การเลิกจ้างพนักงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชยจากกรณีที่กล่าวไปข้างต้นอาจทำให้เกิดข้อพิพาทในภายหลัง นายจ้างหรือ HR ควรมีหลักฐานและเอกสารที่ชัดเจนในการพิสูจน์ว่าการกระทำของพนักงานเป็นไปตามเงื่อนไขของการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เช่น รายงานการกระทำผิด สำนวนการสอบสวน หรือใบเตือนพนักงานที่ออกโดยนายจ้างหรือ HR (ผู้แทนนายจ้าง) เนื่องจากอาจเกิดการฟ้องร้องที่ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและพนักงานในภายหลัง

 

ดังนั้น การเตรียมข้อมูลและปฏิบัติตามกระบวนการอย่างโปร่งใสถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้นายจ้างลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ให้การเลิกจ้างพนักงานเป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นธรรม


สรุปกรณีใดบ้างที่เลิกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย

มาตรา 119 ได้บัญญัติยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือพนักงานในการเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ได้แก่ ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง, จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย, ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง, ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน, ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลานาน 3 วันทำงานติดต่อกัน และได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

 

อย่างไรก็ตาม การเลิกจ้างพนักงานเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีผลกระทบทางกฎหมาย นายจ้างและ HR ควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้