PageView Facebook
date_range 23/05/2024 visibility 43643 views
bookmark HR Knowledge
ปฏิทินภาษี 2567 ครึ่งปีหลัง ภาษีอะไรต้องยื่นแบบวันไหนบ้าง - blog image preview
Blog >ปฏิทินภาษี 2567 ครึ่งปีหลัง ภาษีอะไรต้องยื่นแบบวันไหนบ้าง

ผู้ประกอบการไม่ควรพลาด ปฏิทินภาษีอากร 2567 ในครึ่งปีหลังนี้ มีภาษีอะไร ต้องยื่นแบบหรือชำระวันไหนบ้าง มาเช็กกันในบทความนี้ได้เลย


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:

 

ว่าด้วยเรื่องของปฏิทินภาษี

ปฏิทินภาษีมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้นายจ้าง นักบัญชี และผู้เสียภาษี สามารถบริหารจัดการภาษีอากรต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากปฏิทินภาษีนั้นช่วยให้ทราบถึงกำหนดเวลาที่แน่นอนในการยื่นแบบแสดงรายการ ชำระภาษี รวมไปถึงการแจ้งข้อมูลต่าง ๆ ให้แก่กรมสรรพากร ซึ่งช่วยให้สามารถวางแผนการเงิน เตรียมเอกสารล่วงหน้าได้ทันท่วงที และที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงการเสียค่าปรับภาษี กรณีที่ยื่นภาษีล่าช้าอีกด้วย


เช็กปฏิทินภาษีอากร 2567 (ครึ่งปีหลัง)

อีกไม่นานก็จะถึงครึ่งปีหลังแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านก็เตรียมวางแผนเรื่องการยื่นภาษีในส่วนของครึ่งปีหลัง ดังนั้น เรามาเช็กปฏิทินภาษีอากร 2567 ครึ่งปีหลังกันดีกว่าว่าในครึ่งปีหลังนี้ มีภาษีอะไรต้องยื่นแบบในวันไหนบ้าง ไปดูกันเลย


ปฏิทินภาษีอากรเดือนกรกฎาคม 2567

ปฏิทินภาษีอากรประจำเดือนกรกฎาคม 2567 มีดังนี้



วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2567

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นแบบรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54)
  • นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

 

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2567

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54)
  • นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

 

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30
  • ยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40

 

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2567

กำหนดการยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30
  • ยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40

ปฏิทินภาษีอากรเดือนสิงหาคม 2567

ปฏิทินภาษีอากรประจำเดือนสิงหาคม 2567 มีดังนี้



วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54)
  • นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

 

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54)
  • นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

 

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30
  • ยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40

 

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30
  • ยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40

ปฏิทินภาษีอากรเดือนกันยายน 2567

ปฏิทินภาษีอากรประจำเดือนกันยายน 2567 มีดังนี้



วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 51)

หมายเหตุ กำหนดยื่นแบบในวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ตรงกับวันหยุดราชการ จึงได้เลื่อนเป็นวันที่ 2 กันยายน 2567

 

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2567

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54)
  • นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

 

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 51) สำหรับนิติบุคคลที่มีรอบบัญชีเริ่มต้น 1 ม.ค. - สิ้นสุด 31 ธ.ค.

 

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2567

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54)
  • นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

 

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30
  • ยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40

 

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2567

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30
  • ยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40

 

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2567

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94)

 

ปฏิทินภาษีอากรเดือนตุลาคม 2567

ปฏิทินภาษีอากรประจำเดือนตุลาคม 2567 มีดังนี้



วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2567

กำหนดยื่นแบบ

ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54)

นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

 

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม 2567

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94)

 

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2567

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54)
  • นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

 

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30
  • ยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40

 

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2567

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30
  • ยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40

ปฏิทินภาษีอากรเดือนพฤศจิกายน 2567

ปฏิทินภาษีอากรประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 มีดังนี้



วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2567

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54)
  • นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

 

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54)
  • นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

 

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30
  • ยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40

 

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2567

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30

ยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40


ภาษีอากรเดือนธันวาคม 2567

ภาษีอากรประจำเดือนธันวาคม 2567 มีดังนี้



วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54)
  • นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

 

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2567

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54)
  • นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

 

กำหนดยื่นแบบ

  • ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30
  • ยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40

 

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2567

กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

  • ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30
  • ยื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ. 40



สรุปปฏิทินภาษี 2567 ครึ่งปีหลัง ภาษีอะไรต้องชำระวันไหนบ้าง

โดยสรุปแล้ว ปฏิทินภาษีช่วยให้ทราบกำหนดเวลาที่แน่นอนในการชำระภาษีแต่ละประเภท ช่วยให้วางแผนการเงิน เตรียมเงินสำรองไว้ชำระภาษีล่วงหน้า หลีกเลี่ยงการเสียค่าเบี้ยปรับหากชำระล่าช้า เมื่อทราบปฏิทินภาษี 2567 ในครึ่งปีหลัง แล้วว่าต้องยื่นภาษีอะไร ในวันไหนบ้างแล้วนั้น อย่าลืมวางแผนภาษีกันอย่างรอบคอบนะคะ

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้