สิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว คุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายกี่กรณี อะไรบ้าง มีเงื่อนไขการคุ้มครอง และมีวิธีการยื่นอย่างไร? ไปดูกันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- รวมสิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย
- นายจ้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมออนไลน์เร็วทันใจด้วย e-Payment
- วิธีเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ ง่ายๆ ด้วยเลขบัตรประชาชน
- ความสำคัญและวิธีการส่งเงินสมทบประกันสังคม
- วิธีเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมง่าย ๆ ผ่าน SSO Connect
สิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว
สิทธิประกันสังคมไม่ได้รองรับแค่เพียงบุคคลสัญชาติไทยเท่านั้น แต่ยังรองรับผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย หรือที่เราเรียกว่า “คนต่างด้าว” โดยแรงงานต่างด้าวควรต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมที่จะได้รับ เนื่องจากสิทธิประกันสังคมมีความแตกต่างจากชาวไทย วันนี้เรามีเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับเรื่อง “สิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว” มาฝาก ไปติดตามกันเลย
สิทธิประโยชน์ที่แรงงานต่างด้าวจะได้รับ
สำนักงานประกันสังคมเน้นย้ำ แรงงานต่างที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม พร้อมดูแลสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์แรงงานต่างด้าว คุ้มครอง 7 กรณี โดยแรงงานต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย สิทธิประโยชน์ 7 กรณีที่แรงงานต่างด้าวจะได้รับ มีดังต่อไปนี้
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีว่างงาน
- กรณีคลอดบุตร
- กรณีการสงเคราะห์บุตร
- กรณีเจ็บป่วย หรือได้รับอันตรายจากการทำงาน
- กรณีชราภาพ
- กรณีเสียชีวิต
การยื่นประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว
- ยื่นได้หลังจากเข้าทำงานโดยมีหลักฐานใบอนุญาตการทำงานภายใน 30 วัน
- กรณีนายจ้างยังไม่ขึ้นทะเบียนสำนักงานประกันสังคมให้ทำการยื่น สปส.1-01 ไปก่อน
- กรณีขึ้นทะเบียนแล้ว ให้ทำการแจ้งผู้ประกันตน สปส.1-03 พร้อมกับหนังสือเดินทาง และใบอนุญาตในการทำงาน โดยต้องไปยื่นในพื้นที่ที่ทำงานกับนายจ้างเท่านั้น
- เมื่อยื่นแล้วนายจ้างต้องทำการจ่ายเงินประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนต่อไป ในรูปแบบ สปส.1-10
- สามารถโหลดแบบฟอร์มของ สปส.1-01 สปส.1-03 และสปส.1-10 ได้ที่ >> แบบฟอร์มของกองทุนประกันสังคม
หมายเหตุ: กรณีขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ต่างชาติ/ต่างด้าว ที่มี Smart Visa นายจ้างยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนสามารถใช้ Smart Visa แทนใบอนุญาตการทำงานได้เลย
เงื่อนไขการคุ้มครองแรงงานต่างด้าว
เกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับเงื่อนไขการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่ต้องการจะขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคม แรงงานต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- จะต้องเป็นแรงงานที่มีหนังสือเดินทาง หรือเอกสารแสดงตัวแทนหนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตการทำงาน (Work permit)
- จะต้องผ่านการพิสูจน์สัญชาติ โดยมีหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of identity) และใบอนุญาตการทำงาน (Work permit)
- หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าประเทศไทย แต่ได้รับการผ่อนผันให้สามารถทำงานชั่วคราวได้ เมื่อได้รับบาดเจ็บจากการทำงานต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ประกันสังคม เพื่อดำเนินการให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน ซึ่งจะได้รับจำนวนเงินเท่ากับแรงงานไทย
สรุป สิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว ครอบคลุมสิทธิด้านใดบ้าง?
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเรื่อง สิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว ที่เรานำมาฝากในวันนี้ ย้ำเตือนแรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยต้องนำส่งประกันสังคม ทางด้านสำนักงานประกันสังคม พร้อมดูแลสวัสดิการ-สิทธิประโยชน์แรงงานต่างด้าว คุ้มครองสิทธิประโยชน์ถึง 7 กรณี เพราะแรงงานทุกคนเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และข้อสำคัญคือ แรงงานต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงจะได้รับความคุ้มครองที่กล่าวมาข้างต้นนะคะ