PageView Facebook
date_range 25/09/2024 visibility 142 views
bookmark HR Knowledge
เงินชราภาพ ประกันสังคมคืออะไร สามารถขอคืนได้เมื่อไหร่ - blog image preview
Blog >เงินชราภาพ ประกันสังคมคืออะไร สามารถขอคืนได้เมื่อไหร่

รู้จักกับ “เงินชราภาพ” ประกันสังคมคืออะไร ขอคืนได้เมื่อไหร่ ใครมีสิทธิ์บ้าง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการได้รับสิทธิประกันสังคมในกรณีชราภาพ เพื่อวางแผนการเงินล่วงหน้า


อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:


เงินชราภาพ ประกันสังคมคืออะไร

รู้หรือไม่ เงินสมทบประกันสังคมที่เราจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมในทุก ๆ เดือนนั้น นอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร เสียชีวิต และว่างงานแล้วนั้น เรายังมีสิทธิ์ได้รับเงินเกษียณจากประกันสังคมเมื่ออายุครบ 55 ปี ในรูปแบบของเงินบำเหน็จ (เงินก้อน) หรือเงินบำนาญ (เงินรายเดือน) อีกด้วย!

 

เงินชราภาพ ประกันสังคม คืออะไร? เงินชราภาพประกันสังคม คือ เงินที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 สะสมไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอายุ โดยหักจากเงินเดือนของผู้ประกันตนทุกเดือน เป็นส่วนหนึ่งของเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เมื่อถึงอายุที่กำหนดและสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว ผู้ประกันตนก็สามารถขอรับเงินก้อนนี้มาใช้จ่ายได้ โดยเงินสมทบประกันสังคมนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

 

ส่วนที่ 1: ดูแลเรื่องเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, และเสียชีวิต (1.5% หรือ 225 บาท)

เงินส่วนนี้ใช้เพื่อให้ความคุ้มครองเมื่อเราเกิดเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ หรือทุพพลภาพ รวมถึงกรณีคลอดบุตรและการเสียชีวิต ถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่ได้ใช้สิทธิในช่วงเวลาทำงาน แต่เงินที่จ่ายไปในส่วนนี้จะไม่สามารถเรียกคืนได้

 

ส่วนที่ 2: เงินออมกรณีสงเคราะห์บุตร/ชราภาพ (3% หรือ 450 บาท)

เงินสมทบส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นเงินออมที่จะคืนให้เมื่ออายุครบ 55 ปีในรูปแบบของเงินบำเหน็จหรือบำนาญ สำหรับกรณีชราภาพ และยังครอบคลุมการให้เงินสงเคราะห์บุตรอีกด้วย

 

ส่วนที่ 3: ประกันการว่างงาน (0.5% หรือ 75 บาท)

เงินส่วนนี้ใช้สำหรับกรณีว่างงาน หากเกิดการตกงานหรือกำลังหางานใหม่ เราสามารถขอรับเงินช่วยเหลือรายได้ในระหว่างการว่างงาน แต่หากเราไม่ใช้สิทธิ์ เงินส่วนนี้จะไม่ได้รับคืนเช่นเดียวกัน


เงินชราภาพ ประกันสังคม ใครมีสิทธิ์ได้บ้าง

ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคม สามารถขอรับสิทธิกรณี “ชราภาพ” ได้ โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิกรณีชราภาพ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

 


กลุ่มที่ 1 ผู้ประกันตนตามมาตรา 33, 39 และ 40

  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ39: ต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
  • ผู้ประกันตนมาตรา 40: มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์  และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน หรือเมื่อเป็นผู้ทุพพลภาพ

 

กลุ่มที่ 2 ทายาทของผู้ประกันตนที่เสียชีวิต

  • ลูก หรือ ลูกบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
  • สามีหรือภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • บิดาหรือมารดา ที่ยังมีชีวิตอยู่ของผู้ประกันตน

เงินชราภาพ ประกันสังคม ขอรับเงินคืนได้ตอนไหน

  • ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับเงินชราภาพได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ต้องแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม
  • ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ต้องดำเนินการขอคืนเงินชราภาพ ประกันสังคม ภายในระยะเวลา 1 ปี หลังสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน

 

ขอรับเงินชราภาพได้ที่ไหน

การยื่นเอกสารเพื่อขอรับเงินชราภาพจากกองทุนประกันสังคมสามารถทำได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครในพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมในจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ โดยผู้ประกันตนต้องทำตามขั้นตอนและเงื่อนไขอย่างถูกต้อง

 

สิ่งสำคัญคือ การขอรับเงินชราภาพต้องดำเนินการภายใน 1 ปี นับจากวันที่ผู้ประกันตนมีสิทธิ์รับเงิน หากเกินจากกำหนดแม้แต่วันเดียว ผู้ประกันตนจะถูก ตัดสิทธิ์การรับเงินบำเหน็จหรือบำนาญ ทันที ดังนั้นควรวางแผนยื่นคำขอล่วงหน้าและติดตามข้อมูลสิทธิ์ให้ครบถ้วนเพื่อไม่พลาดสิทธิประโยชน์


หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิประกันสังคมในกรณีชราภาพ

การรับสิทธิประกันสังคมในกรณีชราภาพแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักคือ เงินบำนาญชราภาพ และ เงินบำเหน็จชราภาพ โดยมีเงื่อนไขแตกต่างกันดังนี้

 

1. กรณีเงินบำนาญชราภาพ

อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

ยุติการเป็นผู้ประกันตน: ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 (ทำงานกับนายจ้าง) และมาตรา 39 (ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ)

จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือน: ไม่ว่าระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบจะติดต่อกันหรือไม่ หากจ่ายครบ 180 เดือนก็มีสิทธิ์ได้รับเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งจะจ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต

 

2. กรณีเงินบำเหน็จชราภาพ

อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

ยุติการเป็นผู้ประกันตน: เช่นเดียวกับกรณีเงินบำนาญ ต้องยุติการเป็นผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39

จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน: หากจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับสิทธิ์เป็นเงินบำเหน็จชราภาพ จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว

 

หลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ

หากจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ครบ 12 เดือน จะได้รับเฉพาะ ส่วนที่ผู้ประกันตนจ่าย

หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับทั้งส่วนของผู้ประกันตน, ส่วนของนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี


สรุปเงินชราภาพ ประกันสังคมคืออะไร สามารถขอคืนได้เมื่อไหร่

กล่าวโดยสรุปคือ เงินชราภาพ หรือเงินบำเหน็จบำนาญในระบบประกันสังคม เป็นหลักประกันที่ทำให้มนุษย์เงินเดือนหรือผู้ประกันตนสามารถมั่นใจได้ว่าจะมีเงินออมไว้ใช้ในช่วงวัยเกษียณ โดยเงินชราภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งของเงินสมทบที่เราจ่ายเข้าสู่กองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยผู้ประกันตนสามารถขอรับเงินคืนได้ก็ต่อเมื่อ กรณีที่ 1 ผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือมาตรา 39 ที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน กรณีที่ 2 ผู้ประกันตน มาตรา 40 ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน หรือจ่ายให้แก่ทายาท (เงินชราภาพ กรณีเสียชีวิต)

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้