PageView Facebook
date_range 08/10/2024 visibility 214 views
bookmark HR Knowledge
บริษัทห้ามลาพักร้อน ลากิจเกิน 3 วันต่อเดือน กฎแบบนี้ทำได้ไหม - blog image preview
Blog >บริษัทห้ามลาพักร้อน ลากิจเกิน 3 วันต่อเดือน กฎแบบนี้ทำได้ไหม

บริษัทมีกฎระเบียนว่าห้ามลากิจ ลาพักร้อนเกิน 3 วันต่อเดือน แบบนี้บริษัททำได้ไหม? ถูกหลักกฎหมายแรงงานหรือเปล่า? มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้เลย


อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:


บริษัทออกกฎ “ห้ามลาพักร้อน ลากิจเกิน 3 วันต่อเดือน”

หลาย ๆ คนอาจเคยเจอกับสถานการณ์ที่บริษัทออกกฎว่า “ห้ามพนักงานลางานเกิน 3 วันต่อเดือน” โดยแบ่งเป็นลากิจได้ 1 วัน ลาพักร้อนได้ 2 วัน แต่การลาอื่น ๆ เช่น ลาป่วย ลาคลอด เป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดนั้น จึงทำให้หลาย ๆ คนตั้งข้อสงสัยว่ากฎแบบนี้บริษัทสามารถทำได้หรือไม่ ถูกต้องตามหลักกฎหมายแรงงานหรือเปล่า? มาหาคำตอบไปพร้อมกันเลย


กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิการลางาน

กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการลากิจ

  • พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 34 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดให้ “ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน”
  • ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลากิจเพื่อกิจธุระอันจำเป็น เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 3 วันทำงาน

 

กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องลาพักร้อน

  • พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 กำหนดให้ “ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี มีสิทธิ์หยุดพักผ่อนประจำปีได้ ปีละไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน”
  • ได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติ
  • โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้า หรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกัน

 

Tips! อ่านบทความเพิ่มเติม >> ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน


ห้ามลาพักร้อน และลากิจเกิน 3 วันต่อเดือน กฎแบบนี้ทำได้ไหม?



จากสถานการณ์ที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าในกรณีที่บริษัทได้ออกกฎว่าห้ามพนักงานลางานเกิน 3 วันต่อเดือน โดยแบ่งออกเป็นลาพักร้อน 2 วัน และลากิจอีก 1 วัน แต่การลาอื่น ๆ เช่น ลาป่วย ลาคลอด เป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดนั้น ขอชี้แจงเป็นกรณีดังนี้

 

กรณีนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปี เดือนละ 2 วัน

 หากนายจ้างกำหนดให้หยุดพักผ่อนประจำปีหรือ ลาพักร้อน เดือนละ 2 วัน ถือว่าเป็นการจำกัดจำนวนวันหยุดในแต่ละเดือน ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่า วันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นสิทธิ์ที่นายจ้างสามารถจัดให้ลูกจ้างได้ตามนโยบาย ดังนั้น การกำหนดโควตาให้หยุดไม่เกินเดือนละ 2 วันจึงสามารถทำได้

 

วันลากิจธุระอันจำเป็น เดือนละ 1 วัน

สำหรับ วันลากิจ นายจ้างอาจกำหนดเงื่อนไขการลากิจได้ ส่วนการพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับว่าเหตุผลของการลาเป็น "ธุระอันจำเป็น" หรือไม่ อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ได้ระบุชัดเจนว่าการลากิจ 3 วันต่อปีต้องจำกัดไม่เกิน 1 วันต่อเดือน ดังนั้น หากบริษัทตั้งกฎให้ลากิจได้ไม่เกิน 1 ครั้งต่อเดือน ถือว่าขัดต่อกฎหมายและเป็นโมฆะ


บริษัทสามารถกำหนดกฎห้ามลางานเกิน 3 วันต่อเดือนได้หรือไม่?

แล้วถ้ากรณีที่บริษัทห้ามให้พนักงานลางานเกิน 3 วันต่อเดือน โดยรวมทั้งลาพักร้อน ลากิจ และลาป่วย รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 3 วันต่อเดือน แบบนี้ทำได้หรือไม่?

 

ตอบเลยว่า “ไม่ได้” ตามที่ทุกคนทราบกันเป็นอย่างดีว่า “ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ซึ่งการลาป่วยนั้นลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี” ดังนั้น การที่บริษัทตั้งกฎห้ามลาป่วยเกิน 3 วันต่อเดือนอาจขัดกับกฎหมาย

 

ส่วนการลาพักร้อน บริษัทอาจกำหนดกฎเกณฑ์การอนุมัติการลาหรือระยะเวลาการลาตามนโยบายภายในได้ แต่ต้องไม่ขัดกับสิทธิตามที่กฎหมายแรงงานให้ไว้ เช่น พนักงานที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิ์ลาพักร้อนได้ 6 วันต่อปี



สรุปบริษัทห้ามลาพักร้อน ลากิจเกิน 3 วันต่อเดือน กฎแบบนี้ทำได้ไหม

กล่าวโดยสรุป กรณีที่นายจ้างออกกฎให้พนักงานลาพักร้อน และลากิจไม่เกิน 3 วันต่อเดือนนั้น โดยแบ่งออกเป็นลาพักร้อน 2 วัน และลากิจ 1 วัน แต่การลาป่วย ลาคลอด ให้เป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด ขอแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้ กรณีลาพักร้อน นายจ้างสามารถกำหนดให้พนักงานลาพักร้อนได้ไม่เกิน 2 วันต่อเดือนตามนโยบายของบริษัท ซึ่งถือว่าถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนการลากิจกำหนดให้ลากิจได้ไม่เกิน 1 วันต่อเดือนขัดต่อกฎหมายแรงงาน เพราะลูกจ้างต้องมีสิทธิลากิจอย่างน้อย 3 วันต่อปี การจำกัดเช่นนี้จึงถือว่าเป็นโมฆะ

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้