“ปัญหาพนักงานมาทำงานสาย” เชื่อว่าเป็นปัญหาที่ทุกองค์กรต่างต้องพบเจอ วันนี้ HumanSoft ได้รวบรวมวิธีการรับมือสำหรับ HR มาฝาก มาหาคำตอบกันได้จากบทความนี้เลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- ลูกทีมลางานกะทันหัน หัวหน้างานรับมืออย่างไรดี?
- ปัญหาบุคคลในองค์กรที่ HRM ควรเตรียมรับมือ
- แนวทางรับมือปัญหาขาดแคลนแรงงาน สำหรับผู้ประกอบการ
- 5 วิธีรับมือกับ Generation Gap ช่องว่างระหว่างวัยในการทำงาน
- ตัวอย่างรายงานสถิติการขาด ลา มาสาย จาก HumanSoft
ปัญหาการมาทำงานสาย
ปัญหาการมาทำงานสายของพนักงาน ถือเป็นปัญหาหนึ่งในองค์กรที่นายจ้าง และ HR ไม่ควรมองข้าม ถึงแม้ว่าการมาสายจะดูไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร แต่ก็นับว่าเป็นปัญหาที่ทำให้วัฒนธรรมองค์กรไม่เป็นระเบียบ และอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานภายในองค์กรด้วยเช่นกัน
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการที่องค์กรมีปัญหาพนักงานมาทำงานสาย
1. ผลกระทบต่อการดำเนินงาน เมื่อพนักงานมาทำงานสายอาจทำให้งานหรือกิจกรรมในหน้าที่รับผิดชอบเกิดปัญหา ล่าช้าลง หรือไม่สำเร็จลุล่วงตามแผนงาน
2. ผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของทีมและบรรยากาศในการทำงาน เมื่อพนักงานมาทำงานสายอาจทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันระหว่างคนในทีม เกิดความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์การได้เปรียบ เสียเปรียบ จนอาจทำให้บรรยากาศการทำงานตึงเครียด
3. ผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร เมื่อพนักงานมาทำงานสายอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรต่อลูกค้าหรือคู่ค้า ซึ่งอาจทำให้องค์กรดูไม่มีความเป็นระเบียบหรือมีการจัดการที่ไม่ดี
ดังนั้นนายจ้างหรือ HR จึงควรให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว และเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นระบบระเบียบมากขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหานี้
วิธีแก้ไขปัญหาพนักงานมาทำงานสาย มีวิธีไหนบ้าง
วิธีการแก้ไขปัญหาพนักงานมาทำงานสายเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างเป็นระเบียบ มีดังนี้
1. กำหนดกฎระเบียบขององค์กรที่ชัดเจน
ทำความเข้าใจกับพนักงานอย่างชัดเจนว่าองค์กรให้ความสำคัญเรื่องการมาสายอย่างไร สร้างข้อตกลงหรือกฎระเบียบและแจ้งให้พนักงานรับทราบเข้าใจตั้งแต่แรกก่อนเริ่มงาน และมีการกำหนดโทษทางวินัยหากพนักงานทำผิดกฎ โดยอาจทำเป็นลำดับขั้นตอน เช่น
- มาสายครั้งที่ 1-3 มีการตัดเงินรางวัล เช่น เบี้ยขยัน โบนัส ฯลฯ
- มาสายครั้งที่ 4 เรียกพนักงานมาตักเตือนด้วยวาจา
- มาสายครั้งที่ 5 มีการออกหนังสือเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
- มาสายครั้งที่ 6 เป็นต้นไป มีการพิจารณาโทษขั้นผิดวินัยรายแรง เช่น พักงาน หรือให้พ้นสภาพพนักงาน
2. สร้างแบบอย่างที่ดี
การมีแบบอย่างที่ดีเพื่อนำร่องให้พนักงานที่เข้ามาใหม่เกิดความตื่นตัวก็ถือเป็นวิธีที่น่าสนใจ โดยเริ่มจากบุคคลที่เป็นหัวหน้างาน เมื่อหัวหน้างานเป็นแบบอย่างเรื่องการตรงต่อเวลาให้ลูกน้องเห็น ลูกน้องก็จะตระหนักถึงความเกรงใจและไม่กล้ามาสาย แต่ถ้าหัวหน้างานยังมาสาย ลูกน้องก็อาจจะคิดว่าแม้แต่หัวหน้าก็ยังทำได้ตนจึงทำบ้างเช่นกัน
3. สร้างแรงจูงใจพนักงานด้วยสวัสดิการหรือรางวัลพิเศษสำหรับคนเข้างานตรงเวลา
สร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงานด้วยการเสนอสวัสดิการพิเศษสำหรับพนักงานที่มีการลงเวลาเข้าออกงานตรงต่อเวลา โดยอาจเสนอมอบเป็นเบี้ยขยัน หรือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติพิจารณาประเมินเป็นพนักงานดีเด่น ซึ่งจะได้รับสวัสดิการพิเศษ เช่น เพิ่มวันลาพักร้อน เงินโบนัส หรือปรับขึ้นเงินเดือน เป็นต้น
4. พูดคุยสื่อสารถึงสาเหตุการมาสายกับพนักงานโดยตรงเพื่อแก้ปัญหา
การที่นายจ้างหรือ HR สามารถพูดคุยกับพนักงานอย่างเข้าใจและตรงไปตรงมา ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้พนักงานกล้าที่จะพูดความจริงเกี่ยวกับสาเหตุการมาสาย บางครั้งพนักงานอาจมีเหตุจำเป็นฉุกเฉินจึงทำให้ไม่สามารถมาตรงเวลาได้ เช่น เกิดอุบัติเหตุจากการเดินทาง หรือเกิดปัญหาด้านสุขภาพเจ็บป่วย เป็นต้น เมื่อพูดคุยกันเข้าใจองค์กรก็สามารถพิจารณาอนุโลมตามเหตุอันควร หรืออาจคิดวิธีช่วยพนักงานหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป แต่หากเป็นสาเหตุจากการขาดวินัยของตัวพนักงานเอง องค์กรก็สามารถกำหนดโทษให้กับพนักงานได้เช่นกัน
5. ให้รางวัลจูงใจกับพนักงานที่ไม่เคยมาทำงานสาย
การให้รางวัลพิเศษแก่พนักงานที่ไม่เคยมาสายเลย เช่น เบี้ยขยัน ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถจูงใจพนักงานที่มาสายให้มาทำงานเร็วขึ้นได้
สรุปวิธีรับมือกับปัญหาการมาทำงานสายของพนักงาน
ปัญหาพนักงานมาทำงานสายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบวัฒนธรรมขององค์กร ทั้งยังอาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพของงานภายในองค์กร ดังนั้นนายจ้างหรือ HR จึงไม่ควรมองข้ามปัญหาดังกล่าว และควรตระหนักถึงวิธีการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างเป็นระเบียบเพื่อรับมือกับปัญหานี้ด้วยเช่นกัน