หลายครั้งที่ HR มีคำถามว่า ระหวาง “ช่วงทดลองงาน” หรือที่เรียกกันว่า “ยังไม่ผ่านโปร” (Probation) สามารถขอลากิจ หรือลาป่วยได้หรือไม่? ลากิจได้กี่วัน ลาป่วยได้กี่วัน และรายละเอียดตามกฎหมายแรงงานอย่างไรบ้าง
บทความเกี่ยวข้องที่คุณอาจสนใจ :
- ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน
- ห้ามพลาด! กฎหมายแรงงานที่ลูกจ้างไม่ควรมองข้าม
- ลูกทีมลางานกะทันหัน หัวหน้างานรับมืออย่างไรดี?
- ตรวจสอบโควต้าวันลางานง่ายๆ ด้วยระบบลางานออนไลน์
- HR ควรรู้! กฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงาน ตามกฎหมายแรงงาน
Q : พนักงานยังไม่ผ่านโปร ลากิจ ลาป่วยได้ไหม?
A : คำตอบคือ “ลาได้” หากมีความจำเป็นจริงๆ ที่ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้ รวมถึงการลาป่วยด้วย
เพราะ ตามกฎหมายแรงงานระบุว่า “ลูกจ้าง” ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงการทดลองงานหรือได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำแล้ว ก็ย่อมได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 34 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 หมายความว่า ลูกจ้างที่อยู่ระหว่างทดลองงานก็สามารถ “ลางาน” ได้เช่นกัน
Q : แล้วการลากิจลาป่วย ของลูกจ้างที่ยังไม่ผ่านโปรนั้น จะได้รับเงินตามปกติหรือไม่?
A : คำตอบคือ ตามกฎหมายแรงงานแล้ว การ “ลางาน” เมื่อมีเหตุจำเป็นขณะที่อยู่ระหว่างการทดลองงาน ยังสามารถรับค่าจ้างได้ตามปกติ โดยมีเงื่อนไขกำหนด
ซึ่งลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี และมีสิทธิลากิจได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 3 วันทำงานต่อปี เช่นเดียวกับลูกจ้างที่ผ่านการบรรจุแล้ว แต่หากพบว่า “ลาเท็จ” นายจ้างสามารถพิจารณาให้ไม่ผ่านการทดลองงานได้
สรุปการลากิจ ลาป่วยของพนักงานที่ยังไม่ผ่านโปร
HR ที่เป็นผู้ดูแลระบบการลากิจ ลาป่วยต่างๆ ของพนักงานทุกคนในองค์กร จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านการลา ตามกฎหมายแรงงาน เพราะถึงแม้ว่าองค์กรจะระบุหลักเกณฑ์การลาต่างๆ ไว้อย่างชัดเจนในสัญญาจ้างว่าลูกจ้างจำเป็นต้องผ่านโปรก่อน จึงจะมีสิทธ์ใช้วันลาได้ แต่ความเป็นจริงก็คือ สิทธิวันลากิน และลาป่วยนั้น ไม่เหมือนกับวันลาหยุดพักผ่อนประจำปี หรือ ลาพักร้อน ที่จะลาได้ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขขององค์กรเท่านั้น