ปัญหามลพิษทางอากาศ หรือ “PM 2.5” นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบกับการทำงานภายในออฟฟิศอีกด้วย จะมีแนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ไปดูกันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- จัดการToxic Workplaceวิธีเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานให้ดีขึ้น
- 6 นิสัยหัวหน้างาน Toxic ที่องค์กรต้องเตรียมรับมือก่อนจะสาย
- 8 Tips แชร์วิธีในการสร้าง Happy Workplace ให้กับพนักงาน
- 5 Tips แนวทางพัฒนาตนเองให้ทำงานได้อย่าง HealthyและProductive
“PM 2.5” กับการทำงานในออฟฟิศ
PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองใหญ่ที่มีการจราจรหนาแน่นและมีกิจกรรมทางอุตสาหกรรมสูง
สาเหตุการเกิด PM 2.5
PM 2.5 เกิดจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ โดยสาเหตุการเกิดมลพิษ มีดังนี้
- แหล่งกำเนิดธรรมชาติ เช่น ฝุ่นจากดินทราย ละอองเกลือจากทะเล หรือเถ้าภูเขาไฟ ที่สามารถปล่อยฝุ่นขนาดเล็กเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
- การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ควันจากยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า และเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งปล่อยฝุ่นละอองและก๊าซมลพิษที่สามารถรวมตัวกันเป็น PM 2.5
- การเผาในที่โล่ง เช่น ประชาชนมีการเผาขยะ เผาไร่อ้อย หรือตอซังข้าว ซึ่งการกระทำนี้ ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศอย่างรุนแรง
- ไฟป่า ไฟป่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพอากาศ ทำให้เกิดฝุ่นละอองจำนวนมากที่กระจายตัวไปไกล
- กระบวนการทางอุตสาหกรรม เช่น การผลิตซีเมนต์ เหล็กกล้า และเคมีภัณฑ์ ซึ่งก่อให้เกิดฝุ่นละอองในกระบวนการผลิต
- ฝุ่นจากการก่อสร้างและการจราจร การขุดเจาะ การรื้อถอน และการขนส่งวัสดุก่อสร้างทำให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจาย
PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอย่างไรบ้าง?
PM 2.5 ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในออฟฟิศอีกด้วย
ผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน
- สุขภาพทางเดินหายใจ: ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถเข้าสู่ปอดและกระแสเลือด
- ส่งผลให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ: เช่น หอบหืด หลอดลมอักเสบ หรือโรคปอดเรื้อรัง
- อาการระคายเคือง: ฝุ่นละอองอาจทำให้เกิดอาการแสบตา คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือแม้แต่ผิวหนังอักเสบ
ผลกระทบกับการทำงาน
- สมาธิลดลง: พนักงานอาจรู้สึกง่วง อ่อนเพลีย หรือไม่มีสมาธิในการทำงาน
- ประสิทธิภาพการทำงาน: การสูด PM 2.5 เป็นเวลานานอาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หรือมีภาวะสมองล้า (Brain Fog) ซึ่งลดประสิทธิภาพในการทำงาน
- อัตราการลาป่วยเพิ่มขึ้น: พนักงานที่ป่วยบ่อยจากมลพิษอาจต้องลางานบ่อยขึ้น ส่งผลกระทบต่อการทำงานของทีม
- เกิดภาวะเครียด: เมื่อพนักงานต้องทำงานในสภาพอากาศที่ไม่ดี อาจเกิดความเครียดและความไม่พอใจในการทำงาน
แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ PM 2.5 ในออฟฟิศ
แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ PM 2.5 ภายในออฟฟิศ ที่องค์กรต้องรีบจัดการ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพและกระทบกับการทำงานในระยะยาว
มาตรการภายในองค์กร
- ปิดหน้าต่างและใช้ระบบระบายอากาศที่เหมาะสม
- เพิ่มต้นไม้ที่ช่วยดูดซับมลพิษทางอากาศในออฟฟิศ
- ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศที่สามารถกรอง PM 2.5 ได้
- ตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร
- ทำความสะอาดพื้นที่ทำงานเป็นประจำ
มาตรการดูแลพนักงาน
- แจกหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5
- หากมลพิษรุนแรงให้พนักงาน Work from Home ได้
- ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการป้องกันผลกระทบของ PM 2.5
- จัดพื้นที่พักผ่อนที่อากาศถ่ายเทสะดวก
สรุป วิธีรับมือเมื่อ PM 2.5 ส่งผลกระทบกับการทำงานในออฟฟิศ
โดยสรุปแล้ว PM 2.5 ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ยังส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานในออฟฟิศอีกด้วย ฝุ่นละออง PM 2.5 ทำให้พนักงานเกิดอาการเจ็บป่วย เช่น หายใจลำบาก หรืออ่อนเพลีย ส่งผลให้สมาธิและประสิทธิภาพการทำงานลดลง ดังนั้น การมีมาตรการป้องกันและแก้ไขที่เหมาะสมจะช่วยลดผลกระทบและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและปลอดภัยสำหรับพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ