มาทำความรู้จักกับ ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ว่าคืออะไร ผู้มีหน้าที่หักภาษีต้องทำอะไรบ้าง และหากไม่ยื่นแบบตามกำหนดจะมีบทลงโทษอย่างไร ไปหาคำตอบได้จากบทความนี้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- วิธียื่น ภ.ง.ด.1ก สำหรับ HR
- วิธียื่นภาษีออนไลน์ผ่าน E-FILING ที่มนุษย์เงินเดือนห้ามพลาด
- 7 เทคนิคการวางแผนงานสำหรับหัวหน้างาน
- 5 ข้อดีของ Payroll Software ตัวช่วยสำคัญงาน HR
- ปฏิทินภาษี 2567 ครึ่งปีหลัง ภาษีอะไรต้องยื่นแบบวันไหนบ้าง
ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 คืออะไร?
- ภ.ง.ด. 3 คือ แบบยื่นแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่ายของนิติบุคล ที่ทำธุรการกับบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของธุรกิจ (นิติบุคล) มีหน้าที่หักออกจากค่าจ้างก่อนที่จะจ่ายเงิน
- ภ.ง.ด. 53 คือ แบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระหว่างนิติบุคคลด้วยกัน
ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องทำอย่างไร
- ขอข้อมูลผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงินได้ (ตามอัตราที่กำหนดตามประมวลรัษฎากร)
- จัดทำหนังสือรับรองภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ที่ถูกหักภาษีทุกครั้งที่ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยต้องทำการส่งฉบับจริงให้กับผู้ถูกหักและเก็บสำเนาเพื่อใช้ประกอบการยื่นแบบภาษี ณ ที่จ่าย
- ยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 หรือ ภ.ง.ด.53 พร้อมนำส่งภาษีที่หักไว้ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ้องจ่ายเงิน
ประเภทของเงินได้ ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53
เงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.3
- เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
- เงินได้จากการประกอบอาชีพอิสระ เช่น การประกอบโรคศิลปะ, วิศวกรรม, กฎหมาย และการบัญชี เป็นต้น
- เงินได้จากการรับเหมา โดยผู้รับเหมาเป็นผู้ลงทุนในการจัดหาสิ่งของเพิ่มเติมนอกจากเครื่องมือที่มีอยู่
- เงินได้จากธุรกิจ การเกษตร การพาณิชย์ และการอุตสาหกรรม ที่ถูกกำหนดไว้ดังนี้
เงินรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ที่ได้จากการส่งเสริมการขาย
เงินที่ได้จากการขนส่ง
เงินรางวัลจากการประกวด การชิงโชค การแข่งขัน เป็นต้น
เงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ
เงินได้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.53
- เงินที่ได้มาจากการขายสินค้าที่เป็นพืชผลทางการเกษตรบางประเภท, ดอกเบี้ยจากตั๋วเงิน, ดอกเบี้ยเงินฝากจากธนาคาร, เงินปันผล และเงินได้จากการให้เช่าสินทรัพย์ เป็นต้น
- เงินได้จากค่าขนส่ง ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ
- เงินได้ตามมาตรา 40 (8) เฉพาะกรณีที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ
- เงินได้จากค่าเบี้ยประกันวินาศภัย เฉพาะกรณีที่จ่ายให้แก่บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย
การยื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย
การยื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย มี 2 วิธี สามารถยื่นแบบได้ดังนี้
- ยื่นแบบด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากรในพื้นที่ หรือสาขาในท้องที่ที่ผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่
- ยื่นแบบและชำระภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ ผู้นำส่งต้องสมัครสมาชิกกับทางเว็บไซต์กรมสรรพากร ก่อน โดยการยื่นแบบจะได้รับสิทธิพิเศษให้ขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน
บทลงโทษหากไม่ยื่นแบบตามกำหนด
- ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายมิได้หักและนำส่ง หรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ โดยการชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้วแต่ไม่ได้นำส่ง ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดชำระ ภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว
- ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หัก นำส่งภายในกำหนด จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องนำส่ง ทั้งนี้ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯ และนำส่งภาษี เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ผู้ใดเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สรุปบทลงโทษหากไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ตามกำหนด
โดยสรุปแล้ว ภ.ง.ด.3 คือ แบบยื่นแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่ายของนิติบุคล ที่ทำธุรการกับบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของธุรกิจ (นิติบุคล) มีหน้าที่หักออกจากค่าจ้างก่อนที่จะจ่ายเงิน และ ภ.ง.ด.53 คือ แบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระหว่างนิติบุคคลด้วยกัน โดยผู้มีหน้าที่หักภาษีต้องทำการขอข้อมูลของตนเอง, ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้ง เป็นต้น รวมถึงสามารถเช็กข้อมูลได้จากปฏิทินภาษี 2567 เพื่อไม่ให้พลาดกับข้อมูลสำคัญได้เช่นกัน
ย้ำเตือนหากผู้ใดเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ