PageView Facebook
date_range 27/12/2023 visibility 69130 views
bookmark HR Knowledge
HR ควรรู้! ตามกฎหมายแรงงาน ห้ามบังคับลูกจ้างทำโอที - blog image preview
Blog >HR ควรรู้! ตามกฎหมายแรงงาน ห้ามบังคับลูกจ้างทำโอที

เตือนนายจ้าง! โอทีตามกฎหมายแรงงาน ห้ามบังคับลูกจ้างทำโอที หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำทั้งปรับ การจ้างงานนอกเวลามีข้อกำหนดใดบ้างที่นายจ้างต้องรู้ บทความนี้มีคำตอบ


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


OT คืออะไร?



OT หรือที่ย่อมาจากคำว่า Overtime คือ การทำงานนอกเหนือจากเวลาทำงานปกติ ซึ่งเวลาทำงานปกติที่กำหนดไว้อยู่ที่ 8 ชั่วโมง/วัน หรือ ไม่เกิน 12 ชั่วโมง/วัน และที่สำคัญต้องทำงานไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ อยู่ที่นายจ้างและพนักงานทำข้อตกลงยินยอมกันทั้งสองฝ่าย บริษัทต้องจ่ายโอที ให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานไทย หากฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำและปรับ


กฎหมายคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลา (OT)



นายจ้างรู้หรือไม่? กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีข้อกำหนดที่นายจ้างควรรู้ก่อนให้ทำลูกจ้างทำOT สิ่งที่ผู้ประกอบการและลูกจ้างต้องรู้ เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานในด้านทำงานล่วงเวลามีรายละเอียดดังต่อไปนี้


การแจ้งล่วงหน้า

นายจ้างต้องแจ้งลูกจ้างล่วงหน้าเกี่ยวกับการทำงานโอที เพื่อให้ลูกจ้างมีเวลาเตรียมตัวและต้องมีเวลาพัก 20 นาที ก่อนเริ่มทำงาน


ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา

สถานประกอบการ ต้องกำหนดเวลาการทำงานล่วงเวลาของลูกจ้าง (ส่วนที่เกินจากการทำงานสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง) ไม่เกินสัปดาห์ละ 24 ชั่วโมงใน 1 ปีแรก หลังจากได้รับการรับรองมาจรฐานแล้ว ในปี่ 2 ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 18 ชั่วโมง และในปีถัดไป ต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของลักษณะงาน

 

นายจ้างห้ามให้ลูกจ้างทำงานวันหยุด

ยกเว้นในกรณี หากการหยุดงานจะส่งผลให้งานเกิดความเสียหาย หรือเป็นงานจำเป็นและเร่งด่วน แต่ต้องได้รับการยินยอมจากลูกจ้างก่อนเท่านั้น จึงจะมีการจ้างงานในวันหยุดได้


นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้

ในกรณีเป็นกิจการเกี่ยวกับ การโรงแรม งานขนส่ง ร้านอาหาร สถานพยาบาล หรือกิจการอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการผลิต การจำหน่ายและบริการ และการรักษาพยาบาล เป็นต้น โดยต้องได้รับการยินยอมจากลูกจ้างก่อนเช่นเดียวกัน


โทษทางกฎหมาย หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน



เมื่อลูกจ้างทำงานล่วงเวลาแล้ว นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลา (OT) ให้ลูกจ้าง ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานปกติตามจำนวนวันที่ทำ และหากทำงานล่วงเวลาในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา (OT) ให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานปกติตามจำนวนวันที่ทำ หากนายจ้างฝ่าฝืนจะมีความผิดทางกฎหมาย โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


คำแนะนำสำหรับ HR ในการจ่าย OT



HR ทุกคนควรให้ความสำคัญกับเรื่องการจ่ายโอที โดย HR ควรจัดทำแผนการจ่ายโอทีให้ชัดเจน และต้องเข้าใจถึงสิทธิของลูกจ้างในเรื่องการทำงานล่วงเวลา รวมถึงต้องอธิบายให้ลูกจ้างทราบถึงวิธีการคำนวณค่าโอที และสิทธิ์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างพึงได้รับโดยละเอียดและชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมภายในองค์กร


สรุปนายจ้างห้ามบังคับลูกจ้างทำโอที (OT)


หากนายจ้างต้องการให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา สิ่งสำคัญคือ ต้องได้รับการยินยอมจากลูกจ้างก่อน  และนายจ้างต้องจ่ายค่าโอทีให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานปกติตามจำนวนวันที่ทำ และหากทำงานล่วงเวลาในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าโอทีให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานปกติตามจำนวนวันที่ทำ หากนายจ้างฝ่าฝืนจะมีความผิดทางกฎหมาย โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้