สิทธิการลาคลอดตามกฎหมายแรงงาน ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ไว้ พร้อมกับการนับวันลาคลอดว่ารวมวันหยุดหรือไม่ หาคำตอบได้ในบทความนี้
บทความเกี่ยวกับการลางานที่คุณอาจสนใจ :
- ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน
- ตรวจสอบโควต้าวันลางานง่ายๆ ด้วยระบบลางานออนไลน์
- เหตุผลลางานสำคัญที่ทำให้ผู้คนตัดสินใจลางาน
- ลูกทีมลางานกะทันหัน หัวหน้างานรับมืออย่างไรดี?
- ระบบลางานออนไลน์ ง่ายๆ ผ่าน Application
- เหตุผลที่ HR ควรใช้ระบบแจ้งวันลาพนักงาน ช่วยจัดการข้อมูลการลา
- วิธีคำนวณสิทธิวันลาพักร้อนที่ HR ควรรู้
Q : ลาคลอดได้กี่วัน? ตามกฎหมายแรงงาน
ตามกฎหมายแรงงานแล้ว ลูกจ้างทุกคนจะต้องได้สิทธิวันลางาน ไม่ว่าจะเป็น ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจ หรือการลาคลอด ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์จะได้สิทธิวันลาคลอด ที่ช่วยให้คุณแม่ได้ดูแลทารกอย่างเต็มที่ทั้งก่อนและหลังคลอด เพราะการดูแลลูกตั้งแต่เล็กๆ นั้น มีผลต่อการพัฒนาและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกน้อยในระยะยาว ดังนั้น สิทธิการลาคลอดของคุณแม่ตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากที่คุณแม่ทุกคนต้องหาข้อมูลเพื่อการเตรียมตัวไว้ก่อน โดยการลาคลอดตามกฎหมายจะมีรายละเอียดดังนี้
A : คุณแม่ตั้งครรภ์มีสิทธิลาคลอดตามกฎหมายแรงงาน ดังนี้
วันลาคลอดสำหรับคุณแม่ที่รับราชการ
คุณแม่ที่รับราชการนั้น มีสิทธิลาคลอดได้ 98 วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ โดยได้รับเงินเดือนตามปกติ และสามารถยังสามารถลาเพิ่มได้อีกไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับเงินในอัตรา 50% สามารถเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดได้ครั้งละ 400 บาท และได้รับเงินสวัสดิการสำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเดือนละ 50 บาทต่อคน โดยเงินช่วยเหลือบุตรนี้ จะได้ไม่เกิน 3 คน และได้ต่อเนื่องจนอายุ 18 ปีบริบูรณ์
วันลาคลอดสำหรับคุณแม่ที่ทำงานในรัฐวิสาหกิจ
คุณแม่ที่ทำงานรัฐวิสาหกิจมีสิทธิลาคลอดได้ 60 วัน โดยได้รับเงินเดือนตามปกติและลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 30 วันโดยไม่ได้รับเงินเดือน อีกทั้งยังสามารถเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดบุตรได้ครั้งละ 400 บาท ไม่รวมค่ารักษาพยาบาลซึ่งส่วนนี้สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามระเบียบพนักงานรัฐวิสาหกิจ และยังได้รับเงินช่วยเหลือบุตรจำนวน 50 บาทต่อคนต่อเดือน
วันลาคลอดสำหรับพนักงานเอกชน
คุณแม่ที่ทำงานเอกชนมีสิทธิลาคลอดได้ 98 วันโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์เช่นกัน โดยได้รับเงินเดือน 45 วันจากนายจ้าง และสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่าย 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน จากประกันสังคม (เฉพาะบุตรคนที่ 1-2) โดยคิดจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท และยังได้รับสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่ายได้ครั้งละ 15,000 บาท ทั้งแบบผ่าและคลอดธรรมชาติ ทั้งนี้คุณแม่สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและดูเอกสารในการยื่นประกันสังคมได้ที่>> กรณีคลอดบุตรประกันสังคม
การนับวันลาคลอด
อย่างที่กล่าวข้างต้นคือสิทธิวันลาคลอดที่กำหนดไว้ 98 วัน นั้น นับรวมวันหยุดราชการที่อยู่ในช่วงวันลาด้วย ซึ่งคุณแม่สามารถใช้ 8 วันเพื่อลาพบแพทย์ช่วงก่อนคลอดจนถึงตรวจสุขภาพหลังคลอดได้เดือนละ 1 ครั้ง และการลาคลอดนั้นจะนับแบบรวดเดียว 90 วัน ไม่สามารถแบ่งเป็นช่วงได้ และควรยื่นสิทธิลาคลอดล่วงหน้า 30 วัน
นอกจากนี้ วันลาคลอดที่ต้องลาล่วงหน้านั้น คุณแม่สามารถประเมินกำหนดคลอดจากที่แพทย์แจ้งไว้ สำหรับคุณแม่ที่เจ็บท้องคลอดและคลอดธรรมชาตินั้นยังคงกำหนดวันแน่นอนไม่ได้ จึงสามารถนับวันลาคลอดตั้งแต่วันที่เข้าโรงพยาบาลเป็นต้นไป ส่วนคุณแม่ที่ผ่าคลอด สามารถแจ้งวันลาคลอดล่วงหน้าจากวันที่ไปโรงพยาบาล 1 วัน
สรุปการลาคลอดและนับวันคลอดตามกฎหมายแรงงาน
สิทธิวันลาคลอดจากที่กล่าวมานั้น เป็นการลาคลอดตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งแต่ละองค์กรอาจมีสวัสดิการอื่นๆ ที่แตกต่างกันเพิ่มเติมสำหรับการลาคลอด ดังนั้นควรหาข้อมูลการลาคลอดและสวัสดิการของแต่ละองค์กรเพิ่มเติมด้วย เพื่อการวางแผนดูแลลูกน้อยให้ดีที่สุด