PageView Facebook
date_range 26/09/2024 visibility 2572 views
bookmark HR Knowledge
องค์ประกอบที่ควรมีในแบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงาน พร้อมตัวอย่าง - blog image preview
Blog >องค์ประกอบที่ควรมีในแบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงาน พร้อมตัวอย่าง

แบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงาน เอกสารสำคัญในการเลิกจ้างพนักงาน ควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง วันนี้เรามีตัวอย่าง พร้อมให้ดาวน์โหลดไฟล์เพื่อนำไปใช้งานได้ฟรี


อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:


ความสำคัญของแบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงาน

การเลิกจ้างพนักงานเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังและเป็นไปตามกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง โดย แบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงาน เป็นเอกสารสำคัญที่ถูกใช้ในการสื่อสารกับพนักงานเกี่ยวกับการเลิกจ้าง ทั้งนี้แบบฟอร์มจะระบุข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการสิ้นสุดการจ้างงาน เช่น วันที่มีผลบังคับใช้ เหตุผลในการเลิกจ้าง รวมถึงสิทธิและผลตอบแทนที่พนักงานจะได้รับ เอกสารนี้จะช่วยให้กระบวนการเลิกจ้างเป็นไปอย่างเป็นระเบียบและเป็นธรรม และยังเป็นการป้องกันปัญหาทางกฎหมายในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้


องค์ประกอบสำคัญบน “แบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงาน” ที่ควรมี

นายจ้างควรระบุรายละเอียดสำคัญในหนังสือเลิกจ้าง ดังนี้

 


1. ข้อมูลพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง

ควรระบุชื่อ-นามสกุลของพนักงาน/ลูกจ้าง, เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน, รหัสพนักงาน และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถอ้างอิงได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

 

2. สาเหตุการเลิกจ้าง

อธิบายเหตุผลที่ทำให้นายจ้างต้องเลิกจ้างพนักงาน เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือปัญหาที่เกิดจากการทำงาน นอกจากนี้ ควรระบุข้อสัญญา ข้อบังคับการทำงาน หรือข้อกฎหมายที่ให้นายจ้างมีสิทธิ์เลิกจ้างในกรณีนั้น ๆ

 

3. ผลของการเลิกจ้าง

ระบุวันที่ที่การเลิกจ้างจะมีผลบังคับใช้ รวมถึงวันที่สัญญาจ้างจะสิ้นสุด และวันที่พนักงานทำงานวันสุดท้าย นอกจากนี้ ควรแจ้งถึงหน้าที่ที่พนักงานต้องปฏิบัติเมื่อสัญญาจ้างงานสิ้นสุดลง เช่น การคืนอุปกรณ์หรือทรัพย์สินของบริษัท

 

4. การจ่ายหรือหักเงินพนักงาน

แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชย การคืนหลักประกันการทำงาน การหักเงินตามกฎหมาย หรือค่าเสียหายที่พนักงานอาจต้องชดใช้ให้แก่นายจ้าง (หากมี)

 

5. เอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง

หากมี ควรอ้างอิงถึงเอกสารสำคัญ เช่น สัญญาจ้างแรงงาน หนังสือแจ้งตักเตือนเรื่องพฤติกรรมหรือการปฏิบัติงาน และรายงานการประเมินผลงานที่ไม่ผ่านมาตรฐาน

 

6. ลายเซ็น

ใบแบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงานควรมีลายเซ็นของนายจ้างและพนักงานพร้อมกับวันที่ลงนาม เพื่อแสดงความยินยอมและเป็นหลักฐาน

 

ตัวอย่างแบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงาน



ดาวน์โหลด “แบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงาน” ได้ที่นี่

>> แบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงาน ไฟล์ Word <<

>> แบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงาน ไฟล์ PDF <<

 

หมายเหตุ ตัวอย่างแบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงานข้างต้นเป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น หากองค์กรหรือ HR ต้องการใช้งาน สามารถปรับเปลี่ยนรายละเอียดในแบบฟอร์มให้สอดคล้องกับนโยบายและความต้องการของบริษัทได้ตามความเหมาะสม

 

วิธีการ Download นำไปใช้

วิธีที่ 1 ไปที่ File > Download  > เลือกรูปแบบไฟล์ที่ต้องการ

วิธีที่ 2 ทำการ Copy คัดลอกแบบฟอร์มจากนั้นนำไปวางที่ Microsoft word ของตนเองได้เลย


สิ่งที่ HR ควรทำเมื่อต้องเลิกจ้างพนักงาน

สิ่งที่ HR ควรทำเมื่อต้องเลิกจ้างพนักงานมีดังนี้


ศึกษาข้อกฎหมาย

ทำความเข้าใจกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการเลิกจ้างให้ละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการทั้งหมดเป็นไปตามกฎหมาย

 

เตรียมเอกสารให้พร้อม

HR ควรจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น แบบฟอร์มเลิกจ้าง สัญญาจ้าง ใบรับรองการทำงาน และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

แจ้งให้พนักงานทราบ

HR ควรแจ้งการเลิกจ้างล่วงหน้าตามที่กฎหมายกำหนดหรือให้เพียงพอสำหรับพนักงานในการปรับตัว และควรชี้แจงเหตุผลในการเลิกจ้างอย่างชัดเจน

 

ดำเนินการตามขั้นตอน

ดำเนินการตามขั้นตอนการเลิกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า การส่งมอบงาน และการชำระค่าชดเชย

 

เก็บเอกสารให้เป็นระเบียบ

เก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเลิกจ้างไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้ในการอ้างอิงในภายหลัง

 

รักษาความสัมพันธ์ที่ดี

ถึงแม้จะเป็นการเลิกจ้าง แต่ควรดำเนินการอย่างเป็นมิตรและสุภาพ เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเป็นมืออาชีพ


สรุปองค์ประกอบที่ควรมีในแบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงาน พร้อมตัวอย่าง

แบบฟอร์มเลิกจ้างพนักงานเป็นเอกสารที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องจัดทำอย่างรอบคอบ องค์กรและ HR ควรใส่ใจในการเตรียมเอกสารและปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ HR ควรมีบทบาทสำคัญในการดูแลพนักงานให้ได้รับสิทธิที่ควรได้รับ และดำเนินการเลิกจ้างอย่างสุภาพและเป็นธรรม เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดี

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้