กฎหมายแรงงานฉบับล่าสุด 2566 ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธการติดต่อหลังเวลาเลิกงานได้ จะมีอะไรน่าสนใจและ HR ต้องรู้บ้างมาดูกันเลย
บทความเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่คุณอาจสนใจ:
- HR ต้องรู้! สรุป พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ.2566
- HR ควรรู้! กฎระเบียบบริษัท ข้อบังคับการทำงาน ตามกฎหมายแรงงาน
- ห้ามพลาด! กฎหมายแรงงานที่ลูกจ้างไม่ควรมองข้าม
- Q&A ลาคลอดได้กี่วัน? นับวันอย่างไร? ตามกฎหมายแรงงาน
- สวัสดิการที่ทุกบริษัทต้องมีตามกฎหมายแรงงาน
- รวมสิ่งที่ HR ควรรู้ก่อนการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย
ว่าด้วยเรื่องของกฎหมายแรงงานฉบับล่าสุด
กฎหมายแรงงาน หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการทำงานเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เช่น อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันทำงาน วันหยุด วันลา และค่าชดเชย เป็นต้น
และกฎหมายแรงงานฉบับล่าสุด นั่นคือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 ที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายปัจจุบันให้มีความสอดคล้องกับรูปแบบการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566 เป็นต้นไป
Tips! อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ >>> พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8)
กฎหมายแรงงานฉบับล่าสุด ลูกจ้างมิสิทธิปฏิเสธการติดต่อหลังเวลาเลิกงานได้
กฎหมายแรงงานฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2566 มาตรา 23/1 วรรคสาม บัญญัติว่า “เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานปกติตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือสิ้นสุดการทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าในทางใด ๆ กับกับนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควรคุมงาน ผู้ตรวจงาน หรือแม้กระทั่ง HR เองก็ตาม เว้นแต่ลูกจ้างได้ให้ความยินยอมโดยทำหนังสือไว้ล่วงหน้า”
อธิบายง่าย ๆ ว่าหลังเลิกงานแล้วลูกจ้างสามารถไม่รับสาย รับตอบไลน์ หรือช่องทางการติดต่อต่าง ๆ จากนายจ้างได้ ยกเว้นได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนนั่นเอง
สาระสำคัญของกฎหมายแรงงานฉบับล่าสุดที่ HR ต้องรู้
ในส่วนของมาตรา 23/1 ในเรื่องของสิทธิในการยุติการติดต่อสื่อสารของลูกจ้างต่อนายจ้างหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาทำงาน เป็นการนำหลักการเรื่องสิทธิในการยุติการติดต่อสื่อสารของลูกจ้างหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาทำงาน (Right to disconnect) มาบัญญัติไว้ในกฎหมายแรงงานประเทศไทยเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 32 เรื่องการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว ซึ่งเป็นการลดปัญหาความไม่ชัดเจนระหว่างเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนของลูกจ้างอันอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้าง
คำชี้แจงกฎหมายแรงงานฉบับล่าสุด
คำชี้แจงกฎหมายแรงงานฉบับล่าสุด เรื่องสิทธิในการยุติการติดต่อสื่อสารของลูกจ้างต่อนายจ้างหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาทำงาน มีรายละเอียดดังนี้
- กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธการติดต่อสื่อสารกับนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน หลังจากสิ้นสุดเวลาทำงานปกติ
- เว้นแต่ลูกจ้างหรือพนักงานให้ความยินยอมเป็นหนังสือไว้ล่วงหน้าว่ายินยอมให้นายจ้าง หัวหน้างาน รวมไปถึง HR ติดต่อได้หลังจากสิ้นสุดเวลาทำงานปกติ
- นายจ้างควรจะติดต่อเฉพาะกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น โดยไม่มีลักษณะเป็นการให้พนักงานทำงาน
- หากมีการติดต่อให้ทำงานนอกเวลา นายจ้างจะต้องจ่ายค่าโอทีล่วงเวลาให้กับพนักงาน
สรุปกฎหมายแรงงานฉบับล่าสุด 2566
กฎหมายแรงงานฉบับล่าสุด พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 เรื่องสิทธิในการยุติการติดต่อสื่อสารของลูกจ้างต่อนายจ้างหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาทำงาน เป็นสิทธิที่ให้แก่ลูกจ้างในการไม่ต้องติดตามหรือตอบโต้งานหรือข้อความที่เกี่ยวกับงานหลังเลิกเวลาทำงานหรือเวลาพักผ่อน เพื่อส่วนตัวของตนเองและรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น