1 พฤษภาคม ของทุกปี ถือเป็นวันแรงงานแห่งชาติ หากพนักงานมาทำงานและทำโอที (OT) ในวันแรงงานจะได้รับค่าแรงเป็นกี่เท่า มาหาคำตอบได้ในบทความนี้เลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:
- เปิดประวัติวันแรงงานไทย-สากล "1 พฤษภาคม" ทำไมถึงหยุด?
- มัดรวมวิธีการคำนวณโอที (OT) ทุกประเภท
- Q&A ทำงานล่วงเวลา แต่ไม่ได้โอที ผิดกฎหมายแรงงานไหม?
- โอที 1.5 คืออะไร และมีวิธีการคำนวณโอที 1.5 อย่างไร?
- วิธีคิดโอทีรายวันและรายเดือน ตามกฎกระทรวงแรงงาน
- HR ควรรู้! ตามกฎหมายแรงงาน ห้ามบังคับลูกจ้างทำโอที
Q: พนักงานทำงานวันแรงงาน ต้องได้รับค่าแรงกี่เท่า?
วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี ถือเป็นวันแรงงานแห่งชาติ เรียกได้ว่าเป็นวันที่ผู้ใช้แรงงานทุกคนตั้งตารอคอยเนื่องจากเป็นวันหยุดและได้รับค่าจ้างเท่ากับในวันทำงานปกติ แต่นายจ้างมีความจำเป็นที่จะต้องให้พนักงานหรือลูกจ้างทำงานในวันแรงงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มให้กับพนักงานเป็นกี่เท่า อย่างไร?
A: หากนายจ้างให้พนักงานมาทำงานในวันแรงงานจะต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มให้อีก 1 เท่า
วันแรงงานถือว่าเป็นวันหยุดตามประเพณีตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งนายจ้างจะต้องให้พนักงานหรือลูกจ้างทุกคนได้หยุด 1 วัน โดยที่ได้รับค่าแรงเท่ากับวันทำงานปกติ
แต่หากกรณีที่นายจ้างให้พนักงานมาทำงานในวันแรงงานนั้น นายจ้างจะต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มให้แก่พนักงานไม่น้อยกว่า 1 เท่าหรือไม่น้อยกว่า 1 แรงของอัตราค่าแรงต่อชั่วโมงในวันทำงานปกตินั่นเอง
Q: ทำโอที (OT) วันแรงงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าแรงกี่เท่า?
กรณีที่นายจ้างให้พนักงานทำงานล่วงเวลาหรือทำโอที (OT) ในวันแรงงาน นายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าแรงให้แก่พนักงานเป็นกี่เท่า?
A: ทำโอที (OT) ในวันแรงงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าโอที เป็น 3 เท่า
หากนายจ้างให้พนักงานทำงานล่วงเวลาหรือทำโอที (OT) ในวันแรงงาน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าแรงต่อชั่วโมงในวันทำงานปกติ
สรุปทำงานและทำโอทีในวันแรงงาน ต้องได้รับค่าแรงกี่เท่า
โดยสรุปคือ หากกรณีที่พนักงานมาทำงานในวันแรงงานหรือทำงานล่วงเวลา (Overtime) ในวันแรงงาน นายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าแรงให้กับพนักงาน คือ กรณีทำงานในวันแรงงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าแรงทำงานในวันแรงงานให้แก่พนักงานเพิ่มขึ้นจากค่าแรงที่พนักงานได้รับในวันแรงงานไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าแรงต่อชั่วโมง และกรณีที่ให้พนักงานทำโอทีในวันแรงงาน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าโอทีในวันแรงงานให้แก่พนักงานในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าแรงต่อชั่วโมง