การเกษียณอายุอาจเป็นเรื่องไกลตัวของหลายๆ คน แต่สำหรับ HR ในองค์กรแล้ว จำเป็นต้องรู้ก่อนเลยว่า เมื่อพนักงานใกล้จะเกษียณอายุนั้น HR ต้องเตรียมการอะไรบ้าง
บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :
- HR ควรรู้! ตามกฎหมายแรงงาน ห้ามบังคับลูกจ้างทำโอที
- Q&A ทำงานล่วงเวลา แต่ไม่ได้โอที ผิดกฎหมายแรงงานไหม?
- กฎหมายแรงงานฉบับล่าสุด 2566 HR ต้องรู้อะไรบ้าง
- HR ต้องรู้! พนักงานลาบวชได้กี่วัน? ตามกฎหมายแรงงาน
Q : HR ต้องทำอย่างไร? เมื่อพนักงานเกษียณอายุตามกฎหมายแรงงาน
การเกษียณอายุในประเทศไทยนั้น คือ การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน เพราะลูกจ้างมีอายุครบตามที่ตกลงไว้กับนายจ้างหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้างประเภทหนึ่ง ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งอายุในการเกษียณนั้น จะแตกต่างกันไปตามที่นายจ้างได้ตกลงกันไว้ โดยในภาคเอกชนส่วนมาก มักไม่มีการกำหนดอายุเกษียณที่แน่นอน (ยกเว้นบางบริษัท) ให้ลูกจ้างได้มีโอกาสทำงานต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่ไหว เพราะเมื่อไม่ได้กำหนดอายุเกษียณไว้ นายจ้างก็จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่หากเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ มักจะมีสัญญาจ้างและส่วนใหญ่กำหนดอายุเกษียณกันที่อายุ 55 ปี แล้วที่นี้ HR ต้องทำอย่างไรบ้าง?
- A : เมื่อการเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างแล้ว สิ่งที่ HR ต้องทำคือพิจารณาในเรื่องของการจ่ายค่าชดเชยให้กับพนักงานที่เกษียณอายุ โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณีได้ดังนี้
กรณีที่นายจ้างกำหนดการเกษียณอายุ "ก่อนครบ 60 ปีบริบูรณ์"
ให้เป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
กรณีกำหนดการเกษียณอายุ "เกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ หรือไม่ได้มีการกำหนด"
ลูกจ้างมีสิทธิขอเกษียณอายุได้เมื่อมีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป และให้มีผลเมื่อครบ 30 วันหลังการแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง แต่หากลูกจ้างเกษียณอายุก่อนครบ 60 ปีบริบูรณ์ นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง
ในส่วนของค่าชดเชยเลิกจ้างที่ลูกจ้างเกษียณอายุจะได้รับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.118 มีดังนี้
- ลูกจ้างที่ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จะได้ค่าชดเชย 30 วัน หรือ 1 เดือน
- ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี จะได้ค่าชดเชย 90 วัน หรือ 3 เดือน
- ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี จะได้รับเงินชดเชย 180 วัน 6 เดือน
- ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จะได้รับเงินชดเชย 240 วัน หรือ 8 เดือน
- ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี จะได้เงินชดเชย 300 วัน หรือ 10 เดือน
- ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชย 400 วัน หรือ 13.33 เดือน
กฎหมายคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับการเกษียณอายุ
มาตรา 118/1 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุการทำงานและการจ่ายค่าชดเชย ไว้ดังนี้
- มาตรา 118/1 การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง
- ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุเอาไว้ หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ60ปีขึ้นไป มีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบ30วัน นับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้นตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง
- มาตรา 144 นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สรุป HR ต้องทำอย่างไร? เมื่อพนักงานเกษียณอายุตามกฎหมายแรงงาน
อย่างไรก็ตาม การเกษียณอายุ ไม่ว่าจะก่อน60 ปี หรือหลัง 60 ปี ก็ควรที่จะผ่านการวางแผนเกษียณอายุไว้ล่วงหน้า เพื่อให้มีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณและได้ใช้ชีวิตในวัยหลังเกษียณได้อย่างสบายใจ