ไขข้อสงสัย หากพนักงานเกษียณอายุ จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานในอัตราค่าชดเชยเท่าไหร่บ้าง วันนี้ HumanSoft รวบรวมข้อมูลดี ๆ มาฝาก ไปติดตามได้จากบทความนี้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- Q&A HR ต้องทำอย่างไร? เมื่อพนักงานเกษียณอายุตามกฎหมายแรงงาน
- Q&A นายจ้างต้องคืนหลักประกันการทำงานให้ลูกจ้างภายในกี่วัน?
- ค่าชดเชยพิเศษหมายความว่าอย่างไร นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษ
- การพ้นสภาพการเป็นพนักงานและการจ่ายค่าชดเชย มีเงื่อนไขใดบ้าง
- Q&A เลิกจ้างพนักงาน ต้องจ่ายเงินชดเชยเท่าไร? ตามกฎหมายแรงงาน
ว่าด้วยเรื่อง “การจ่ายค่าชดเชยพนักงานที่เกษียณอายุ”
“การเกษียณอายุถือเป็นหนึ่งในการเลิกจ้างอย่างหนึ่ง” ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118/1 บัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุการทำงานและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงาน ดังนี้
การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ ให้ถือเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง
ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุเอาไว้ หรือมีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้าที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้นตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง
การจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานเกษียณอายุ
การเกษียณอายุ นับเป็นการเลิกจ้างในรูปแบบหนึ่ง สิ่งที่ HR ควรทำ คือ การพิจารณาการจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานที่เกษียณอายุ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้
กรณีที่ 1 นายจ้างกำหนดการเกษียณอายุ “ก่อนครบ 60 ปี บริบูรณ์”
ให้ถือว่าการเกษียณอายุเป็นไปตามข้ออบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
กรณีที่ 2 นายจ้างกำหนดการเกษียณอายุ “เกินกว่า 60 ปี บริบูรณ์”
ในกรณีนี้ ลูกจ้างมีสิทธิขอเกษียณอายุได้เมื่อมีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป และให้มีผลเมื่อครบ 30 วันหลังจากการแสดงเจตนา และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างด้วย
อัตราค่าชดเชยสำหรับพนักงานเกษียณอายุ
เมื่อการเกษียณอายุ ถือว่าเป็น “การเลิกจ้าง” นายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่าย “ค่าชดเชย” ให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่งกำหนดไว้แล้วแต่กรณี ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ดังนี้
- ลูกจ้างที่ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จะได้ค่าชดเชย 30 วัน หรือ 1 เดือน
- ลูกจ้างหากทำงานครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี จะได้ค่าชดเชย 90 วัน หรือ 3 เดือน
- ลูกจ้างทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี จะได้รับเงินชดเชย 180 วัน 6 เดือน
- ลูกจ้างทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จะได้รับเงินชดเชย 240 วัน หรือ 8 เดือน
- ลูกจ้างทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี จะได้เงินชดเชย 300 วัน หรือ 10 เดือน
- ลูกจ้างทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชย 400 วัน หรือ 13.33 เดือน
ตัวอย่างการคำนวณค่าชดเชย
การคำนวณเงินค่าจ้างรายวัน = เงินเดือน เดือนสุดท้าย X 12 หารด้วย 365 = ค่าจ้างต่อวัน
เช่น พนักงาน A ทำงานครบ 6 ปี โดยได้รับเงินเดือน 40,000 บาท ตามกฎหมายกำหนดให้ได้รับค่าชดเชยเป็นระยะเวลา 180 วัน (6 เดือน)
พนักงาน A จะได้รับค่าชดเชย = 40,000 X 12/365 = 1,315 บาท/วัน
พนักงาน A ทำงานเป็นระยะเวลา 6 ปี = 1,315 X 180 วัน
ดังนั้น พนักงาน A จะได้รับค่าชดเชย = 236,712 บาท
สรุป พนักงานเกษียณอายุตามกฎหมายแรงงาน มีอัตราค่าชดเชยอย่างไรบ้าง
โดยสรุปแล้ว อัตราค่าชดเชยสำหรับพนักงานเกษียณตามกฎหมายแรงงาน ควรมีการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 118 วรรคสอง โดย HumaSoft ได้รวบรวมข้อมูลอัตราค่าชดเชยสำหรับพนักงานเกษียณอายุมาให้นายจ้างทุกท่านแล้ว นอกจากนี้ ในบางกรณีอาจมีข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขเฉพาะเพิ่มเติม ดังนั้นนายจ้างควรตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่าคำนวณค่าชดเชยได้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด