PageView Facebook
date_range 29/08/2024 visibility 865 views
bookmark HR Knowledge
Q&A ตามกฎหมายแรงงานพนักงานควรมีเวลาทํางานและเวลาพักเท่าไร - blog image preview
Blog >Q&A ตามกฎหมายแรงงานพนักงานควรมีเวลาทํางานและเวลาพักเท่าไร

ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พนักงานควรมีเวลาทำงาน และเวลาพักกี่ชั่วโมงต่อวัน วันนี้ HumanSoft มีข้อมูลมาฝาก มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้เลย


บทความเกี่ยวข้องที่คุณอาจสนใจ:


Q: พนักงานควรมีเวลาทํางานและเวลาพักเท่าไรตามกฎหมายแรงงาน


เกี่ยวกับเวลาทำงานและเวลาพักของพนักงาน กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนดการจำกัดชั่วโมงการทำงานต่อวันหรือต่อสัปดาห์ และกำหนดเวลาพักระหว่างวัน เพื่อปกป้องสิทธิ์และความเป็นอยู่ที่ดีของลูกจ้าง ป้องกันการทำงานที่หนักเกินไปซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจของลูกจ้าง ช่วยให้ลูกจ้างมีเวลาผ่อนคลาย ลดความเครียดและความเหนื่อยล้า ตลอดจนส่งเสริมความสุขและประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้าง



A: ตามกฎหมายแรงงานพนักงานควรมีเวลาทํางานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากเป็นงานที่มีความเสี่ยงอันตราย เวลาทำงานจะลดลงเหลือไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และ 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์


พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดเวลาทำงานสำหรับพนักงานหรือลูกจ้างทั่วไปให้พนักงานได้รับสิทธิ์มีเวลาทำงานปกติไม่ควรเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากเป็นงานที่มีความเสี่ยงอันตราย เวลาทำงานจะลดลงเหลือไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และ 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

 

ทั้งนี้หากพนักงานหรือลูกจ้างต้องทำงานเกินกว่าชั่วโมงการทำงานปกติ จะต้องได้รับค่าตอบแทนพิเศษ (ค่าล่วงเวลาหรือค่า OT) ในอัตราที่สูงกว่าค่าจ้างปกติตามที่กฎหมายกำหนด

 

Tips! คลิกเพื่ออ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าล่วงเวลา >> ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุดหมายถึงอะไร ได้ค่าตอบแทนอย่างไร <<


A: ตามกฎหมายแรงงานพนักงานควรมีเวลาพักในระหว่างวันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หลังจากทำงานติดต่อกันมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง


พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดเวลาพักสำหรับพนักงานหรือลูกจ้างทั่วไป ให้พนักงานได้รับสิทธิ์มีเวลาพักในระหว่างวันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หลังจากทำงานติดต่อกันมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมง ทั้งนี้นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันจัดสรรเวลาพักได้ตามความเหมาะสมโดยมีเกณฑ์พิจารณาและข้อยกเว้น ดังนี้

 

  • นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักย่อยหลายครั้ง โดยมีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมงก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาที และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
  • กรณีงานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันหรือเป็นงานฉุกเฉินโดยไม่สามารถหยุดพักในระหว่างการทำงานต่อเนื่องเกิน 5 ชั่วโมงได้ นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือนายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันได้ว่าจะเลื่อนเวลาพักไปในช่วงอื่น หรือชดเชยเวลาพักในวันทำงานถัดไป

Q: หากนายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานว่าด้วยเรื่องเวลาทํางานและเวลาพัก จะมีความผิดอย่างไร?



A: หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานว่าด้วยเรื่องเวลาทํางานและเวลาพัก จะต้องระวางโทษปรับ 5,000 - 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานว่าด้วยเรื่องเวลาทํางานและเวลาพัก เช่น ให้ลูกจ้างทำงานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือเกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างวันน้อยกว่า 1 ชั่วโมง หรือไม่มีเวลาพักโดยไม่ได้ตกลงได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง จะต้องระวางโทษปรับ 5,000 - 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยนายจ้างต้องชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งผลคดี


สรุป Q&A ตามกฎหมายแรงงานพนักงานควรมีเวลาทํางานและเวลาพักเท่าไร

กฎหมายคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับเวลาทำงานและเวลาพัก กำหนดขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิ์และความเป็นอยู่ที่ดีของลูกจ้าง นายจ้างหรือผู้ประกอบการจึงควรตระหนักในความสำคัญของการจัดการเวลาทำงานและเวลาพักสำหรับลูกจ้างอย่างเหมาะสมตามกฎหมาย เพื่อป้องกันการทำงานหนักเกินไปซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจของลูกจ้าง ลดความเครียดและความเหนื่อยล้า ตลอดจนส่งเสริมความสุขและประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างได้รับการปกครองอย่างเป็นธรรมหรือสวัสดิการในการทำงานที่ตอบโจทย์ พวกเขาก็จะตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ และก่อให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพตามมานั่นเอง

 

อ้างอิง: พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) 


hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้