Knowledge Management กระบวนการสำคัญที่ทุกองค์กรควรใส่ใจ เนื่องจากช่วยเพิ่มศักยภาพ พัฒนาทักษะ และเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานให้พร้อมต่อการแข่งขันทางธุรกิจ
อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:
- Education and Training คืออะไร?
- แนวทาง "ฝึกอบรมพนักงาน" การลงทุนสู่ความสำเร็จขององค์กร
- Talent Management บริหารคนเก่งในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
- รู้จักกับ “ทฤษฎี X Y Z” 3 ทฤษฎีการบริหารพนักงานในองค์กร
Knowledge Management คืออะไร?
Knowledge Management (KM) คือ กระบวนการจัดการความรู้ทั้งหมดในองค์กรที่กระจัดกระจายอยู่ทั้งในตัวบุคคล เอกสาร หรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ มาจัดระเบียบ พัฒนา แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ เพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
ประเภทของ Knowledge Management
Knowledge Management จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge โดยมีลักษณะ ดังนี้
1. Explicit Knowledge (ความรู้ที่ชัดแจ้ง)
Explicit Knowledge คือ ความรู้ที่ชัดแจ้ง (รูปธรรม) เป็นความรู้ที่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร มักอยู่ในรูปแบบของเอกสาร คู่มือ หนังสือ หรือทฤษฎีต่าง ๆ โดยผ่านการวิเคราะห์สังเคราะห์มาเป็นอย่างดี ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าถึงองค์ความรู้นี้ได้
2. Tacit Knowledge (ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน)
Tacit Knowledge คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (นามธรรม) เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล โดยเกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ พรสวรรค์ หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคล ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้การถ่ายทอดข้อมูลไปยังบุคคลอื่นสามารถทำได้ยาก แต่สามารถพัฒนาและแบ่งปันกันได้
ความสำคัญของ Knowledge Management
ในโลกของธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Knowledge Management เรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรเลยก็ว่าได้ การรวบรวมและจัดการความรู้ที่ถูกต้องและทันสมัย ช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฉะนั้นการที่บุคลากรหรือพนักงานในองค์กรสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างเท่าเทียม ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้กับพนักงานทุกท่าน ให้เกิดความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ อย่างแท้จริง และที่สำคัญ Knowledge Management ยังเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับองค์กรสามารถพร้อมต่อแข่งขันทางธุรกิจได้อย่างดีเยี่ยม
ตัวอย่าง Knowledge Management ในองค์กร
ระบบฐานข้อมูลความรู้
การรวบรวมจัดเก็บเป็นฐานความรู้สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบของเอกสารการเรียนรู้ เช่น คู่มือการทำงาน รายงานการวิจัย บทความ เป็นต้น และรูปแบบสื่อการเรียนรู้ออนไลน์หรือระบบสารสนเทศ เช่น บทเรียนออนไลน์ เป็นต้น เพื่อให้บุคลากรหรือพนักงานองค์กรสามารถเข้าถึงฐานความรู้นั้น ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ระบบพี่เลี้ยง
ระบบพี่เลี้ยง เป็นระบบที่ถ่ายทอดความรู้แบบตัวต่อตัวจากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าถ่ายทอดให้แก่ผู้ที่มีประสบการณ์น้อยกว่า หรือบุคลากรใหม่ โดยระบบพี่เลี้ยงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้บุคลากรใหม่ ๆ สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว และช่วยสร้าง Employee Engagement ได้เป็นอย่างดี ซึ่งพี่เลี้ยงยังสามารถช่วยให้บุคลากรใหม่ได้ค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อน และเป้าหมายในการทำงาน ช่วยให้พัฒนาศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่
การระดมสมอง
การระดมสมอง เป็นเทคนิคการคิดสร้างสรรค์ที่ใช้ในการหาไอเดียหรือแนวทางแก้ปัญหา โดยเน้นการระดมความคิดจากสมาชิกในกลุ่ม
ทบทวนหลังการปฏิบัติงาน
การทบทวนหลังการปฏิบัติงานเป็นกระบวนการเรียนรู้และวิเคราะห์จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งกระบวนการที่ทำให้ทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็งในการทำงาน และข้อควรปรับปรุงเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การฝึกอบรม
การฝึกอบรมพนักงาน เป็นการจัดการความรู้ภายในองค์กรในรูปแบบง่าย ๆ อีกทั้งยังเป็นการลงทุนที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับองค์กร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับพนักงานในองคกรได้อย่างดีเยี่ยม
สรุป Knowledge Management คืออะไร สำคัญต่อองค์กรอย่างไรบ้าง
Knowledge Management หรือการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับองค์กรในยุคปัจจุบันที่องค์กรและ HR ที่ไม่ควรมองข้าม ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาทักษะความรู้ของพนักงาน ส่งเสริม การแบ่งปันความรู้ สร้างวัฒนธรรมภายในองค์กร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ