PageView Facebook
date_range 21/06/2024 visibility 1254 views
bookmark HR Knowledge
Checklist!! คนประเภทใดที่เข้าข่ายเป็นโรค Imposter Syndrome - blog image preview
Blog >Checklist!! คนประเภทใดที่เข้าข่ายเป็นโรค Imposter Syndrome

เคยคิดไหม? ทำเท่าไหร่ก็รู้สึกเก่งไม่พอ ไม่เชื่อมั่นในตนเอง ภัยเงียบที่ชื่อว่าโรค Imposter Syndrome วันนี้เราจะพาทุกคนมา Checklist คนที่เข้าข่ายจะเป็นโรคนี้กัน


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


รู้จักกับ Imposter Syndrome


Imposter Syndrome คือ โรคที่รู้สึกว่าตัวเองนั้นไม่เก่ง ไม่มีความสามารถมากพอ แม้ Imposter Syndrome จะไม่ใช่อาการทางจิต แต่หากปล่อยไว้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจ ที่สามารถพัฒนาไปถึงขั้นการเป็นรคซึมเศร้าได้ อีกทั้งในปัจจุบันทั้งการเรียน การทำงาน เรียกได้ว่ามีเกณฑ์การแข่งขันสูงขึ้นเรื่อย ๆ มนุษย์เราย่อมเสี่ยงที่จะเกิดโรค Imposter Syndrome ได้ง่ายมาก ๆ

วันนี้ HumanSoft จะพาทุกท่านมาเช็กลิสต์!! คนประเภทใดที่เข้าข่ายจะเป็นโรค Imposter Syndrome พร้อมวิธีเอาชนะภัยเงียบที่ทำลายความมั่นใจให้หายไปจากความคิดเรา จะเป็นอย่างไร ไปดูกันเลย


คนประเภทใดที่เข้าข่ายจะเป็นโรค Imposter Syndrome


การเป็นโรค Imposter Syndrome มักเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่มีความกดดัน ความเครียด และตกอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นใจในตัวเอง แต่รู้หรือไม่ว่า คนประเภทต่อไปนี้ที่เรารวบรวมข้อมูลมาฝาก มีแนวโน้มที่จะเป็นโรค Imposter Syndrome มากกว่าบุคคลอื่น ๆ จะมีคนประเภทใดบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย


 

1. Perfectionist ผู้รักความสมบูรณ์แบบ

บุคคลที่รักในความสมบุรณ์แบบ เรียกได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรค Imposter Syndrome ได้ง่าย เนื่องจากคนประเภทนี้จะตั้งเป้าหมาย มองอนาคต และคาดหวังกับตนเองและผู้อื่นไว้สูง หากผลลัพธ์ออกมาไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ก็จะเกิดอาการไม่มั่นใจ และมองว่าตนเองไม่เก่ง ไม่มีความสามารถมากพอ หรืออีกนัยหนึ่ง หากผลลัพธ์ออกมาดีมาก ๆ แต่ยังไม่เป็นไปตามที่ตนเองคาดหวังก็จะสงสัยในความสามารถของตนเองอยู่ดี ดังนั้นการเป็นคนที่รักในความสมบูรณ์แบบมากเกินไป อาจเข้าข่ายที่จะเป็นโรค Imposter Syndrome ได้มากกว่าบุคคลประเภทอื่น ๆ

 

2. Soloist มนุษย์ที่ฉายเดี่ยว

คนประเภทนี้เป็นคนที่ชอบทำงานกับตนเอง ทำงานคนเดียว ไม่ชอบพึ่งพาคนอื่น ถือคติความสำเร็จที่ได้มานั้นไม่ต้องพึ่งพาใคร ทุกอย่างเราสามารถจัดการมันได้ด้วยตนเอง แน่นอนว่าการทำงานไม่ว่าจะองค์กรขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ การทำงานร่วมกับผู้อื่นย่อมเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำอย่างแน่นอน ในบางสถานการณ์เราไม่สามารถทำงานนั้น ๆ เพียงคนเดียวได้ การร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่มีความถนัดในเรื่องนั้น ๆ ย่อมทำให้การทำงานราบรื่นและสำเร็จไปได้  ทว่าเมื่อถึงเวลาที่คนประเภทนี้ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เขาจะมีความคิดกับตนเองว่าเราไม่เก่ง ไม่มีความสามารถมากพอ เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง อาจทำให้คนประเภทนี้เป็นโรค imposter syndrome ได้ไม่ยาก

 

3. Superman/Superwoman ยอดมนุษย์

บุคคลประเภทนี้จะพยายามพิสูจน์ตนเองให้สังคมได้เห็นว่าตนเองนั้นเก่ง มีความสามารถมากพอที่จะทำงานนั้น ๆ แม้พวกเขาจะต้องโหมงานหนักกว่าคนอื่น ๆ ก็ยินยอมที่จะทำมัน เพื่อให้ตนเองถูกมองว่าประสบความสำเร็จในทุกด้านของชีวิต ที่สำคัญคือ บุคคลกลุ่มนี้พยายามโหมงาหนักเพื่อปกปิดความไม่มั่นคงและไม่มั่นใจในชีวิตที่เขาพบเจออยู่ หากผลลัพธ์ออกมาไม่เป็นไปตามที่ตนเองคาดหวัง คนกลุ่มนี้ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรค Imposter Syndrome ได้


4. Expert ผู้เชี่ยวชาญ

คนประเภทนี้เป็นคนที่วัดความสามารถของตนเองจากสิ่งที่ตนรู้ คนประเภทนี้ต้องมั่นใจก่อนว่าตนมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ลึกซึ้ง เข้าใจถ่องแท้มากพอ แต่คนประเภทนี้จะมีความเชื่อว่าตนเองไม่มีความรู้มากพอ และเกิดความกลัวจะถูกมองว่าไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ สิ่งที่ตามมาก็คือพวกเขาเชื่อว่าตัวเองไม่มีวันรู้ดีเพียงพอ สิ่งที่เห็นได้ชัด คือการที่ไม่กล้าสมัครงาน เนื่องจากตนเองมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่องค์กรแจ้งไว้ อีกนัยหนึ่งถึงแม้จะเคยทำงานในด้านนี้แล้วแต่ก็รู้สึกว่าตนเองยังมีความสามารถไม่เพียงพอ ไม่คู่ควรกับองค์กร

 

5. Natural Genius อัจฉริยะตั้งแต่เกิด

บุคคลประเภทนี้มักจะเชื่อมั่น และมั่นใจในความสามารถของตนเอง เพราะคิดว่าตนเองเก่งและมีความสามารถนั้น ๆ มาตั้งแต่กำเนิด คนกลุ่มนี้มักจะคาดหวังกับตนเองสูง มีความมุ่งมั่น และจะทำให้สิ่งนั้น ๆ ให้ดีที่สุด คนประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการทำให้สำเร็จตั้งแต่ครั้งแรกที่ลงมือทำ เมื่อทุกสิ่งผิดแผน ไม่เป็นไปตามที่ตนเองคาดหวังไว้ คนประเภทนี้กก็จะสูญเสียความมั่นใจในตนเองเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ไปโดยปริยาย


How To วิธีเอาชนะ โรค Imposter Syndrome



  1. ฝึกตนเองให้เป็นคนคิดบวก
  2. เคารพและรักตัวเอง
  3. เปิดใจรับฟังคำติชม
  4. ยอมรับความผิดพลาด
  5. จดบันทึกความสำเร็จ
  6. หาแรงบันดาลใจ
  7. พูดคุยกับคนรอบข้าง
  8. ลดการเล่น Social Media
  9. ประเมินจุดเด่นจุดด้อยของตนเอง
  10. ไม่เปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น

 

สรุป Checklist!! คนประเภทใดที่เข้าข่ายเป็นโรค Imposter Syndrome

 

โดยสรุปแล้ว คน 5 ประเภทที่เข้าข่ายเป็นโรค Imposter Syndrome ได้แก่ 1. Perfectionist ผู้รักความสมบูรณ์แบบ 2. Soloist มนุษย์ที่ฉายเดี่ยว 3.Superman/Superwoman ยอดมนุษย์ 4.Expert ผู้เชี่ยวชาญ 5.Natural Genius อัจฉริยะตั้งแต่เกิด แต่โรคนี้ทุกคนสามารถเป็นได้ เนื่องจากเป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนและการทำงาน ที่ต้องพบเจอกับการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้น การปรับเปลี่ยนแนวความคิดของตนเองให้มองโลกในแง่บวกบ้าง ยอมรับในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ้าง เชื่อมั่นในตนเอง ไม่กดดันตนเองจนเกินไป จะทำให้เราใช้ชีวิตได้สนุกและง่ายยิ่งขึ้น เราเกิดมามีเพียงหนึ่งชีวิต การมอบความรัก ทะนุถนอมหัวใจและร่างกายของเราไว้ย่อมดีที่สุด หากได้เป็นคนเก่งในสายตาคนอื่นแล้ว ก็อย่าลืมเป็นคนเก่งในสายตาของตนเองด้วยนะคะ

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้