จากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้องค์กรต้องปรับกลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กรกันอยู่ตลอดเวลาและ HR นับเป็นส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่าง ๆ ของ HRM
กลยุทธ์ดั้งเดิมของ HR ที่ผ่านมา
แต่ละปีขององค์กรจะมีการวางแผน HRM เพื่อบรรลุเป้าหมายในปีถัดไป ในวงการ HR ก็ต้องเรียนรู้ทักษะและทำงานควบคู่ไปการรับเทคโนโลยี เพื่อปรับตัวสู่การเป็น Digital HR ซึ่งเป็นกลยุทธ์ดั้งเดิมในแต่ละองค์กร โดยบทบาทที่ได้รับส่วนมากได้แก่ การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนงานของ HR การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่พนักงานและมีการปรับกระบวนการทางความคิดกันอยู่ตลอดเวลา เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรด้วย HRM ตลอดมา
กลยุทธ์ HR 2022 มีอะไรบ้าง
ปี 2022 นี้ งานทางด้าน HRM ถูกปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก ทั้งในการบริหารบุคลากร นโยบายการทำงาน การปรับเปลี่ยนสวัสดิการและการจัดการต่าง ๆ ที่ต้องปรับให้เข้ากับการทำงานแบบผสมผสาน Hybrid working มากขึ้น กลยุทธ์ที่สำคัญในการขับเคลื่อน HRM ขององค์กรนั้น มีดังนี้
1. Dynamic Skills เน้นคนมีทักษะที่หลากหลาย
ในยุคนี้ทักษะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงานเดิมนั้น ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา องค์กรจึงพัฒนาวิธีการสรรหาพนักงานใหม่ เพื่อเติมช่องว่างของทักษะที่ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยการสรรหานั้นต้องมองให้ลึกลงถึงทักษะในหลาย ๆ ด้าน เพราะแม้แต่ในตำแหน่งงานเดียวกันก็อาจต้องการทักษะที่แตกต่างกัน หรือเมื่อทำไปสักระยะ ทักษะที่เคยต้องการอาจเปลี่ยนแปลงไปอีก เพราะต้องปรับให้เข้ากันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา การใช้ทักษะเป็นตัวตั้งจึงช่วยขยายฐานผู้สมัครได้กว้างขึ้นและผู้สมัครที่อยู่นอกเหนือกลุ่มเป้าหมายเดิม จะช่วยให้เราได้พนักงานที่มีทักษะที่หลากหลายตรงกับกลยุทธ์การขับเคลื่อนองค์กรด้วย HRM ได้อย่างดี
2. Planning for Perpetual Reskilling เน้นการเพิ่มศักยภาพพนักงาน
โลกของการทำงานที่ถูกปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ทำให้พนักงานต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน เพราะเมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป ทักษะเดิม ๆ อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป กลยุทธ์การบริหาร HRM จึงต้องเน้นการเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงาน เพิ่มทักษะใหม่ ๆ จัดลำดับความสำคัญของทักษะที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรและเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรได้อีกด้วย
3. Hybrid Workplace เน้นการยืดหยุ่นสถานที่ปฏิบัติงาน
องค์กรมีการปรับเปลี่ยนเป็นอย่างมากในเรื่องของรูปแบบการทำงาน โดยการ Work From Home ในช่วงโควิดระบาด ทำให้เกิดกลยุทธ์ HRM ที่เน้นการยืดหยุ่มสถานที่ปฏิบัติงานขึ้นมา เพื่อปรับตัวเข้าสู่การทำงานในรูปแบบ Hybrid Working อย่างเต็มตัว การทำงานที่ออฟฟิศ 100% อาจไม่มีอีกแล้ว แต่จะเป็นการผสมผสานการทำงานจากที่บ้านเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน ซึ่งตรงกับเทรนด์ของการทำงานบนโลกเสมือนหรือ Metaverse ที่บริษัทด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลกกำลังพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงในอนาคต จึงถึงเวลาที่ HR จะหาจุดบาลานซ์ในรูปแบบการทำงานและดูแลคนในองค์กรในหลายๆ มิติ เพื่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคลและการรขับเคลื่อนองค์กรด้วย HRM อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
4. Rethinking Work For Gen Z เริ่มการปรับตัวให้เข้ากับ Gen Z
การบริหาร HRM ให้เตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวให้เข้ากับ Gen Z ที่กำลังเข้ามาในตลาดงานและมีการทำงานที่ต่างกับ Gen Y อย่างสุดขั้วนั้น ต้องใช้การปรับเปลี่ยนความคิด ด้วยการคิดต่าง คิดมุมมองใหม่ๆ เน้นการ Mentor เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กรุ่นใหม่ ในการสร้างสรรค์ผลงานแบบ High Productivity ซึ่งกลยุทธ์นี้จะช่วยให้องค์กรเกิดการพัฒนาและขับเคลื่อนได้อย่างเต็มที่
5. Empathy Culture สร้างวัฒนธรรมการทำงานอย่างเพื่อนมนุษย์
ต้องยอมรับว่าในสถานการณ์โควิดที่ผ่านมานี้ พนักงานบางคนต้องเจอกับปัญหาความเครียด แรงกดดันมากมายกว่าที่เคย บางคนป่วย บางคนเครียดกับความเสี่ยง บางคนสูญเสียสมาชิกครอบครัว สิ่งที่องค์กรสามารถทำได้คือ การมองพนักงานในมุมมองของเพื่อนมนุษย์ ทำความเข้าใจกับสถานการณ์ที่อีกฝ่ายกำลังเจอ (Empathy) จะทำให้เกิดความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงและแก้ไขได้ตรงจุด จะสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นและความจงรักภักดีให้กับพนักงานได้อีกด้วย ซึ่งกลยุทธ์ที่จะบริหาร HRM นี้ จะทำให้องค์การขับเคลื่อนเติบโตอย่างมีความสุขและยั่งยืน
6. out-of-office employee experience สร้างประสบการณ์ทำงานสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์
เดิมองค์กรที่เคยมีสวัสดิการเฉพาะในออฟฟิศ เช่น กาแฟ มุมผ่อนคลาย เกม หนังสือ ขนมนมเนยหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับพนักงาน แต่หลังจากสถานการณ์โควิดนั้น องค์กรต้องปรับมุมมองด้านสวัสดิการนี้ใหม่ โดยกลยุทธ์การบริหาร HRM ที่จะสร้างประสบการณ์ทำงานให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ ด้วยการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมถึงไลฟ์สไตล์และความต้องการที่เปลี่ยนไป เช่น การเพิ่มวันลาพักร้อน การให้สิทธิ์ในการ Work From Home การให้ส่วนลดร้านค้า เพื่อการทำงานอย่างผ่อนคลายและมีความสุข นำมาซึ่งการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพมากขึ้น
สรุปกลยุทธ์ HR 2022 ที่ต้องใช้บริหาร HRM ยุคใหม่ ดีอย่างไรกับองค์กร
จากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในยุคโควิดที่ผ่านมานั้น ทำให้องค์กรต้องปรับกลยุทธ์การพัฒนาและขับเคลื่อนองค์กรกันอย่างเร่งด่วน กลยุทธ์ HR 2022 ที่สรุปมาเพื่อใช้ใน HRM นั้น สามารถนำไปวางแผนรับมือให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ให้องค์การเดินหน้าต่อไปได้ในทุกสถานณการณ์ ดังนี้
• ได้พนักงานที่มีทักษะที่หลากหลาย เพื่อเติมช่องว่างของทักษะที่ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคใหม่
• เสริมขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร ด้วยการเพิ่มศักยภาพของพนักงาน
• เพิ่มความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้านทรัพยากรบุคคล
• เริ่มการปรับตัวให้เข้ากับ Gen Z เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานแบบ High Productivity
• สร้างวัฒนธรรมการทำงานอย่างเพื่อนมนุษย์ จะทำให้เกิดความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง และแก้ไขได้ตรงจุด
• สร้างประสบการณ์ทำงานสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ นำมาซึ่งการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพมากขึ้น
26/04/2022 14521 views
HR Trend