มาทำความรู้จักกับ “HR Audit” ว่าคืออะไร ทำไมองค์กรจึงควรมีการตรวจสอบการทำงานของ HR รวมถึงกระบวนการที่องค์กรต้องตรวจสอบในด้านต่าง ๆ ของ HR มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- โครงสร้างองค์กรของบริษัทยุคใหม่ มีอะไรบ้าง
- 8 บทบาทของ HR ยุคใหม่ ในการยกระดับ HRM ขององค์กร
- HR คืออะไร ทำหน้าที่อะไรบ้าง พร้อมคุณสมบัติ HR ที่ดี
- HRM สำคัญอย่างไรกับการบริหาร องค์กรยุคใหม่
HR Audit คืออะไร?
HR Audit คือ การตรวจสอบและประเมินผลกระบวนการต่าง ๆ ในแผนกทรัพยากรมนุษย์ (HR) ขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานและนโยบายต่าง ๆ มีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับ การทำ HR Audit ช่วยค้นหาจุดอ่อนหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และนำไปสู่การปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในองค์กร
การตรวจสอบงาน HR มีอะไรบ้าง?
การ Audit งาน HR มีทั้งแบบละเอียดครอบคลุมทุกเรื่อง หรือเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แต่โดยทั่ว ๆ ไป การตรวจสอบงาน HR จะคลอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
วัตถุประสงค์งาน HR
กลยุทธ์และวัตถุประสงค์ของ HR
โดยจะตรวจสอบว่าทั้ง 2 ประการนี้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ ค่านิยม และโครงสร้างองค์กรหรือไม่
ตรวจสอบสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ
ควรตรวจสอบสถานที่ อุปกรณ์ และเครื่องมือให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัยก่อนการใช้งาน โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสมสำหรับพนักงานทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางกายภาพ เช่น การมีที่จอดรถสำหรับผู้พิการ เป็นต้น
การบริหารทรัพยากรมนุษย์
คือ การมุ่งเน้นในการสรรหา คัดเลือก พัฒนา และรักษาฐานพนักงานในองค์กร เพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ค่านิยมในการบริหาร HR
คือ หลักการและทัศนคติที่เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคนในองค์กร ค่านิยมเหล่านี้สะท้อนถึงวิธีการที่องค์กรมองเห็นและให้ความสำคัญกับบุคลากร ซึ่งมักจะมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาและการเติบโตของพนักงาน รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
ตรวจสอบผลกระทบหรือผลลัพธ์
การตรวจสอบผลกระทบหรือผลลัพธ์ที่การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR) มีต่อกิจกรรมโดยรวมขององค์กร รวมถึงความสามารถในการแข่งขัน รายได้ และผลกำไร
โครงสร้างขององค์กร
การตรวจสอบโครงสร้างองค์กรในลักษณะนี้ เป็นการตรวจสอบว่าโครงสร้างนั้นมีผลกระทบต่อการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายขององค์กรในด้านใดบ้าง และโครงสร้างนั้นถูกนำไปปฏิบัติจริงหรือไม่ ไม่ใช่ว่ามีโครงสร้างองค์กรไว้แค่เป็นการแนะนำองค์กร แต่ต้องสามารถนำหลักการไปใช้ในการทำงานได้จริงด้วย
การประกาศแจ้งเตือน
ควรตรวจสอบแผ่นโปสเตอร์ หรือการประกาศข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องที่พนักงานทุกคนควรรับทราบ เพื่อดูว่า HR มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับพนักงานได้ทั่วถึงหรือไม่ เช่น มีการปิดประกาศตำแหน่งงานว่างในบริษัทเพื่อให้พนักงานทุกคนทราบ ไม่ใช่ปิดประกาศเฉพาะในแผนกเดียวเท่านั้น
ตรวจสอบความพึงพอใจและความผูกพัน
ควรมีการตรวจสอบความร่วมมือร่วมใจที่พนักงานมีต่อองค์กร เพื่อเป็นการรักษาฐานพนักงานเดิมให้อยู่กับองค์กรต่อไปในระยะยาวอีกด้วย
ตรวจสอบกระบวนการทำงาน
ควรตรวจสอบกระบวนการการทำงานทั้งหมดของ HR ว่าเป็นไปตามนโยบายที่องค์กรกำหนดไว้หรือไม่
ตรวจสอบระบบการเก็บข้อมูล
ควรมีการตรวจสอบระบบการเก็บข้อมูลของพนักงานแต่ละคน รวมถึงการรักษาความลับหรือข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เพื่อความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
ตรวจสอบนโยบายและสิทธิประโยชน์
ควรมีการตรวจสอบนโยบาย ระบบการให้รางวัลผลตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่มอบให้กับพนักงานโดยทั่วไป และอาจมีการตรวจสอบเพื่อเปรียบเทียบนโยบาย สิทธิประโยชน์ และระบบการให้ผลตอบแทนขององค์กรกับองค์กรอื่น ๆ ภายนอกร่วมด้วย
ตรวจสอบความสัมพันธ์หรือข้อตกลงต่าง ๆ
ตรวจสอบข้อตกลงหรือสัญญาที่ HR มีร่วมกับสหภาพแรงงาน พนักงานรายบุคคล ผู้ขายสินค้า/บริการ หรือหน่วยงานที่รับจ้างงาน (Outsourcing) ว่ามีความชัดเจนและเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย รวมถึงการรักษาผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ตรวจสอบการบรรจุคนลงตำแหน่งงาน
ตรวจสอบกระบวนการในการบรรจุพนักงานลงตำแหน่งต่างๆ และการจัดทำ Competencies ของแต่ละตำแหน่งงาน เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานที่บรรจุมีทักษะและความสามารถที่ตรงกับความต้องการของตำแหน่งงานนั้นๆ และสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตรวจสอบผลลัพธ์โดยรวมของ HR
ตรวจสอบผลลัพธ์ที่เกิดจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ผลกระทบต่อประสิทธิภาพองค์กร ความพึงพอใจของพนักงาน หรือความสำเร็จของโปรแกรมการพัฒนาพนักงาน
ตรวจสอบนโยบายและระบบการจัดจ้างพนักงาน
ตรวจสอบนโยบายและระบบการจ้างงานขององค์กร รวมทั้งการจัดทำเอกสารหรือคู่มือที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพนักงาน หากบางส่วนไม่ได้จัดทำเอกสารอย่างเป็นทางการ ควรตรวจสอบว่ามีวิธีปฏิบัติอย่างไร ซึ่งอาจต้องใช้วิธีสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลในการตรวจสอบ
สรุป HR Audit คืออะไร มีกระบวนการการตรวจสอบอย่างไรบ้าง?
โดยสรุปแล้ว HR Audit คือ การตรวจสอบและประเมินผลการทำงานของ HR เพื่อให้องค์กรมั่นใจได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ การทำ HR Audit จึงช่วยให้องค์กรสามารถระบุจุดอ่อน ปัญหา หรือข้อบกพร่องในระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และสามารถปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดความเสี่ยงความผิดพลาดภายในองค์กรได้