PageView Facebook
date_range 31/01/2023 visibility 26956 views
bookmark HR Knowledge
วิธีสัมภาษณ์พนักงานใหม่ให้ได้บุคลากรที่ตอบโจทย์องค์กร - blog image preview
Blog >วิธีสัมภาษณ์พนักงานใหม่ให้ได้บุคลากรที่ตอบโจทย์องค์กร

ทุกองค์กรต่างก็ต้องการพนักงานคุณภาพทั้งในเรื่องทักษะและทัศนคติ ผู้สัมภาษณ์ต้องให้ความสำคัญกับวิธีสัมภาษณ์พนักงานใหม่ และเตรียมตัวให้พร้อมด้วยเช่นกัน


วิธีสัมภาษณ์พนักงานใหม่แบบมืออาชีพ

การสัมภาษณ์งานนอกจากผู้เข้าสมัครจะต้องเตรียมตัวกันอย่างเต็มที่แล้ว ผู้สัมภาษณ์เองก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมและมีวิธีสัมภาษณ์พนักงานใหม่ที่ดีด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้บุคลากรที่จะเข้ามาพัฒนาองค์กรได้อย่างแท้จริง เพราะมีไม่น้อยที่ผู้สัมภาษณ์หลายคนอาจกำลังเข้าใจผิดเรื่องวิธีการสัมภาษณ์ หรือทำให้บรรยากาศในการสัมภาษณ์งานตึงเครียดเกินไป จนอาจทำให้องค์กรพลาดบุคลากรดี ๆ ไปได้ นอกจากการเตรียมรายการคำถามให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่กำลังจะสัมภาษณ์ อย่าลืมกำหนดเป้าหมายสำหรับการสัมภาษณ์ในแต่ละครั้ง และสร้างบรรยากาศที่ดีเพื่อการพูดคุยร่วมกันด้วย


แนะนำวิธีสัมภาษณ์พนักงานใหม่

การจะรับพนักงานใหม่เข้ามาทำงาน ถือเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนักไม่แพ้กัน เพราะทุกองค์กรต่างก็ต้องการบุคลากรที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กรให้ไปข้างหน้าได้อย่างราบรื่น ซึ่งวิธีสัมภาษณ์พนักงานใหม่ไม่มีมีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่ละองค์กรควรประเมินผู้สมัครตามคุณสมบัติ ประสบการณ์ ทัศนคติ และความเหมาะสมทางวัฒนธรรมของแต่ละองค์กรด้วย เพราะบุคลากรเหล่านั้นจะต้องมาทำงานร่วมกับเราเป็นระยะเวลานาน



1. เลือกสถานที่ที่เหมาะสม

การเลือกสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการสัมภาษณ์งานเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะส่งผลต่อบรรยากาศในการพูดคุยหรือสัมภาษณ์กันแล้ว ยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรได้อีกด้วย ควรเลือกพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัว เงียบสงบ และเอื้อต่อการสนทนาในหัวข้อที่จริงจัง แต่ก็ไม่ควรมิดชิดหรือลึกลับจนทำให้บรรยากาศดูตึงเครียดจนเกินไป



2. เริ่มบทสนทนาแบบสบาย ๆ

ไม่ควรสร้างบรรยากาศให้ตึงเครียด ผ่อนคลายบรรยากาศการสัมภาษณ์ด้วยการเริ่มสนทนาด้วยบทสนทนาทั่ว ๆ ไปก่อน เพื่อให้ได้คำตอบที่เป็นธรรมชาติและจริงใจมากที่สุด เช่น การพูดคุยเรื่องราวทั่วไป การเดินทาง สภาพอากาศ เป็นต้น ก่อนจะเริ่มสัมภาษณ์ในคำถามที่มีความจริงจังมากยิ่งขึ้น



3. เป็นผู้ฟังที่ดีเพื่อดูทัศนคติ

การที่ผู้สัมภาษณ์จะได้รู้จักผู้เข้าสมัครได้ดีที่สุดคือ การตั้งใจฟังและช่างสังเกต การใช้ Eye Contact จะช่วยให้คุณได้รู้จักผู้เข้าสมัครได้ดียิ่งขึ้น เข้าใจสิ่งที่ผู้เข้าสมัครอธิบายมาว่าเป็นประสบการณ์ตรงหรือเป็นเพียงสิ่งที่พวกเขาเตรียมจะมาพูดให้เราฟังเท่านั้น การฟังอย่างตั้งใจจะช่วยให้คุณเข้าใจมุมมอง ทัศนคติ และความรู้สึกของพวกเขา อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้อธิบายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในระหว่างนั้นผู้สัมภาษณ์เพียง “ตั้งใจฟัง จดบันทึก และถามคำถามเพื่อสังเกตคำตอบ” นี่จึงเป็นวิธีการที่จะช่วยทำให้คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบและถูกต้องมากที่สุด


คำถามที่ใช้สัมภาษณ์พนักงานใหม่

วิธีสัมภาษณ์พนักงานใหม่ที่จะต้องทำเลยก็คือ จัดทำรายการคำถาม ควรเลือกตั้งคำถามที่เจาะจงและมีความเกี่ยวข้องกับในตำแหน่งงาน ว่าตรงกับความต้องการขององค์กรจริง ๆ หรือไม่ ให้เริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวและเล่าประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา เพื่อสังเกตว่าก่อนหน้านี้ผู้เข้าสมัครทำงานเป็นอย่างไร มีทักษะอะไรที่โดดเด่นเป็นพิเศษบ้าง ทำไมจึงลาออกจากที่ทำงานก่อนหน้านี้ เพื่อดูทัศนคติที่ผู้เข้าสมัครมีต่อองค์กรเดิม ทำไมจึงอยากทำงานที่องค์กรนี้ / ตำแหน่งนี้ เพื่อดูความตั้งใจหรือเป้าหมายที่ผู้เข้าสมัครมาสมัครในครั้งนี้ ผู้สัมภาษณ์เล่าเรื่องราวคร่าว ๆ เกี่ยวกับองค์กร และยกตัวอย่างปัญหาที่อาจต้องเจอเมื่อทำงานในตำแหน่งนี้ เพื่อถามผู้เข้าสมัครว่าจะมีวิธีการจัดการอย่างไร สุดท้ายควรให้ผู้เข้าสมัครพูดถึงข้อดี–ข้อเสียของตัวเอง เพื่อดูทัศนคติของผู้เข้าสมัครที่มีต่อตัวเอง ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่จะทำให้ผู้สัมภาษณ์ได้รู้จักผู้เข้าสมัครได้ดียิ่งขึ้น ก่อนจบการสัมภาษณ์ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าสมัครถามถึงสิ่งที่พวกเขาสงสัยหรืออาจกำลังกังวลอีกครั้งหนึ่ง


นอกจากการเตรียมวิธีสัมภาษณ์พนักงานใหม่ให้พร้อมแล้ว อย่าลืมประเมินผู้เข้าสมัครตามคุณสมบัติ ประสบการณ์ และความเหมาะสมกับวัฒนธรรมของคนในองค์กรด้วย ตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับจากผู้เข้าสมัครก่อนการตัดสินใจ และไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไรก็ตาม ต้องแจ้งผลการสัมภาษณ์แก่ผู้เข้าสมัครด้วย เพื่อแสดงความเป็นมืออาชีพขององค์กรคุณ และเพื่อให้การทำงานของฝ่ายบุคคลดูเป็นมืออาชีพและทันสมัยมากยิ่งขึ้น การมีโปรแกรมฝ่ายบุคคลที่ใช้งานง่าย ตอบโจทย์การทำงาน จะช่วยทำให้องค์กรของคุณดูเป็นมืออาชีพได้เช่นกัน

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้