“โอที 3 แรง” ใช้ในการคำนวณโอทีให้แก่พนักงานกรณีที่พนักงานมีการทำงานล่วงเวลาวันหยุด โดยจะมีวิธีการคำนวณโอที 3 แรงอย่างไรบ้างมาดูกันเลย
อ่านบทความที่คุณอาจสนใจเพิ่มเติม:
- โอที 2 แรง คืออะไร มีวิธีคิดโอที 2 แรงอย่างไร
- มัดรวมวิธีการคำนวณโอที (OT) ทุกประเภท
- โอที 1.5 คืออะไร และมีวิธีการคำนวณโอที 1.5 อย่างไร?
- วิธีคิดโอทีรายวันและรายเดือน ตามกฎกระทรวงแรงงาน
- HR ควรรู้! ตามกฎหมายแรงงาน ห้ามบังคับลูกจ้างทำโอที
- ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุดหมายถึงอะไร ได้ค่าตอบแทนอย่างไร
โอที 3 แรงคืออะไร
การทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องปกติในหลาย ๆ องค์กร โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ต้องการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การทำงานล่วงเวลาในวันหยุดหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์นั้นมีความพิเศษ เนื่องจากพนักงานจะได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าเดิม ซึ่งเรียกว่า “โอที 3 แรง”
โอที 3 แรง หมายถึง การจ่ายค่าจ้างในกรณีที่พนักงานทำงานล่วงเวลาวันหยุดในอัตรา 3 เท่าของค่าจ้างปกติ โดยมักเกิดขึ้นเมื่อพนักงานทำงานล่วงเวลาในวันหยุดพนักงาน หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการจ่ายค่าโอทีในอัตรา 3 แรง หรือ 3 เท่า เป็นการชดเชยหรือตอบแทนสำหรับการที่พนักงานต้องเสียสละเวลาส่วนตัวในวันหยุดเพื่อมาทำงานนั่นเอง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดไว้ว่า “มาตรา 63 กำหนดว่า หากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุด นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานสำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณตามจำนวนผลงานที่ทำได้”
วิธีการคำนวณโอที 3 แรง
สำหรับวิธีการคำนวณโอที 3 แรงนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 วิธีการด้วยกัน คือ วิธีการคำนวณโอที 3 แรงของพนักงานรายเดือน และวิธีการคำนวณโอที 3 แรงของพนักงานรายวัน โดยมีขั้นตอนการคำนวณดังนี้
วิธีการคำนวณโอที 3 แรงสำหรับพนักงานรายเดือน
การคำนวณโอที 3 แรงของพนักงานรายเดือน มีขั้นตอนการคำนวณ คือ
1. หาค่าจ้างต่อวัน: ค่าจ้างต่อเดือน ÷ จำนวนวันทำงานทั้งเดือน
2. หาค่าจ้างต่อชั่วโมง: ค่าจ้างต่อวัน ÷ จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อวัน
3. คำนวณอัตราโอที 3 แรงต่อชั่วโมง: ค่าจ้างต่อชั่วโมง x โอที 3 แรง
4. คำนวณค่าตอบแทนโอที 3 แรง: อัตราโอที 3 แรงต่อชั่วโมง x ชั่วโมงโอทีที่ทำ
ตัวอย่าง
นายสมชาย เป็นพนักงานรายเดือน ได้รับค่าจ้างต่อเดือนเท่ากับ 30,000 บาท และได้ทำงานล่วงเวลาวันหยุดในวันอาทิตย์ โดยได้ทำงานล่วงเวลาวันหยุดเป็นเวลา 2 ชั่วโมง จะมีวิธีการคำนวณโอที 3 แรงของพนักงานรายเดือนดังนี้
1. หาค่าจ้างต่อวัน: 30,000 บาท ÷ 30 วัน = 1,000 บาท/วัน
2. หาค่าจ้างต่อชั่วโมง: 1,000 บาท ÷ 8 ชั่วโมง = 125 บาท/ชั่วโมง
3. คำนวณอัตราโอที 3 แรงต่อชั่วโมง: 125 บาท x โอที 3 แรง = 375 บาท
4. คำนวณค่าตอบแทนโอที 3 แรง: 375 บาท x 2 ชั่วโมง = 750 บาท
ดังนั้น นายสมชายจะได้รับค่าโอที 3 แรง กรณีที่พนักงานทำงานล่วงเวลาวันหยุด คือ 750 บาท
วิธีการคำนวณโอที 3 แรงสำหรับพนักงานรายวัน
การคำนวณโอที 3 แรงของพนักงานรายวัน มีขั้นตอนการคำนวณ คือ
1. หาค่าจ้างต่อชั่วโมง: ค่าจ้างต่อวัน ÷ จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อวัน
2. คำนวณอัตราโอที 3 แรงต่อชั่วโมง: ค่าจ้างต่อชั่วโมง x โอที 3 แรง
3. คำนวณค่าตอบแทนโอที 3 แรง: อัตราโอที 3 แรงต่อชั่วโมง x ชั่วโมงโอทีที่ทำ
ตัวอย่าง
นางสมพร เป็นพนักงานรายวัน ได้รับค่าจ้างต่อวันเท่ากับ 700 บาท และได้ทำงานล่วงเวลาวันหยุดในวันอาทิตย์ โดยได้ทำงานล่วงเวลาวันหยุดเป็นเวลา 2 ชั่วโมง จะมีวิธีการคำนวณโอที 3 แรงของพนักงานรายวันดังนี้
1. หาค่าจ้างต่อชั่วโมง: 750 บาท ÷ 8 ชั่วโมง = 93.75 บาท/ชั่วโมง
2. คำนวณอัตราโอที 3 แรงต่อชั่วโมง: 93.75 บาท x โอที 3 แรง = 281.75 บาท
3. คำนวณค่าตอบแทนโอที 3 แรง: 281.75 บาท x 2 ชั่วโมง = 562.50 บาท
ดังนั้น นางสมพรจะได้รับค่าโอที 3 แรง กรณีที่พนักงานทำงานล่วงเวลาวันหยุด คือ 562.50 บาท
สรุปโอที 3 แรงคืออะไร มีวิธีคำนวณโอที 3 แรงอย่างไร
“โอที 3 แรง” ใช้ในการคำนวณโอทีให้แก่พนักงานกรณีที่พนักงานมีการทำงานล่วงเวลาวันหยุด โดยการทำงานล่วงเวลาในวันหยุดนั้นต้องได้รับความยินยอมจากพนักงาน
ซึ่งการคำนวณโอที 3 แรงนั้นจะแบ่งวิธีการคำนวณโอที 3 แรงออกเป็น 2 วิธีด้วยกันได้แก่ วิธีการคำนวณโอที 3 แรงสำหรับพนักงานรายเดือน คือ [(ค่าจ้างต่อเดือน ÷ จำนวนวันทำงานทั้งเดือน) ÷ จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อวัน] x โอที 3 แรง x ชั่วโมงโอทีที่ทำ และในส่วนของวิธีการคำนวณโอที 3 แรงสำหรับพนักงานรายวัน คือ (ค่าจ้างต่อวัน ÷ จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อวัน) x โอที 3 แรง x ชั่วโมงโอทีที่ทำ