เตือนภัยกลุ่มอาชีพเสี่ยงที่ต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อนจัด อาจเสี่ยงเกิดฮีทสโตรกจากการทำงานได้ วันนี้เรามีวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถปฏิบัติตามได้มาฝาก
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- โรคยอดฮิตของคนทำงาน และวิธีป้องกันที่ HR ช่วยได้
- Checklist อาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าเข้าข่ายออฟฟิศซินโดรม
- Q&A วิธีการคํานวณเปอร์เซ็นต์เงินเดือน สำหรับ HR
- Mentoring คืออะไร ต้องใช้ทักษะสำคัญอะไรบ้าง?
ว่าด้วยเรื่องของ “โรคฮีทสโตรก”
ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากจนเกินไป ร่างกายไม่สามารถขับความร้อนเหล่านั้นออกจากร่างกายได้ จึงทำให้เกิดความร้อนสะสมภายในร่างกาย ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
กลุ่มอาชีพใดบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง โรคฮีทสโตรก
กลุ่มเสี่ยงของโรคลมแดด มักเป็นอาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้ง ท่ามกลางอากาศร้อนจัดในทุก ๆ วัน แล้วกลุ่มอาชีพใดที่เสี่ยงกับโรคลมแดดบ้าง ไปดูกันเลย
- กรรมกรก่อสร้าง
- พนักงานส่งอาหาร / ส่งของ (Rider)
- ตำรวจจราจร
- พนักงานรักษาความปลอดภัย
- เกษตรกร
อาการของโรคฮีทสโตรก
อาการของโรคฮีทสโตรก ที่ทุกคนต้องรู้และเตรียมรับมือ มีอาการดังนี้
- มีไข้สูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส
- ปวดศีรษะ / อ่อนเพลีย / หน้ามืด /
- มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น มีอาการเพ้อ / ชัก / ตอบสนองช้า เป็นต้น
- ไม่มีเหงื่ออกตามผิวหนัง เกิดจากความผิดปกติของต่อมเหงื่อทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงมากยิ่งขึ้น
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ขั้นตอนของการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกวิธี คือ ต้องทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายของผู้ป่วยลดลงให้เร็วที่สุด ก่อนนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล โดยมีวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้
- ย้ายผู้ป่วยเข้ามาในที่ร่ม
- จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย
- ยกขาสูง
- ถอดเสื้อผ้า
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือ น้ำแข็งประคบตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณ คอ, หลัง, รักแร้ และขาหนีบ แล้วจึงนำพัดลมมาเป่าเพื่อระบายความร้อน
หมายเหตุ: หากผู้ป่วยรู้สึกตัวให้ดื่มเกลือแร่ เพื่อทดแทนภาวะการขาดน้ำ และรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
วิธีรับมือกับโรคฮีทสโตรก
อากาศร้อนจัดแบบนี้ อาชีพกลุ่มเสี่ยงที่ต้องทำงานกลางแจ้ง ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะโรคลมแดด เพราะภัยนี้อาจเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิต วันนี้เรารวบรวมวิธีรับมือกับโรคฮีทสโตรกมาฝาก ไปดูกันเลย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อย 8 แก้ว/วัน
- สวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ทำให้อากาศถ่ายเทได้ดี
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
สรุป เตือนกลุ่มเสี่ยงทำงานกลางแจ้ง อากาศร้อนจัดเสี่ยงเกิดฮีทสโตรก
ในสภาพอากาศที่ร้อนจัดแบบนี้ กลุ่มเสี่ยงที่ต้องทำงานกลางแจ้ง หรือแม้กระทั่งคนที่ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางแสงแดด ทุกคนควรเตรียมพร้อมร่างกายอยู่เสมอ เพราะหากเกิดโรคฮีทสโตรกแล้วไม่ได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกวิธี หรือได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ช้าจนเกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตลงได้
ดังนั้น การฝึกปฐมพยาบาลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องเรียนรู้ หากเกิดภาวะฉุกเฉินก็จะสามารถนำความรู้เข้าช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้อย่างทันท่วงทีค่ะ