ตอบข้อสงสัย หากลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วยเท็จ นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ไหม และหากลูกจ้างถูกเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ ไปหาคำตอบกันเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- Q&A พนักงานทดลองงาน สามารถลาป่วยได้ไหม? โดนหักเงินหรือไม่?
- Q&A ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้ไหม?
- ลาป่วย 20 ข้อ ที่พนักงานควรรู้!
- Q&A พนักงานลาป่วยบ่อย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่?
Q: ลูกจ้างลาป่วยเท็จ นายจ้างเลิกจ้างได้ไหม?
ลาป่วยเท็จ คือการใช้สิทธิลาป่วยไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การรักษาหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย หากนายจ้างทราบว่าลูกจ้างใช้สิทธิลาไม่ตรงกับความเป็นจริง นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ไหม? ไปหาคำตอบกันเลย
A: นายจ้างสามารเลิกจ้างได้ โดยไม่ต้องแจ้งลูกจ้างล่วงหน้า
ในกรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วย แต่ไม่ได้ใช้สิทธิเพื่อไปรักษาอาการเจ็บป่วย หากนายจ้างทราบ สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และการกระทำนี้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
Q: หากนายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยไหม?
A: นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
หากพิจารณาได้ว่า ลูกจ้างมีเจตนาทุจริตต่อหน้าที่ ตามมาตรา 119 (วรรค 1) ของ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับปรับปรุงล่าสุด) ที่ระบุว่า นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ในกรณีที่ลูกจ้างมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การกระทำทุจริต หรือการฝ่าฝืนกฎระเบียบ หรือข้อบังคับของสถานประกอบการ ซึ่งการลาป่วยเท็จถือเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบที่สำคัญ นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และการกระทำนี้ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สรุป Q&A ลูกจ้างลาป่วยเท็จ เลิกจ้างได้ไหม? ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยสรุปแล้ว แม้ว่าลูกจ้างจะมีสิทธิในการลาป่วยเท่าที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน แต่หากลูกจ้างใช้สิทธิแบบไม่ถูกต้อง ก็ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง