PageView Facebook
date_range 11/11/2024 visibility 344 views
bookmark HR Knowledge
หลักเกณฑ์การเรียกเงินประกันการทำงานจากลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน - blog image preview
Blog >หลักเกณฑ์การเรียกเงินประกันการทำงานจากลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน

การเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานจากลูกจ้าง นายจ้างจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายเป็นสำคัญเพื่อรักษาสิทธิและความเชื่อมั่นของทั้งสองฝ่าย ศึกษาข้อมูลสำคัญในบทความนี้


อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


ว่าด้วยเรื่องเงินประกันการทำงาน

เงินประกันการทำงาน คือ เงินที่นายจ้างเรียกเก็บหรือรับจากลูกจ้างเมื่อเริ่มงานหรือในระหว่างการทำงาน มีความสำคัญในฐานะหลักประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้าง โดยนายจ้างสามารถใช้เงินส่วนนี้เป็นหลักประกันในกรณีที่ลูกจ้างอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือผลประโยชน์บริษัท ขณะเดียวกันกฎหมายแรงงานก็กำหนดหลักเกณฑ์คุ้มครองเงินประกันนี้เพื่อป้องกันการละเมิดจากฝ่ายนายจ้าง ไม่ให้มีการเรียกเก็บเงินเกินความจำเป็นและต้องคืนให้ลูกจ้างเมื่อครบกำหนด นอกจากนี้กฎหมายยังเน้นให้มีการจัดการเงินอย่างโปร่งใส เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการจ้างงาน


หลักเกณฑ์การเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานตามกฎหมายแรงงาน

ในกระบวนการจ้างงาน งานในบางลักษณะบริษัทอาจเรียกเก็บเงินประกันจากลูกจ้างเพื่อใช้เป็นหลักประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การเรียกหรือรับเงินประกันนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายแรงงานกำหนด เพื่อคุ้มครองสิทธิของทั้งนายจ้างและลูกจ้างและสร้างความโปร่งใสในการทำงาน


กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับเงินประกันการทำงาน

เกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินประกันการทำงานนั้น พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 ได้ระบุว่า “ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหาย ในการทำงานจากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้”

 

ในกรณีที่นายจ้างมีการเรียกเก็บเงินประกันหรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้าง เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีที่ลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหาย เมื่อมีการเลิกจ้าง หรือเมื่อลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนเงินประกันให้แก่ลูกจ้างพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี) ภายใน 7 วันนับจากวันที่มีการเลิกจ้าง วันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นสุด แล้วแต่กรณี ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และเพื่อคุ้มครองสิทธิของลูกจ้าง

 

Tips! อ่านบทความเกี่ยวกับการคืนเงินประกันการทำงานเพิ่มเติมได้ที่นี่ >> Q&A นายจ้างต้องคืนหลักประกันการทำงานให้ลูกจ้างภายในกี่วัน? <<


ประเภทของงานที่สามารถเรียกเก็บเงินประกันได้

คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ได้กำหนดประเภทของงานที่สามารถเรียกเก็บเงินประกันได้ ว่าต้องเป็นงานเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สิน ได้แก่



1. งานบัญชี หรืองานการเงิน

2. งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน

3. งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้างหรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง

4. งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน

5. งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ

6. งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่าทรัพย์ ให้เช่าซื้อ ให้กู้ยืม รับฝากทรัพย์ รับจำนอง รับจำนำ เก็บของในคลังสินค้า รับประกันภัย รับโอนหรือรับจัดส่งเงิน หรือการธนาคาร ทั้งนี้ เฉพาะลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการที่ว่านั้น


สรุป หลักเกณฑ์การเรียกเงินประกันการทำงานจากลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน

เงินประกันการทำงานคือเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากลูกจ้างเพื่อเป็นหลักประกันในกรณีที่ลูกจ้างอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของบริษัท โดยกฎหมายกำหนดให้เฉพาะงานที่ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้างเท่านั้นที่นายจ้างสามารถเรียกเก็บเงินประกันได้ ได้แก่ งานบัญชีหรือการเงิน การเก็บหรือจ่ายเงิน การดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้าง การติดตามหนี้สิน การควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ และงานเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกแปลี่ยน หรือให้เช่าทรัพย์สิน นอกจากนี้ กฎหมายยังระบุด้วยว่าเมื่อสิ้นสุดการจ้างงาน หรือเมื่อลูกจ้างลาออก นายจ้างต้องคืนเงินประกันให้ลูกจ้างภายใน 7 วันนับจากวันสิ้นสุดสัญญาหรือการจ้างงาน พร้อมดอกเบี้ย (หากมี) ในกรณีดังกล่าว

 

hms-helpful-shadow svg fileโปรแกรมเงินเดือน HumanSoft
ทดลองใช้ฟรี 30 วันครบทุกฟังก์ชัน
  • บริการขึ้นระบบ ฟรี
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
  • ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้