หลายคนยังมีคำถามเกี่ยวกับสัญญาการจ้างงานบริษัทที่มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี หากพนักงานขอลาออกก่อนกำหนดแล้ว HR จะต้องทำอย่างไร ตามหลักกฎหมายแรงงาน
บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :
- Q&A เลิกจ้างพนักงาน ต้องจ่ายเงินชดเชยเท่าไร? ตามกฎหมายแรงงาน
- เมื่อลูกจ้าง"ลาออก" โดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะเป็นอะไรไหม?
- องค์ประกอบสำคัญที่ควรมีในสัญญาจ้างงาน ฟรีแลนซ์ พร้อมตัวอย่าง
- Download แบบฟอร์มสัญญาจ้างงาน แจกฟรี! ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
Q : สัญญาจ้างงานบริษัท 1 ปี แต่พนักงานขอลาออกก่อนได้ไหม?
A : คำตอบสั้นๆ คือ “ออกได้ แต่มีโอกาสถูกฟ้อง”
เพราะสัญญาจ้างงานได้เกิดขึ้นแล้ว และเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาระบุไว้ชัดเจน ลูกจ้างจึงควรที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นจนครบกำหนด แต่ถ้าหากลูกจ้างต้องการลาออกก่อนครบกำหนดสัญญา อาจถูกฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาได้
ตัวอย่างเช่น
หากสัญญาระบุไว้ว่าต้องทำงานกับนายจ้างให้ครบ 1 ปี หากลาออกก่อนครบกำหนด ลูกจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับนายจ้างเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท แบบนี้ นายจ้างสามารถฟ้องร้องได้เลย แต่ศาลจะเป็นผู้พิจารณาเบี้ยปรับอีกทีว่าสูงเกินไปหรือไม่ ถ้าสูงเกินไปศาลมีอำนาจในการปรับลดจำนวนลงได้
สิทธิในการบอกเลิกสัญญาจ้างตามกฎหมายแรงงาน
สิทธิการบอกเลิกสัญญาจ้างนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้
1. กรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง
กรณีนี้นายจ้างสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี คือ
- นายจ้างแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจนครบกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดสัญญาจ้าง
- บอกเลิกสัญญาจ้างโดยให้ลูกจ้างออกทันที แต่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างจนถึงวันสิ้นสุดสัญญา
โดยหากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามวิธีข้างต้น ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานได้
2. กรณีลูกจ้างประสงค์บอกเลิกสัญญาจ้าง
ลูกจ้างสามารถแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้า แล้วทำงานต่อไปจนครบระยะเวลาสิ้นสุดสัญญาจ้าง ซึ่งหากไม่ได้ระบุระยะเวลาในการแจ้งล่วงหน้าไว้ ให้ถือตามกฎหมายระยะเวลาที่ต้องบอกล่วงหน้า คือ 4 สัปดาห์จนถึงวันที่ 15 หรือวันสุดท้ายของเดือน สำหรับช่วงทดลองงานคือ 14 วัน แต่หากลูกจ้างไม่แจ้งล่วงหน้าแล้วออกจากงาน จะผิดกับข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ลูกจ้างจะต้องรับผิดชอบหากมีความเสียหายเกิดขึ้น โดยนายจ้างสามารถยื่นฟ้องร้องต่อศาลแรงงานได้
สรุปสัญญาจ้างงานบริษัท 1 ปี แต่พนักงานขอลาออกก่อน
เพราะกฎหมายแรงงานช่วยคุ้มครองทั้งลูกจ้างและนายจ้างให้เกิดการจ้างงานอย่างเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องกฎหมายที่ HR เจ้าของกิจการและพนักงานควรศึกษาให้ดี เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้องและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟ้องร้องกันในศาลแรงงานด้วย