ปัญหาพนักงานลาป่วยบ่อย หรือป่วยการเมืองอาจสะท้อนสาเหตุที่ต้องการการดูแลอย่างเข้าใจ มาเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่ HR สามารถนำไปปรับใช้ได้ในบทความนี้กัน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- Q&A พนักงานลาป่วยบ่อย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่?
- Q&A ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุ ลาป่วยเกิน 30 วัน เลิกจ้างได้ไหม?
- Q&A ลูกจ้างลาป่วยเท็จ เลิกจ้างได้ไหม? ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
- Q&A พนักงานทดลองงาน สามารถลาป่วยได้ไหม? โดนหักเงินหรือไม่?
- ตรวจสอบโควตาการลางานง่าย ๆ ด้วยแอพลางานออนไลน์
- ลาป่วยกี่วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์ นายจ้างหักเงินได้ไหม?
ปัญหาพนักงานลาป่วยบ่อย ป่วยการเมือง
การลาป่วยบ่อยของพนักงานเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพการทำงาน ความต่อเนื่องของโครงการ หรือบรรยากาศในทีม บางครั้งการลาป่วยอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพที่แท้จริง หรือสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม แต่ในบางกรณี การลาป่วยไม่ได้มาจากเหตุผลทางสุขภาพ หากแต่เป็นการลาที่มีจุดประสงค์อื่น เช่น การโกงวันหยุด หลีกเลี่ยงงานที่ไม่อยากทำ หรือแสดงความไม่พอใจต่อสถานการณ์ในองค์กร
การลาป่วยที่ชวนให้สงสัยได้ว่าเป็นการป่วยการเมือง มีข้อสังเกตุดังนี้
• ลาป่วยบ่อยในช่วงเวลาสำคัญ พนักงานมักลาป่วยในช่วงที่ต้องรับผิดชอบงานเร่งด่วน หรือกิจกรรมสำคัญขององค์กร
• ลาป่วยติดกับวันหยุดยาวหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ พนักงานลาป่วยบ่อยครั้งในช่วงที่เชื่อมต่อกับวันหยุด เพื่อยืดเวลาในการพักผ่อน
• ลาป่วยแบบกะทันหันโดยไม่มีเหตุผลชัดเจน พนักงานแจ้งลาป่วยโดยไม่มีข้อมูลสนับสนุนหรือหลักฐานทางการแพทย์
• ลาป่วยหลังจากมีความขัดแย้งในที่ทำงาน พนักงานลาป่วยทันทีหลังมีข้อขัดแย้งกับหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน
• พฤติกรรมลาป่วยเป็นรูปแบบซ้ำ ๆ พนักงานมีรูปแบบการลาป่วยที่สม่ำเสมอ เช่น ลาป่วยทุกเดือนในช่วงเวลาเดิม และมักแจ้งเหตุผลทำนองเดิมซ้ำ ๆ
• ลาป่วยเฉพาะในวันที่ต้องทำงานที่ไม่ชอบหรือยากลำบาก พนักงานลาป่วยเฉพาะในวันที่มีงานที่พนักงานไม่อยากทำหรือไม่ถนัด
ข้อสังเกตเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรสามารถจับสัญญาณของการลาป่วยที่อาจเกิดจากเหตุผลอื่นนอกเหนือจากสุขภาพ เพื่อหาวิธีรับมือและแก้ไขอย่างเหมาะสม
แนวทางการแก้ไขปัญหาพนักงานลาป่วยบ่อย ป่วยการเมือง สำหรับ HR
แม้ว่าปัญหาการลาป่วยบ่อยของพนักงานในบางกรณีอาจไม่ได้เกิดจากปัญหาสุขภาพ แต่กลับเป็นเหตุผลส่วนตัวที่ใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการมาทำงาน ซึ่งส่งผลเสียต่อองค์กรในหลายด้าน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยฝ่าย HR ควรดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ ด้วยความเข้าใจและรอบคอบ ไม่ใช้วิธีการที่ตัดสินหรือแก้ไขอย่างรุนแรงจนเกินไป โดยมีแนวทางดังนี้
สร้างช่องทางการสื่อสารที่เปิดกว้างและโปร่งใส
ส่งเสริมการพูดคุยระหว่างพนักงานและผู้บริหาร เพื่อให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาหรือความไม่พอใจที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน
ประเมินสภาพแวดล้อมการทำงาน
ตรวจสอบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน เช่น ลดความตึงเครียดในงาน สนับสนุนความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (Work-Life Balance)
กำหนดนโยบายลาป่วยอย่างชัดเจนและยุติธรรม
วางกฎเกณฑ์การลาป่วยที่ชัดเจน เช่น การกำหนดหลักฐานการแพทย์ในกรณีลาป่วยเกินจำนวนวันที่กำหนด และแจ้งให้พนักงานทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการลาป่วยเกินความเหมาะสม
จัดการปัญหาที่ต้นเหตุ
หาสาเหตุที่แท้จริงของการลาป่วยบ่อย เช่น ความไม่พอใจในงาน ความขัดแย้งในที่ทำงาน หรือความรู้สึกไม่ได้รับการยอมรับ แล้วแก้ไขปัญหานั้นโดยตรง
ส่งเสริมสุขภาพและสวัสดิการพนักงาน
จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทั้งกายและใจ เช่น ตรวจสุขภาพประจำปี กิจกรรมบำบัดความเครียด หรือการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา
ใช้ระบบติดตามการลางาน
ใช้ซอฟต์แวร์หรือระบบจัดการการลางานเพื่อตรวจสอบรูปแบบการลาของพนักงาน เช่น การลาบ่อยในช่วงเวลาที่คล้ายกัน หรือการลาต่อเนื่องกับวันหยุด
สนับสนุนการเติบโตในหน้าที่การงาน
พัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงาน เช่น จัดอบรมทักษะใหม่ หรือมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความถนัด เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการทำงาน
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร
ส่งเสริมกิจกรรมทีมเวิร์กและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงาน เพื่อลดความขัดแย้งและสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี
สรุป พนักงานลาป่วยบ่อย ป่วยการเมือง แนวทางการแก้ปัญหาสำหรับ HR
ปัยหาพนักงานลาป่วยบ่อย หรือป่วยการเมืองถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรในหลายด้าน HR จึงควรมีวิธีการรับมืออย่างสร้างสรรค์ ด้วยความเข้าใจและรอบคอบเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการสร้างช่องทางการสื่อสารที่เปิดกว้างและโปร่งใส ประเมินสภาพแวดล้อมการทำงาน กำหนดนโยบายลาป่วยอย่างชัดเจนและยุติธรรม จัดการปัญหาที่ต้นเหตุ ส่งเสริมสุขภาพและสวัสดิการพนักงาน ใช้ระบบติดตามการลางาน สนับสนุนการเติบโตในหน้าที่การงาน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร